JUNE'50 Rajbundit.indd

ข้าราชการทำหน้าที่ปกครองดูแลทุกข์สุขของชาวบ้าน โดยเฉพาะข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ชาวใต้ ในอดีตเรียก ข้าราชการดังกล่าวนี้ว่า “นาย” ซึ่งเป็นการเรียกเชิงยกย่องว่าเป็นผู้มีทั้งพระเดชและพระคุณ ที่น่าสังเกตคือคำว่า “นาย” มักแฝงความ รู้สึกหวาดเกรงแก่ชาวใต้หลายคนในยุคนั้น จนผู้ใหญ่บางคนมักนำไปใช้ขู่เด็ก เช่น “หยุดร้องเถอะอ้ายไข่ เดีÎ ยวนายจับไปโรงพัก” เท่านั้น เองเด็กก็เงียบเสียงทันที นายชาวภาคกลางย่อมพูดภาษากลางหรือภาษากรุงเทพฯ กับชาวท้องถิ่นภาคใต้ ซึ่งชาวใต้เรียกว่า “แหลงข้าหลวง” (แหลง = พูด ข้าหลวง = นาย, ข้าราชการ) ชาวใต้พยายามให้เกียรตินายหรือเอาใจนาย จึงปรับเสียงภาษาถิ่นใต้ของตนเป็นภาษาข้าหลวง แต่ฟังเป็น ภาษากลางไม่ชัดเจนเหมือนมีเสียงภาษาถิ่นใต้ผสมผสาน จึงเรียกว่าพูดทองแดง คือไม่เป็นทองร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ตรงกันข้ามปรากฏว่า นายบางคนมีความพยายามสามารถพูดภาษาถิ่นใต้ ได้ หรือพูดภาษาถิ่นมลายูได้ ทำให้เข้าใจกับชาวบ้านอย่างสนิทสนม นายที่มาปกครองหัวเมืองภาคใต้ในอดีตนั้น มีทั้ง “นายดี” และ “นายชั่ว” นายดีย่อมมีคุณธรรมตั้งอยู่ในพรหมวิหาร และเป็น ที่เคารพยำเกรงแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ตรงกันข้ามถ้าเป็นนายชั่วย่อมไร้คุณธรรมมุ่งเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน และนำความเดือดร้อนมาสู่ลูก น้องและชาวบ้านเสมอ ดังสุภาษิตร้อยแปดซึ่งสันนิษฐานว่าแต่งโดยพระอุดมปิฎก (สอน) หรือพุทธสโรภิกขุ (ป.ธ.๙) ชาวพัทลุง ท่านกล่าว ถึง “นายดี” และ “นายชั่ว” ไว้อย่างน่าฟัง ดังบทกวีนำมาประกอบข้อความต่อไปนี้ นายดีย่อมเป็นที่เกรงกลัวแก่ลูกน้อง นายบางคนอาจพูดน้อย ไม่ชอบโอ้อวด นายเช่นนี้ควรให้ความเคารพยำเกรง อย่าคิดลวนลาม ตีตนเสมอนาย ดังสุภาษิตร้อยแปดกล่าวว่า ้้ีูุ่์ุ้้ัั้ีี การประพันธ์คำร้องหรือทำนองดนตรีนั้นโดยมากผู้ประพันธ์มักจะตั้งชื่อบทร้องหรือชื่อเพลงให้มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันกับ คำร้องหรือท่วงทำนองเพลงนั้น ๆ แต่ปรากฏว่ามีเพลงเป็นจำนวนมากซึ่งผู้ประพันธ์จงใจตั้งชื่อให้ดูแปลกพิสดารออกไปเพราะมีจุด มุ่งหมายอื่นแฝงอยู่ในใจโดยไม่ได้บอกกล่าวไว้ ผู้ที่ไม่ทราบความนัยจึงอาจนึกสงสัยหรือเข้าใจผิดคิดว่าเป็นการเรียกหาผิด ๆ หรือการ สะกดตัวอักษรผิดเพี้ยนไปจากชื่อเดิม ผู้เขียนจึงค้นคว้าและรวบรวมรายชื่อเพลงไทยซึ่งมีชื่อแปลก ๆ มาเล่าสู่กันฟังเพื่อประดับความรู้ เพลงไส้พระจันทร์ เถา เมื่อเห็นชื่อเพลงนี้ เชื่อว่าหลายท่านที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงดนตรีไทยคงจะต้องรู้สึกงุนงงสงสัยและอยาก ทราบที่มาของชื่อเพลงนี้กันแล้ว เรื่องนี้ต้องขอเล่าย้อนกลับไปในอดีตอันยาวนาน มีเพลงไทยอัตราชั้นเดียวทำนองสั้น ๆ อยู่เพลงหนึ่งซึ่ง ไม่ทราบนามผู้แต่ง มีเพียงท่อนเดียว นักดนตรีนิยมนำมาบรรเลงประกอบการแสดงลิเกหรือละครกันมากเพราะเป็นเพลงที่มีท่วงทำนอง คึกคักรวดเร็วและไพเราะน่าฟัง รู้จักกันในชื่อเพลง “ไส้เดือนฉกจวัก” ต่อมาหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้นำเพลงนี้มาแต่ง ท่วงทำนองเพิ่มเติมจนขยายขึ้นเป็นอัตรา ๒ ชั้น พร้อมทั้งแต่งทำนองทางเปลี่ยนเอาไว้ด้วยจึงกลายเป็น ๒ ท่อน แล้วตั้งชื่อเพลงว่า “นาคราชแผลงฤทธิ์” ตรงนี้พอจะเข้าใจได้ว่าท่านคงตั้งใจเปลี่ยนคำว่า “ไส้เดือน” ให้เป็น “พญานาค (นาคราช)” เพื่อให้ดูยิ่งใหญ่ขึ้นและ เปลี่ยนคำว่า “ฉกจวัก”เป็น “แผลงฤทธิ์” เนื่องจากทำนองเพลงมีความไพเราะวิจิตรพิสดารเพิ่มมากขึ้นกว่าทำนองชั้นเดียว ต่อมาหลวง ประดิษฐไพเราะ จึงได้นำเพลงนาคราชแผลงฤทธิ์อัตรา ๒ ชั้นทั้ง ๒ ท่อนดังกล่าวมาแต่งท่วงทำนองขยายเพิ่มขึ้นไปอีกจนกลายเป็น อัตรา ๓ ชั้นแล้วตั้งชื่อว่า “นาคราชแผ่พังพาน” ซึ่งหมายถึงพญานาคที่แสดงท่าทางอันองอาจยิ่งใหญ่ก่อนจะแผลงฤทธิ์แล้วจึงพ่นพิษใส่ ศัตรู เพลงนี้จึงกลายเป็นเพลงเถาไปในที่สุด ครั้นเมื่อเป็นเพลงเถาแล้วบางคนก็ยังเรียกเพลงนี้ว่า “ไส้เดือน เถา” เพราะมีรากฐานมา จากเพลงเดิมคือ “ไส้เดือนฉกจวัก” ท่านจึงแผลงคำว่า “เดือน” เป็น “พระจันทร์” แล้วเรียกชื่อเพลงนี้เสียใหม่ว่า “ไส้พระจันทร์ เถา” ปรากฏว่าชื่อนี้เป็นที่ยอมรับและนิยมเรียกหากันสืบมาจนถึงปัจจุบัน. นายชนก สาคริก ¿าคีสมา™ิก สำนักศิลปกรรม ประเ¿ทวิ®ิตรศิลปá สาขาดุริยางคกรรม 6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน çนายé „นสุภาษิตร้อยแปด-วรรณกรรมภาค„ต้ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับชื่อ เพลงไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=