aw. JULY Rajbundit.indd
ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑๙๔ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๐ 5 √ÿ ª°“√∫√√¬“¬‡ πÕ º≈ß“π§â π§«â “·≈–«‘ ®— ¬¢Õß√“™∫— ≥±‘ µ ·≈–¿“§’ ¡“™‘ ° µà Õ∑’Ë ª√–™ÿ ¡ ”π— ° สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๐ ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์- เสรีธรรม ภาคีสมาชิก ประเภทสังคมศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ บรรยายเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงกับการเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขันของภาคธุรกิจเอกชน” โดยทั่วไปมักจะเข้าใจว่าปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของ เกษตรกรที่ยากจนในชนบท ไม่สามารถนำมาเป็นแนวทางการ แก้ปัญหาเศรษฐกิจในระดับชาติได้ ในขณะเดียวกันภาคธุรกิจ เอกชนบางส่วนก็คิดว่าแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นอุปสรรค ต่อการขยายความเจริญเติบโตธุรกิจของตน เพราะคิดว่าถ้า รัฐบาลใช้นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงแล้วจะปิดกั้นการค้าขาย และการลงทุนกับธุรกิจต่างประเทศ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็น แนวคิดที่ชี้แนะแนวทางการปฏิบัติของบุคคลหรือธุรกิจหรือองค์กร ในแนวทางที่ควรจะเป็นโดยการยึดการปฏิบัติทางสายกลาง แนวทางดังกล่าวสามารถนำมาใช้กับการประกอบธุรกิจได้เป็น อย่างดี ในขณะเดียวกันการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในระดับ ประเทศก็จำเป็นต้องพึ่งพาภาคธุรกิจเอกชน ทั้งในเรื่องความเจริญ เติบโต ความสามารถในการแข่งขันและการรับผิดชอบต่อสังคม ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงนั้น รัฐบาลจะต้องมีนโยบาย เศรษฐกิจที่ชัดเจนสนับสนุนการแข่งขันที่เป็นธรรมในการประกอบ ธุรกิจ พร้อมทั้งมีระบบการจัดเก็บภาษีและการใช้จ่ายที่เป็นธรรม เพื่อสนับสนุนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม อย่างเพียงพอ ในขณะเดียวกันก็จะต้องสร้างระบบธรรมาภิบาล เพื่อกำกับการทำงานของภาคธุรกิจเอกชนและภาครัฐบาล จนทำให้เศรษฐกิจไทยมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ (๑) คนไทยใช้ชีวิตบน พื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง (๒) สังคมไทยมีเครือข่ายความ ร่วมมือเศรษฐกิจพอเพียง และ (๓) การพัฒนาความเจริญเติบโต บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาและการขับเคลื่อนสังคม เศรษฐกิจไทยบนพื้นฐานและแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเป็น สิ่งเป็นไปได้ถ้าทุกภาคส่วนของสังคมร่วมมือทำกันอย่างจริงจัง โดยมีภาครัฐบาลและภาคธุรกิจเอกชนเป็นกำลังสำคัญในการ ขับเคลื่อน • วันพุธที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐ นายสมพร เทพสิทธา ภาคีสมาชิก ประเภทสังคมศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ บรรยายเรื่อง “วิกƒตวั≤นธรรมและวั≤นธรรมที่พึงประสงค์” ในปัจจุบันสังคม ไทยกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาวิกฤตวัฒนธรรมมากมาย ซึ่งเป็น สาเหตุให้เกิดปัญหาสังคมต่าง ๆ ตามมา อาทิ ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชัน ปัญหาการใช้อำนาจที่ ไม่เป็นธรรม ปัญหาความ เสื่อมโทรมด้านศีลธรรมและจริยธรรม ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาครอบครัว ปัญหา เยาวชน ปัญหาความขัดแย้งในสังคม ปัญหาวิกฤตวัฒนธรรมที่ สำคัญในปัจจุบันมีหลายประการ อาทิ ความเจริญทางวัตถุล้ำหน้า กว่าความเจริญทางจิตใจ ความเสื่อมโทรมทางด้านศีลธรรมและ จริยธรรม การตกเป็นทาสทางวัตถุนิยมและบริโภคนิยม ความ เป็นไทยลดน้อยลง ขาดจิตสำนึกที่ดี ในความเป็นไทย ขาด ระเบียบและวินัย ความสัมพันธ์ในครอบครัวเปลี่ยนไป การแต่ง กายเปลี่ยนไป ภาษาวิบัติมากขึ้น ประเพณีผิดเพี้ยนไปตามกระแส โลกาภิวัตน์ การลุ่มหลงในอบายมุขโดยเฉพาะการพนัน เยาวชน มีค่านิยมที่ไม่พึงประสงค์และความประพฤติที่เบี่ยงเบน เช่น การ มั่วสุมกันในทางที่ผิด การติดยาเสพติด การใช้ความรุนแรง การมี เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาวิกฤตวัฒนธรรมมีสาเหตุหลาย ประการ อาทิ กระแสของโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นกระแสของวัตถุนิยม และบริโภคนิยม อิทธิพลของระบบทุนนิยม ซึ่งทำให้คนเห็นเงิน เป็นใหญ่ โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องและความชอบธรรม อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างประเทศที่ไม่พึงประสงค์ ระบบการ ศึกษาที่เน้นความเก่งและความฉลาด ไม่ได้เน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ประชาชนและเยาวชนเหินห่างจากศาสนา ไม่ประพฤติ ปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนา จิตใจขาดที่พึ่งและเครื่องยึด เหนี่ยว ไม่ได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ มาเป็นวัฒนธรรมขององค์กรและวัฒนธรรมในการทำงานและ การดำรงชีวิต จึงทำให้ขาดความพอดี ความมีเหตุผลและ ภูมิคุ้มกันที่ดี นักการเมืองขาดวัฒนธรรมและจริยธรรมทาง การเมืองที่ดี ขาดความซื่อสัตย์สุจริต ขาดความเสียสละ เห็นแก่ ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม วัฒนธรรมเป็นเรื่อง เกี่ยวกับวิถีชีวิต การมีวัฒนธรรมที่พึงประสงค์จะทำให้มีวิถีชีวิตที่ ถูกต้องเป็นประโยชน์แก่ตนเอง สังคมและประเทศชาติ จึงควร กำหนดวัฒนธรรมที่พึงประสงค์โดยการมีส่วนร่วมและการยอมรับ ของประชาชนและของทุกภาคส่วนในสังคม วัฒนธรรมที่พึง ประสงค์ควรประกอบด้วยวัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ ได้แก่ วัฒนธรรมเกี่ยวกับสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข รวมถึงวัฒนธรรมเกี่ยวกับสังคม การดำรงชีวิต และการ ทำงาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=