aw. JULY Rajbundit.indd

จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน 12 ๑ คำว่า “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร” ในที่นี้เป็นการระบุถึงพระอิสริยยศ มิได้ ใช้ว่า “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” ซึ่งเป็นการใช้เฉพาะพระองค์ ๒ พระบรมวงศ์ หมายถึง พระราชวงศ์ชั้นเจ้าฟ้า และพระราชวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าที่เป็นพระราชโอรสพระราชธิดาในพระมหากษัตริย์ ๓ แต่เดิม การใช้คำขึ้นต้นในหนังสือกราบทูลพระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ใช้ว่า “ขอประทานกราบทูล” แต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ไม่มี พระราชโอรสพระราชธิดา สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงดำรงฐานะเทียบกับวังหน้าในสมัยก่อน หนังสือกราบทูลพระองค์ จึงใช้คำขึ้นต้นว่า “ขอพระราชทานกราบทูล” ๔ พระอนุวงศ์ หมายถึง พระราชวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและหม่อมเจ้า นอกจากนี้ในหนังสือ พระราชกรณียกิจ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๓๓–กันยายน ๒๕๓๔ ของ สำนักราชเลขาธิการ หน้า ๒๐ ปรากฏ คำว่า “พระราชทาน” ในความเช่น “เมื่อวันอังคารที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๓ เวลา ๑๖.๔๐–๑๗.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชทาน พระบรมราชวโรกาสให้เอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายอักษรสาสน์ตราตั้งและพระราชสาสน์ตราตั้ง ตามลำดับ” ทั้งนี้แบบแผนการใช้คำว่า “ทรง” และไม่ใช้คำว่า “ทรง” มีปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรมาแต่ครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ดังความใน ประกาศรัชกาลที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ความว่า “ทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทไม่มีทรง เสด็จพระราชดำเนิน ไม่มีทรง เสด็จนั่งไม่มีทรง เสด็จยืนไม่มีทรง เข้าที่พระบรรทมไม่มีทรง ตรัสไม่มีทรง เสวยไม่มีทรง สระไม่มีทรง ทรงช้างพระที่นั่งไม่มีขี่ ทรงม้าพระที่นั่งไม่มีขี่ ทรงพระราชยานไม่มีขี่ ทรงราชรถไม่มีขี่ ทรงเรือพระที่นั่งไม่มีขี่ ทรงบาตรไม่มีใส่” แบบแผนดังกล่าวนี้ ได้ใช้สืบเนื่องมาโดยตลอดตราบจนถึงปัจจุบัน และแม้ว่าคำว่า “พระราชทาน” จะมิได้ระบุอยู่ในประกาศฉบับนี้ แต่แบบแผน การใช้คำว่า “พระราชทาน” ในบริบทต่าง ๆ ใช้โดยไม่มีคำว่า “ทรง” ดังเช่นตัวอย่างที่เสนอไว้ข้างต้น ตัวอย่างการใช้คำว่า “พระราชทาน” มีใช้ ในบริบทต่าง ๆ ในปัจจุบันอยู่มากมาย ที่พบเห็นจนชินตาหรือได้ยินได้ฟังอยู่เป็นประจำก็คือในบริบทของการเสด็จพระราชดำเนินไป หรือ เสด็จไป “พระราชทาน” ปริญญาบัตรแก่ผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ นอกจากนี้คำว่า “พระราชทาน” ยังใช้เป็นคำขยาย ตามหลังคำนาม เช่น นามที่เจ้านายพระราชทาน เมื่อพระราชทานแล้วนามนั้นก็เป็น “นามพระราชทาน” นามที่เจ้านายประทาน เมื่อประทานแล้ว นามนั้นก็เป็น “นามประทาน” อนึ่ง คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยแห่งราชบัณฑิตยสถาน ได้พิจารณาแบบแผนการใช้ราชาศัพท์ว่า “พระราชทาน” และได้กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ราชาศัพท์ไว้ในหนังสือ “ราชาศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน” เล่มที่อยู่ในระหว่างการดำเนิน การจัดพิมพ์ แล้วดังนี้ ราชาศัพท์ของคำกริยา ให้ ที่ใช้แก่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยาม มกุฎราชกุมาร ๑ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ใช้ว่า พระราชทาน ราชาศัพท์ของคำกริยา ให้ ที่ใช้แก่ พระบรมวงศ์ ๒ ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ใช้ว่า พระราชทาน, ประทาน (โบ) ๓ ราชาศัพท์ของคำกริยา ให้ ที่ใช้แก่พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้น หม่อมเจ้า ๔ ใช้ว่า ประทาน เมื่อจะใช้ราชาศัพท์ของคำว่า “ให้” จึงขอให้พิจารณาใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมตามลำดับชั้นพระอิสริยยศของเจ้านายโดยคำนึงถึงความเหมาะ สมในบริบทด้วย อนึ่ง การใช้ราชาศัพท์ซึ่งเป็นภาษาแบบแผนเป็นสิ่งที่ควรศึกษาหาความรู้ในเรื่องหลักเกณฑ์การใช้ตลอดจนพัฒนาการเพื่อให้เกิดความ เข้าใจที่ถูกต้อง หากไม่แน่ใจว่าจะใช้ ได้ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ ควรจะได้ตรวจสอบเรื่องแบบแผนและธรรมเนียมปฏิบัติจากสำนักพระราชวังและ สำนักราชเลขาธิการก่อน หากเป็นเรื่องราชาศัพท์ในส่วนการใช้คำ การใช้ถ้อยคำในบริบทต่าง ๆ จึงสอบถามมายังราชบัณฑิตยสถาน อย่างไรก็ตาม ยังมีราชาศัพท์เป็นจำนวนมากที่พบการใช้ ไม่ถูกต้องเหมาะสม จะได้นำมาเสนอท่านผู้อ่านในโอกาสต่อไป. นางสาวสุปัญญา ชมจินดา นักวรรณศิลป์ ๘ว กองศิลปกรรม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=