JUNE'50 Rajbundit.indd
คำว่า main diagonal เป็นศัพท์คณิตศาสตร์ ซึ่งคณะกรรมการจัดทำ พจนานุกรมศัพท์คณิตศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติไว้ว่า çเส้นทแยงมุมหลักé ผู้ใช้ศัพท์คนหนึ่งเสนอข้อคิดเห็นมายังคณะกรรมการฯ ว่า ความหมายของ main diagonal เมื่อใช้กับเมทริกซ์ (matrix) ไม่ได้มี ความหมายเป็นเส้น จึงได้เสนอให้แก้ ไขศัพท์บัญญัติเป็น çแนวทแยงหลักé แทน คณะกรรมการฯ ได้รับข้อคิดเห็นนี้มาพิจารณาแล้วมี ความเห็นว่า คำว่า ทแยง ยังมีความหมายไม่ครอบคลุม เนื่องจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมาย çทแยงé ว่า เ©ียง และให้ความหมายคำว่า “ทแยงมุม” ว่า เ©ียง®ากมุมหน÷่ งไปยังมุมตรงข้าม ดังนั้น หากจะแก้ ไขศัพท์บัญญัติเพื่อให้ถูกต้องตามข้อ เสนอข้างต้น ก็ควรบัญญัติศัพท์ main diagonal ว่า çแนวทแยงมุมหลักé เนื่องจากมีความหมายชัดเจนและถูกต้องสมบูรณ์กว่าที่จะใช้ว่า çแนวทแยงหลักé ผู้อ่านหรือผู้ใช้ศัพท์ที่มีข้อคิดเห็นซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการบัญญัติศัพท์ ตลอดจนข้อเสนอแนะอื่น ๆ คณะกรรมการฯ ยินดีรับฟังเพื่อ จะได้นำมาปรับปรุงการบัญญัติศัพท์ให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไป. นางสาวอารี พลดี นักวรร≥ศิลปá ˆว กองวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ประพนธ์ เรืองณรงค์ กรรมการ®ัดทำพ®นานุกรมศัพท์วรร≥กรรมท้องถิ่นไทย (¿าคใต้) “อย่าคลำหางเสือผอม ราชสีห์ย่อมขามเกรง เจ้านายของเราเอง อย่าลวนลามอุเบกษา” เสือผอมเพียงร่างกายภายนอก อย่าพึงคิดว่าเสือไร้กำลังและอย่าหวังลวนลามคลำหางเสือเล่นอย่างสนุก เพราะพิษสงหรือเขี้ยว เล็บและกำลังของเสือยังไม่แสดงออก เสือเช่นนี้แม้แต่พญาราชสีห์เจ้าแห่งสัตว์ป่ายังไม่กล้าขยับจะคิดสู้ หาก “นาย” มีลักษณะดังเสือที่ว่า นี้ เราควรให้เกียรติและยึดอุเบกษาหรือความสงบไม่ก้าวร้าวต่อนาย เพราะนายไม่ชอบคุยโวหรือไม่อวดตน แท้จริงนายคือเสือมีพลังและมี ความสามารถ ดังสุภาษิตร้อยแปดบรรยายว่า “เสือผอมกวางโจมเข้า เสือโคร่งเล่าวิ่งวางมา ตบต้องคอมฤคา จึงรู้ว่าฤทธิ์เสือมี” กรณีเราไปตกอยู่ใต้อำนาจนายชั่ว นายเช่นนี้คือเสือร้ายมีแต่ให้โทษแก่ลูกน้อง ดังสุภาษิตร้อยแปดกล่าวว่า “นายรักเหมือนเสือกอด หนีนายรอดเหมือนเสือหา พลั้งลงคงอาญา ชีวาดับนับวันตาย” นายชั่วดังเสือร้าย แม้จะแสดงความรักความห่วงต่อลูกน้อง ก็ไม่ต่างกับเสือกอด ซึ่งไม่ใช่กอดรัดด้วยความเสน่หา แต่พยายามหา ช่องทางมุ่งตะปบเหยื่อทุกขณะ แม้ลูกน้องหนีรอดพ้นและอยู่ห่างออกไป ก็ใช่ว่าจะรอดพ้นจากอิทธิพลของนายชั่ว ดังเสือร้ายย่อมหวนกลับ มาเล่นงานได้เสมอ ดังนั้นการทำงานกับนายชั่ว ถ้าลูกน้องพลาดพลั้งลงวันใด ย่อมได้รับโทษทัณฑ์ในวันนั้นและอย่าพึงหวังว่าได้รับความเมตตาปรานี จากนาย เมื่อชาวใต้มีประสบการณ์จากนายเช่นนี้ จึงมักมีความระแวงต่อนายและถูกมองว่าชาวใต้หัวแข็งมักชอบโต้เถียงไม่ลงรอยกับนาย แท้จริงถ้าพิจารณาตามสุภาษิตดังกล่าวแล้ว ชาวใต้ ไม่พึงประสงค์อยู่ใต้อำนาจนายไร้คุณธรรม เพราะนายดังเสือร้ายมีแต่ให้โทษและให้ภัย ปัจจุบันชาวบ้านภาคใต้หลายคนยังมีความรู้สึกฝังใจเกี่ยวกับนายชั่ว หรือข้าราชการดังเสือร้าย จากบทเรียนในอดีตจึงมีสำนวนใหม่ เกิดตามมาอีก เช่น “รบนายเหมือนฉัดโลกเรียน” (รบ = ทะเลาะ, ฉัด = เตะ, โลกเรียน = ผลทุเรียน) หมายถึงการทะเลาะ หรือรบกับนาย เสมือนเท้าเปล่าไปฉัดหรือเตะผลทุเรียน ย่อมมีแต่ความเจ็บปวดจากหนามทุเรียนอย่างแน่นอน รวมทั้งสำนวนอื่น ๆ เช่น อยู่ใกล้นายนายใช้หนัก อยู่ห่างนักนายว่าหนี เราเมานายถีบเรา นายเมานายถีบเรา ถูกเรื่องนายไม่ช่วย นายเŒงซวยไหรพันนี้ (ไหรพันนี้ = อะไรอย่างนี้) “นาย” ในสุภาษิตร้อยแปด-วรรณกรรมภาคใต้เป็นคำสอนใจชี้ให้เห็นลักษณะนายดีและนายชั่วได้อย่างน่าฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความไม่ไว้วางใจนายชั่วนั้นได้ฝังใจชาวใต้มานานแล้ว จึงมักเกิดปฏิกิริยาให้เห็นเสมอจนทุกวันนี้. 7 ªï ∑’Ë Ò˜ ©บับ∑’Ë Ò˘Û ‡ด◊ Õนมิถÿ นายน Úıı
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=