aw. JULY Rajbundit.indd
ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑๙๔ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๐ 11 ศาสตราจารย์ ดร. นพ.สมชัย บวรกิตติ ราชบัณ±ิต สำนักวิทยาศาสตร์ ประเภทวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาแพทยศาสตร์ นายสำรวย นักการเรียน นักวรรณศิลป์ ๗ว กองวิทยาศาสตร์ √“™“»— æ∑å §”«à “ çæ√–√“™∑“πé ในจดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ฉบับเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔˘ ได้เขียนเรื่องการใช้คำว่า “ทรง” และการไม่ใช้คำว่า “ทรง” ในราชาศัพท์ ไว้แล้วว่า หลักเกณฑ์กว้าง ๆ ในการใช้ราชาศัพท์ประการหนึ่งก็คือ การไม่ใช้คำว่า “ทรง” เติมหน้าคำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น ไม่ใช้ว่า ทรงเสด็จพระราชดำเนินไป ไม่ใช้ว่า ทรงทอดพระเนตร ไม่ใช้ว่า ทรงพระราชทาน เนื่องจากคำว่า เสด็จพระราชดำเนินไป, ทอด พระเนตร และพระราชทาน เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว นอกจากนี้คำว่า “ทรง” ยังไม่ใช้นำหน้าคำกริยาที่มีคำนามราชาศัพท์ต่อท้าย เช่น ใช้ว่า มีพระราชดำริ, เป็นพระราชโอรส ไม่ใช้ว่า ทรงมีพระราชดำริ, ทรงเป็นพระราชโอรส แต่คำว่า “ทรง” ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์เพื่อทำให้เป็น กริยาราชาศัพท์ได้ จึงใช้คำว่า ทรงพระราชดำริ ได้ คำกริยาราชาศัพท์ที่เกิดจากการใช้คำว่า “ทรง” เติมเข้าข้างหน้าคำนามราชาศัพท์ยังมีอีก มาก เช่น ทรงพระกรุณา ทรงพระผนวช ทรงพระประชวร ทรงพระดำเนิน แม้ว่าได้มีการเผยแพร่เรื่องการใช้คำว่า “ทรง” และการไม่ใช้คำว่า “ทรง” ไปแล้ว แต่คำกริยาราชาศัพท์ที่ยังพบการใช้ผิดอยู่ในสื่อทาง วิทยุและโทรทัศน์อยู่เสมอก็คือคำว่า พระราชทาน ที่มักใช้ผิดว่า ทรงพระราชทาน จึงขอนำมาเสนออีกครั้งหนึ่งเพื่อให้เข้าใจว่าคำว่า “พระราชทาน” เป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ต้องเติมคำว่า “ทรง” เข้าไปข้างหน้าอีก ในที่นี้ ได้ยกการใช้ราชาศัพท์ “พระราชทาน” ในบริบท ต่าง ๆ มาเป็นตัวอย่าง เช่น ประกาศรัชกาลที่ ๔ เรื่องพระนารายณ์ราชนิเวศน์เมืองลพบุรี นามพระที่นั่ง, บ่อน้ำ, พระราชทานเปลี่ยนนามวัดขวิด, นามเมืองลพบุรี, นามเมืองสระบุรี, เมืองพรหมบุรี ณ วันพุธ เดือน ๕ แรม ๒ ค่ำ ปีมะเมีย ยังเป็นนพศก ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๐๑ มีคำว่า “พระราชทาน” ในความตอนหนึ่งว่า “ชื่อพระที่นั่งเก่าในพระราชวังนั้น ค้นได้ตามหนังสือพระราชพงศาวดารโบราณสองฉบับ แลโคลงสรรเสริ≠ พระเกียรติยศแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราชฉบับหนึ่ง ได้ความเป็นแน่ว่า พระที่นั่งกลางซึ่งมี ท้องพระโรงออกมาจากผนังสี่ด้านดังพระมณ±ปนั้น ชื่อว่าพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธั≠≠มหาปราสาท พระที่นั่งซึ่ง ข้างทิศใต้พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธั≠≠มหาปราสาทมีพื้นดินต่ำกำแพงคั่นอยู่นั้นชื่อพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ แลพระที่นั่ง ด้านทิศเหนือพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธั≠≠มหาปราสาทมีมุขเด่นออกแจ้งนั้น ชื่อพระที่นั่งจันทรพิศาลเป็นแน่แล้ว ให้ข้าราชการทั้งปวงเรียกชื่อแลใช้บัตรหมายตามชื่อทั้งสามนั้นเถิดฯ อนึ่ง พระที่นั่งซึ่งไปสร้างลงใหม่ ในระหว่างพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธั≠≠มหาปราสาท แลพระที่นั่งจันทรพิศาลนั้น องค์ให≠่สูงข้างตะวันตก พระราชทาน นามว่า พระที่นั่งพิมานมงกุฎ องค์ตะวันออกเป็นท้องพระโรงนั้น พระราชทาน นามว่า พระที่นั่งสุทธวินิจฉัย พระที่นั่งย่อมสององค์ต่อออกไปจากพระที่นั่งวิสุทธวินิจฉัยด้านตะวันออกนั้น องค์ข้างใต้ พระราชทาน นามว่า พระที่นั่งไชยศาสตรากร องค์ข้างเหนือ พระราชทาน นามว่า พระที่นั่งอักษรศาสตราคม ให้นายงานแลกรมการผู้เขียนใบบอก รายงาน แลข้าราชการอื่น Ê ทุกตำแหน่งใช้ลงในใบบอกแลท้องตราแลบัตรหมายทั้งปวงดังนามพระราชทานนั้นเทอ≠ฯ” ข้อสังเกต และข้อเสนอ จากข้อมูลในพจนานุกรมทั้ง ๓ ฉบับที่นำเสนอข้างต้น จะเห็น ว่าความหมายของคำ “โครงสร้าง” ที่เก็บในพจนานุกรม ฉบับราช- บัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ยังไม่ครอบคลุมความหมายทั้งหมดของ structure ผู้วิพากษ์จึงขอเสนอให้เพิ่มเติมดังนี้ โครงสร้าง น. ๑. ส่วนประกอบต่าง ๆ ซึ่งนำมาคุมเข้าด้วยกัน ให้เป็นรูปร่างหนึ่งเดียว (อ. composition, constitution, makeup) ซึ่งมีสาระความตรงกับความหมายที่ราชบัณฑิตยสถานนิยามไว้ ๑ ; ๒. รูปของประโยค กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ ฯลฯ (อ. structure); ๓. อาการหรือวิธีการสร้าง ก่อสร้าง หรือการจัดรวมเป็นของสิ่งใด ๆ (อ. manner of constructing or organizing); ๔. สิ่งที่สร้างขึ้น (อ. something built or constructed, as, fabric, edifice, building, dam) เอกสารอ้างอิง ๑. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. Úı๔Ú พิมพ์ ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, ๒๕๔๖, หน้า ๒๗๐. ๒. สอ เสถบุตร. New Model English-Thai Dictionary, vol. 2. บริษัทสำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, ๒๕๓๒, หน้า ๑๔๓๓. ๓. Websterûs New World Dictionary of the American Language, College Edition. Cleveland and New York : The World Publishing Co.; 1957. p. 1447.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=