aw. JULY Rajbundit.indd
จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน 10 รองศาสตราจารย์ประพนธ์ เรืองณรงค์ กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมท้องถิ่นไทย ภาคใต้ »— æ∑å — ∫ π: ‚§√ß √â “ß / Structure โครงสร้าง ๑ น. ส่วนประกอบสำคัญ ๆ ซึ่งนำมาคุมเข้าด้วยกันให้เป็นรูปร่างเดียวกัน. Structure ๒ n.vt. โครงของบ้าน เครื่องจักร ฯลฯ; รูปของประโยค กาพย์ กลอน โคลงฉันท์ ฯลฯ; ร่างกายของมนุษย์ หรือ สัตว์; อาการหรือวิธีสร้างของสิ่งใด ๆ, (รูป) ลักษณะ, ทำนอง, สิ่งที่สร้างขึ้น คมม. fabric, construction, edifice, composition, constitution, makeup. Structure ๓ n. 1. manner of building, constructing, or organizing. 2. something built or constructed, as a building or dam. 3. the arrangement or interrelation of all the parts of a whole; manner of organization or construction : as, they studied the structure of the atom, the structure of society. 4. something composed of parts; as, a plant is a complex structure. Syn. See building. ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อพระภิกษุลูกวัด เช่น ต้นสมบุญ ต้นจวง คำว่า “ต้น” ยังใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น ต้นจำวัดแล้ว หรือ ต้นกำลัง ฉันข้าว นอกจากคำว่า “ต้น” แล้ว มีคำว่า “ท่าน” แทนคำว่า “ต้น” ได้เช่นกัน เช่น ท่านจำวัดแล้ว หรือ ท่านกำลังฉันข้าว นอกจากนี้ คำ ว่า “ท่าน” ยังใช้เป็นคำนำหน้าสมณศักดิ์พระภิกษุ เช่น ท่านพระครู ท่านเจ้าคุณ ท่านเจ้าคุณราชฯ ท่านเจ้าคุณเทพฯ พระภิกษุที่สอบ เปรียญธรรมได้ ๓ ประโยคขึ้นไป เรียก “ท่านมหา” เช่น ท่านมหา สมบุญ ท่านมหาจันทร์ ท่านสมภาร หรือ เจ้าอาวาส ชาวใต้มักเรียกว่า “พ่อท่าน” พ่อ ท่านส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุอาวุโส เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน เสมือนพ่อ พระภิกษุผู้สูงวัยแม้ ไม่ได้เป็นท่านสมภาร ชาวบ้านก็เรียก พ่อท่านเช่นกัน ท้องถิ่นภาคใต้บางแห่งเรียกท่านสมภารว่า “จอมวัด” หรือ “หัววัด” หมายถึงผู้เป็นหัวหน้าหรือผู้นำของวัดนั้น ๆ คำว่า “หัว” ยังนำไปใช้เรียกพระภิกษุว่า “หัวเตียง” หมายถึง พระภิกษุที่นั่งหัวแถว อยู่บนเตียงสวดศพ ทั้งนี้พระภิกษุทุกรูปนั่งสูง กว่าชาวบ้าน พระหัวเตียงจึงมักเป็นพระภิกษุอาวุโส อาจเป็นพ่อท่าน หรือหัววัด คำว่า “เตียง” ยังหมายถึงลักษณนามเรียกการสวดศพ บางแห่งเรียก ๑ เตียง หมายถึงการสวด ๓-๔ จบ บางแห่งเรียก ๑ เตียง สวด ๑ จบ ถ้า ๓ เตียง ก็สวด ๓ จบ สรุปแล้วคำว่า “เตียง” หมายถึงลักษณนามเรียกการสวดศพ หรือหมายถึงเตียงที่นั่งของพระ ภิกษุ ปัจจุบันอาจเป็นที่นั่งอย่างอื่นแทนเตียง แต่ชาวใต้บางถิ่นยังเรียก เตียงอยู่นั่นเอง ภาษาถิ่นใต้มีอีกคำหนึ่ง มีความหมายอย่างคำว่า “ต้น” คือ “หลวง” ใช้เรียกตามหลังคำบอกความคุ้นเคยอย่างเครือญาติ เช่น ตา หลวง พ่อหลวง น้าหลวง และพี่หลวง ซึ่งตรงกันข้ามกับภาคกลาง เรียกหลวงตา หลวงพ่อ หลวงน้า และหลวงพี่ เป็นต้น คำว่า “หลวง” ในภาษาถิ่นใต้ แม้ว่าภิกษุนั้นลาสิกขาแล้ว ชาวบ้านก็ยังเรียกหลวง เหมือนเดิม เช่น น้าหลวงเจิม พี่หลวงชม คำว่า “ตาหลวง” ยังใช้เรียกครูหมอโนรา หรือผีบรรพบุรุษ ของโนรา ดังบทไหว้ครูตอนหนึ่งกล่าวถึง “ตาหลวงคงคอ” ดังนี้ “พระยาสายฟ้าฟาด ลูกน้อยจะร้องประกาศไป พระยามือเหล็กมือไฟ ยอดใน ตาหลวงคงคอ ” ภาษาถิ่นใต้มีคำว่า “หลวงตา” และ “หลวงยาย” ซึ่งมีความ หมายไม่เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ แต่หมายถึง “พ่อตา” และ “แม่ยาย” ดังสุภาษิตร้อยแปดของชาวใต้กล่าวไว้ว่า “มีเมียรักร่วมรู้ อย่าได้อยู่เรือน หลวงยาย ไม่มีความสบาย มีแต่ให้ ได้ยากใจ” บางท้องถิ่นในภาคใต้ เช่น พังงา สุราษฎร์ธานี นราธิวาส (อำเภอตากใบ) ญาติมิตรเรียกพระภิกษุว่า “เจ้า” และตามด้วยชื่อ พระภิกษุนั้น เช่น เจ้าพร เจ้าดำ เมื่อลาสิกขาแล้ว ก็ยังคงเรียกเช่นนี้ อย่างคำว่า “หลวง” ดังกล่าว โดยเฉพาะที่อำเภอตากใบ นราธิวาส “เจ้า” จะเรียกพ่อแม่ของตนว่าบิดามารดา ต่างจากถิ่นอื่นที่เรียกพ่อ แม่ของตนว่า โยมพ่อ โยมแม่ อีกคำหนึ่งคือคำว่า “เณร” โดยทั่วไปมักเรียกสามเณรขณะที่ บวช แต่ชาวใต้เรียกแม้สามเณรหรือพระภิกษุที่ลาสิกขาแล้วซึ่งเป็น ญาติมิตรสนิทกันว่าเณร เช่นเรียกผู้อาวุโสกว่า น้าเณร พี่เณร ถ้าอาวุโสน้อยกว่าก็เรียก น้องเณร ลูกเณร เป็นต้น ตัวอย่างเช่น พ่อตาเรียกนายปรีชา ซึ่งเป็นลูกเขยว่า เณรชา หรือ เณร เพียงคำเดียว มีอีกคำหนึ่งคือ เณรเกด เป็นสำนวนภาษาถิ่นใต้ หมายถึง ผู้ไม่เป็นโล้เป็นพาย หรือผู้ทำตัวแบบคนไม่มีหลักแหล่ง ชอบสนุกไปวัน ๆ เช่น เที่ยวเหมือนเณรเกด ยิ่งเป็นพระภิกษุครองตนไม่เหมาะสมกับ สมณสารูปด้วยแล้ว จึงเปรียบเหมือนต้นพร้าวทางบิดที่กล่าวในเพลง กล่อมเด็กข้างต้นนั้น ย่อมทำให้วัดวาเสื่อมเสีย หรือศาสนาเสื่อมถอย คำเรียกพระภิกษุสามเณรในภาษาถิ่นใต้ ดังตัวอย่างคำว่า ต้น ท่าน พ่อท่าน หัววัด หลวง และเณร เป็นต้น ล้วนบ่งบอกถึงการ ยกย่องว่าเป็นบุคคลสูงส่ง ควรแก่การเคารพนับถือ อาจเรียกแตกต่างกัน แต่ละท้องถิ่น แต่ความเข้าใจตรงกันคือ การแสดงออกแห่งคารวธรรม.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=