aw. JULY Rajbundit.indd
ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑๙๔ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๐ 13 ®µÿ §“¡√“¡‡∑æ à ߺ≈µà Õ¿“…“‰∑¬ ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยขณะนี้ที่จะไม่ กล่าวถึงก็คงไม่ได้ คือ กระแสจตุคามรามเทพ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ รายงานว่า ตลอดระยะ ๕ เดือนของ พ.ศ. ๒๕๕๐ นี้ มีการสร้าง จตุคามรามเทพมาแล้วประมาณ ๓๐๐ รุ่น และยังได้คาดการณ์อีกว่า ตลอดปีนี้จะมีการสร้างประมาณ ๖๕๐ รุ่น ว่ากันว่า จำนวนจตุคามราม- เทพที่สร้างขึ้นมีประมาณ ๕๐ ล้านองค์ ซึ่งถือใกล้เคียงกับประชากร ทั้งหมดของประเทศไทยเลยทีเดียว กระแสความเชื่อจตุคามรามเทพมีหลากหลายกระแส ผู้เขียน ขอยกมาเป็นตัวอย่างประกอบบทความนี้ โดยสรุปความจากข้อเขียน ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ และ รองศาสตราจารย์ ปรีชา นุ่นสุข ดังนี้ กระแสที่ ๑ เชื่อว่าจตุคามรามเทพเป็นพระโพธิสัตว์หรือเป็น ภาคหนึ่งของพระอวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นคติความเชื่อของพระพุทธศาสนา มหายาน กระแสที่ ๒ เชื่อว่าจตุคามรามเทพเป็นวิญญาณของพระบุรพ- กษัตริย์ ๒ พระองค์ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘ คือ พระเจ้าศรี ธรรมาโศกราช กษัตริย์องค์แรกแห่งนครศรีธรรมราช ซึ่งสร้างเมืองนี้ เมื่อประมาณ ๘๐๐ ปีที่ผ่านมา เป็นผู้รับพระพุทธศาสนา เถรวาท สาย ลังกาวงศ์เข้ามา แล้วสร้างสถูปเจดีย์ใหญ่ทรงระฆังคว่ำแบบศิลปะ ลังกา เรียกว่า พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช และจัดรูปแบบ ปกครองหัวเมืองน้อยใหญ่ในคาบสมุทรมลายู โดยอาศัยแนวการ ปกครองของพระเจ้าอโศกมหาราช และพระเจ้าจันทรภาณุ กษัตริย์ องค์ที่ ๒ ครองนครศรีธรรมราชหลังจากพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชสวรรคต กระแสที่ ๓ เชื่อว่าจตุคามรามเทพเป็นเทวดาผู้พิทักษ์ เป็นทวารบาล ผู้เฝ้าประตูตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร พระราชวัง ที่วิหารพระทรงม้าในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อันเป็นทางเข้าสู่ลานประตูทักษิณ (ลานรอบองค์บรมธาตุเจดีย์) มี ทวารบาลอยู่ ๒ องค์ จำหลักบนบานประตูเป็นรูปนูนสูง สันนิษฐานว่า องค์ซ้ายคือพระพรหม องค์ขวาคือพระนารายณ์ ซึ่งเป็นเทพเจ้าใน ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ทั้ง ๒ องค์เรียกรวมกันว่า จตุคามรามเทพ กระแสที่ ๔ เชื่อว่าจตุคามรามเทพ คือรูปปัô นองค์ลอยที่ ประดิษฐานอยู่บริเวณบันไดขั้นที่ ๑๗ ที่เป็นทางขึ้นลานประทักษิณของ องค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ซึ่งสร้างในสมัยของพระเจ้า จันทรภาณุ เชื่อว่าสร้างเพื่อเป็นเทวดารักษาพระบรมธาตุเจดีย์ โดยนำ เอาคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมาประสมกับพระพุทธศาสนา นอกจากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ได้กล่าวว่า จตุคามนั้นคือสกันทกุมาร หรือขันทกุมาร (อาจเขียนว่า สกันธกุมาร ขันธกุมาร ก็ได้) ซึ่งเป็นเทพที่ชาวอินเดียใต้เคารพนับถือ ต่อไปนี้มากล่าวถึงว่า จตุคามรามเทพส่งผลต่อภาษาไทยได้ อย่างไร ในการประชุมคณะกรรมการวิชาการคณะหนึ่ง กรรมการท่าน หนึ่งได้ปรารภขึ้นว่า ได้เห็นป้ายเขียนว่า ปัดทอง ป้ายนี้คนเขียนเขียน ผิดหรือไม่ กรรมการอีกท่านหนึ่งตอบว่า ไม่ผิด เขียนถูกแล้ว เพราะ กระแสจตุคามรามเทพกำลังมาแรง จึงทำให้เกิดอาชีพ ช่างปัดทอง กรรมการหลายท่านเห็นพ้องกันว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงต่อไป พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานก็ควรเก็บคำว่า ปัดทอง ไว้แล้ว ด้วย เหตุนี้ จตุคามรามเทพส่งผลต่อภาษาไทยด้วย ถูกต้องใช่ไหมครับ เพื่อให้ข้อมูลประกอบการจัดทำบทนิยามของคำว่า ปัดทอง ในโอกาสต่อไป ผู้เขียนได้สรุปความในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ ˘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่ได้เสนออาชีพช่างปัดทอง ดังนี้ อาชีพช่างปัดทองนั้นเรียนรู้ ได้ ไม่ยาก แม้ ไม่มีความรู้ด้าน ศิลปะมาก่อน ใช้เวลาประมาณ ๖–๑๐ ชั่วโมงก็ทำได้ อาชีพปัดทองวัตถุมงคลหรือวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ให้มีความสวย งามเพิ่มขึ้นนั้น เป็นอาชีพที่ลงทุนไม่มาก มีวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นไม่มาก ชิ้นและใช้เวลาน้อย ทุนเริ่มแรกสำหรับอาชีพปัดทองนั้น ส่วนใหญ่เป็นค่าอุปกรณ์ และวัตถุดิบครั้งแรก ประมาณ ๕๐๐ บาทขึ้นไป ทุนวัตถุดิบขึ้นอยู่กับ ชนิดของสีที่ใช้ในการปัดและคุณภาพของน้ำยารักที่ใช้ปัดทอง วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น ได้แก่ น้ำยารักสีเหลือง ผงเงิน ผงทอง ผงนาก แผ่นทองคำเปลว พู่กันเบอร์ ๐-๖ แปรงขนกระต่าย แว่นขยาย ทินเนอร์ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านเครื่องเขียนและร้านขายอุปกรณ์สำหรับ ช่างทอง ขั้นตอนการปัดทอง เริ่มด้วยทาน้ำยารักสีเหลืองบริเวณที่จะ ปัดหรือลงสีให้ทั่ว จากนั้นทิ้งไว้ให้น้ำยาแห้งพอหมาด ๆ นำพู่กันจุ่มใน ขวดผงสีที่ต้องการ นำไประบายหรือปัดบริเวณที่ได้ลงรักทิ้งไว้ เมื่อทิ้ง ไว้สักครู่ จึงนำพู่กันมาปัดเศษผงสีที่ไม่ต้องการออก ผงสีที่ปัดนั้นจะติด แน่นเฉพาะส่วนที่ทาน้ำยารักไว้ หากต้องการปัดแบบสามกษัตริย์ หรือลง ๓ สี คือ ทอง เงิน นาก มีเคล็ดลับที่สำคัญคือให้ทาผงนากก่อน เพราะผงนากจะมีมวล หนักกว่าผงทองและเงิน หากทาผงทองหรือเงินก่อน จะทำให้สีหมองลง ดูไม่สวยงามเท่าที่ควรจะเป็น เมื่อทานากเสร็จแล้ว จึงปัดสีอื่นที่ต้องการ จากนั้นใช้พู่กัน ปัดเศษผงสีที่ไม่ต้องการออก และตรวจดูความสะอาดของสีต่าง ๆ อีกครั้ง เป็นอันเสร็จขั้นตอน เทคนิคสำคัญของการปัดทอง คือ (๑) ต้องทำให้แนวของเส้นที่ ต้องการปัดชัดเจน (๒) สีที่ปัดต้องไม่ล้ำเกินไปจากลาย (๓) ตัวอักษรที่ มีอยู่ต้องเห็นชัด สามารถรู้ได้ว่าเป็นอักษรอะไร (๔) เลือกใช้สีที่มีคุณภาพ ในฐานะพุทธศาสนิกชน คนที่นับถือพระพุทธศาสนา หากมี คนถามผู้เขียนว่า ท่ามกลางกระแสจตุคามรามเทพที่กำลังแรงนี้ ชาวพุทธควรปฏิบัติตนเช่นไร ผู้เขียนจะตอบตามแนวทางของบทสวด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=