JUNE'50 Rajbundit.indd

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ที่เหมาะกับส่วนผสมของน้ำหอมที่มีกลิ่นแบบดอกไม้ (Floral type) และมีฤทธิ์เป็นสารยับยั้งแบคทีเรีย อีกทั้งสามารถใช้ เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์วิตามินอี สำนักศิลปกรรม วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๐ คุณห≠ิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ ราชบัณฑิต ประเภทวรรณศิลปá สาขาวิชา วรรณกรรมร้อยกรอง บรรยายเรื่อง “บทละครเรื่องอิเหนา พระรา™นิพนธ์ในพระบาทสมเดÁ ®พระพุทธเลิศหล้าน¿าลัย เพ™รเมÁ ดงามของวรร≥คดีไทย” บทละครเรื่องอิเหนาเป็น วรรณคดีอมตะของไทยที่สืบทอดต่อกันมาหลายร้อยปี ปัจจุบัน ก็ยังเป็นที่นิยมอ่านและใช้เป็นบทในการแสดงนาฏ- ศิลปá หรือเป็นคำร้องของดนตรีไทย บทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีภาพสะท้อนของสังคมในอดีต ซึ่งให้ความรู้แก่ผู้อ่าน เช่น สภาพบ้านเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๒ กล่าวถึงท้องสนามหลวง บ้านเรือนราษฎร และสถานที่สำคัญ ๆ นอกจากนี้ยังให้ความ รู้เรื่องเมรุมาศด้วย ในบทละครเรื่องอิเหนา มีบทชมต่าง ๆ ที่ ไพเราะประทับใจเป็นจำนวนมาก เช่น ชมไม้ ชมนก ชมรถ ชมนาง ชมป่า ล้วนใช้ถ้อยคำที่ช่วยให้ผู้อ่านจินตนาการเห็น ภาพและประทับใจในอรรถรส และยังมีบทตัดพ้อต่อว่า คติ คำคม คำครวญ และคำเปรียบเทียบอีกด้วย และ นายชนก สาคริก ภาคีสมาชิก ประเภทวิจิตรศิลปá สาขาวิชาดุริยางค- กรรม บรรยายเรื่อง “ยุทธศาสตร์การสอนดนตรีให้เดÁ ก” ดนตรีเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถสัมผัสรับรู้และชื่นชมในความ ไพเราะได้อย่างเต็มที่ แต่อุปสรรคบางประการที่ขวางกั้นมิให้ เข้าถึงอาณาจักรแห่งเสียงดนตรีได้ง่ายนัก เช่น วัยของผู้ฟัง การที่จะทำให้ ใครสนใจสิ่งใดนั้น ประการแรกต้องสร้างจุด สนใจขึ้นมาเสียก่อน “ตัวการ์ตูน” เป็นสื่อสัญลักษณ์ที่เด็ก ๆ ชื่นชอบ หากนำเสนอวิธีเรียนดนตรีไทยผ่านทางสื่อที่เป็นตัว การ์ตูนน่าจะทำให้เด็กเกิดความสนใจและจำได้มากกว่า จึงได้ วาดภาพตัวการ์ตูนเครื่องดนตรีไทยขึ้นเพื่อใช้ประกอบการ เรียนการสอนดนตรี วิธีใช้ตัวการ์ตูนเครื่องดนตรีไทยสอนเด็ก ควรเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็กอนุบาล เพราะเป็นวัยที่รับรู้เรื่องราว ต่าง ๆ ได้ง่าย ปัญหาสำคัญในการวางยุทธศาสตร์การสอน ดนตรีไทยด้วยตัวการ์ตูนคือ ต้องออกแบบรูปร่างหน้าตาของ ตัวการ์ตูนเครื่องดนตรีไทยให้แลดูสวยงามน่ารักและต้อง สามารถแสดงรายละเอียดทางกายภาพของเครื่องดนตรีชนิด นั้นให้ถูกต้องสมจริงตามสมควร การแต่งเรื่องราวและ บทบาทของตัวการ์ตูนให้สนุกสนานน่าสนใจต้องคำนึงถึง ระดับการรับรู้ของเด็กควบคู่กันไปด้วย วันอังคารที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๐ รองศาสตราจารย์มาลิทัต พรหมทัตตเวที ภาคีสมาชิก ประเภทวรรณศิลปá สาขาวิชา ภาษาต่างประเทศ บรรยายเรื่อง “ประสบการ≥์ในการ ทำงานด้านการแปล” การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจาก ภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่งโดยยังคงความหมายเดิมไว้ครบ ถ้วน การทำงานแปลทั้งจากอังกฤษเป็นไทย และจากไทยเป็น อังกฤษ ใช้หลักการเดียวกันคือ ผู้แปลต้องมีความรู้เกี่ยวกับ งานที่จะแปล ต้องพิจารณาเนื้อหาของงานว่าเป็นประเภทใด รู้ความแตกต่างของโครงสร้างและระดับของภาษา ต้องรู้ศัพท์ สำนวน และศัพท์เฉพาะด้าน ต้องมีความรู้ด้านวัฒนธรรม และสุดท้ายต้องมีความรู้รอบตัว และ นายจุลทัศน์ พยา¶รา- นนท์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิจิตรศิลปá สาขาวิชาจิตรกรรม บรรยายเรื่อง “งาน™่างประดับกระ®ก” งานช่างประดับ กระจกเป็นงานช่างรักประเภทหนึ่ง มีมาแต่โบราณ เป็นงานที่ ช่างใช้กระจกสีต่าง ๆ มาตัดแบ่งเป็นรูปเหลี่ยมชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วประดับติดลงบนพื้นทำเป็นลวดลายหรือสลับสีต่าง ๆ ภายหลังงานช่างประดับกระจกได้รับการจัดให้เป็นประณีต ศิลปá หรือมัณฑนศิลปá อีกด้วย งานช่างประดับกระจกซึ่งดำเนิน การตามขนบนิยมที่เป็นโบราณวิธี มีขั้นตอนตามลำดับคือ ๑. กำหนดแบบลวดลายประดับกระจก ๒. เตรียมงานตัดกระจก ๓. เตรียมเทือกรัก ๔. ประดับกระจก ซึ่งงานช่างประดับ กระจกประเภทต่าง ๆ ยังจำแนกตามลักษณะการประดับ กระจกออกไปได้ ๕ ประเภท ได้แก่ ๑. การประดับกระจก ประเภทพื้นลาย ๒. การประดับกระจกประเภทร่องกระจก ๓. การประดับกระจกประเภทลายยา ๔. การประดับกระจก ประเภทแกมเบื้อ ๕. การประดับกระจกประเภทปิดหรือติด กระจกทำเป็น “แวว” สอดประดับตกแต่งในตัวลายแบบต่าง ๆ ทั้งนี้ งานของช่างประดับกระจกครั้งกาลก่อนมีตัวอย่างเช่น งานประดับองค์ประกอบสถาปัตยกรรม เช่น ประดับช่อฟ้า เครื่องลำยอง บัวหัวเสา คันทวย บานประตู งานประดับ เครื่องประกอบอิสริยยศ เช่น ฉัตรทองแผ่ลวด บังสูรย์ บังแทรก จามร ฯลฯ ºŸâ สน„จบ∑§วามดัß°≈่าวขÕÕนÿ ≠าต§â น§วâ า‰ดâ ∑’Ë หâ Õßสมÿ ดราชบัณฑิตยสถาน ตามæร–ราชบั≠≠ัติขâ ÕมŸ ≈ข่าวสาร æ.». ÚıÙ 5 ªï ∑’Ë Ò˜ ©บับ∑’Ë Ò˘Û ‡ด◊ Õนมิถÿ นายน Úıı

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=