JUNE'50 Rajbundit.indd
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - สำนักวิทยาศาสตร์ วันพุธที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ บรรยายเรื่อง “แหล่งพลังงาน ทดแทนสำหรับผลิตไฟฟ้าในอนาคต” ประเทศไทยยังพึ่งพา แหล่งพลังงานจากต่างประเทศโดยการนำเข้าปิโตรเลียมถึง ประมาณร้อยละ ๔๐ และใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลประเภทต่าง ๆ รวมกันถึงประมาณร้อยละ ๘๐ การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลก่อให้ เกิดผลกระทบหลายด้าน เช่น ความมั่นคงของแหล่งพลังงาน เงินตราต่างประเทศ และด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะแก๊ส เรือนกระจก ประเทศจีนและอินเดียใช้น้ำมันปิโตรเลียมเพิ่ม ขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง การประหยัดพลังงานของประเทศยังมี ประสิทธิภาพต่ำ รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการประหยัด พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีเป้าหมายให้ ใช้ พลังงานเพิ่มได้ ในอัตราที่ ไม่สูงกว่าอัตราการเติบโตทาง เศรษฐกิจ วางมาตรการประหยัดพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะภาคขนส่งซึ่งมีอุปสงค์พลังงานสูงสุด และใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นเชื้อเพลิงเกือบทั้งหมด รวม ทั้งกำหนดนโยบายให้เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างเป็น รูปธรรม แหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ควรเร่งรัดพัฒนามาใช้ เพิ่มขึ้นตามลำดับ ได้แก่ พลังน้ำขนาดเล็กและขนาดกลาง มวลชีวภาพ ลมและแสงอาทิตย์ ทั้งนี้ควรเน้นการพัฒนา แหล่งพลังงานทดแทนในภาคขนส่งและการผลิตกำลัง การ พัฒนาพลังน้ำร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านจะเป็นประโยชน์กับ ประเทศที่เกี่ยวข้องมาก ในระยะยาวพลังงานนิวเคลียร์ควรได้ รับการพิจารณาเป็นทางเลือกที่สำคัญ และ ศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ ยกส้าน ภาคีสมาชิก ประเภทวิทยาศาสตร์ กายภาพ สาขาวิชาฟิสิกส์ บรรยายเรื่อง “นิวตันกับปริศนา แรงโน้มถ่วง” ฟิสิกส์ยุคใหม่ ได้เสนอมุมมองใหม่ ในการ อธิบายผลการทดลองที่เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง เช่น คิดว่า มีกาฬพลังงานที่เป็นปัจจัยในการทำให้จักรวาลขยายตัวด้วย ความเร่ง และจักรวาลมีมิติมากกว่า ๔ เพื่ออธิบายว่าเหตุใด แรงโน้มถ่วงจึงเป็นแรงที่รุนแรงน้อยกว่าแรงอื่น ๆ มาก แต่ มิติพิเศษที่ว่านี้ยังไม่มีใครเห็นเพราะขนาดเล็กเกินที่นักทดลอง จะสังเกตเห็นได้ การทดลองที่ใช้เครื่องชั่งบิดเมื่อเร็ว ๆ นี้ เพื่อทดสอบกฎแรงโน้มถ่วง แสดงให้เห็นว่า กฎแรงโน้มถ่วง ของนิวตันยังถูกต้องที่ระยะใกล้ ๕๖ ไมโครเมตร วันพุธที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ ศาสตราจารย์ ดร.ระวี ภาวิไล ราชบัณฑิต ประเ ภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชา ดาราศาสตร์ บรรยายเรื่อง “ธาตุ” วิทยาศาสตร์ปัจจุบัน แสวงหาหลักการที่เรียกว่ากฎธรรมชาติ ซึ่งกำหนดวิถีทาง ของปรากฏการณ์ต่าง ๆ คือ สังเกต รวบรวมข้อมูลความ สัมพันธ์ของตัวแปรในปรากฏการณ์แล้วนำมาวิเคราะห์ ซึ่งอาจมีผลในรูปสมการคณิตศาสตร์หรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้นำไป ใช้พยากรณ์เหตุการณ์อนาคตได้ การบรรยายนี้เพื่อเสนอว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์ กับแนวทางพิจารณาวิเคราะห์โลก และชีวิตของพุทธศาสนาสอดคล้องกัน โดยยกประเด็นการ พิจารณาเรื่องธาตุ มาเปรียบเทียบเป็นกรณีตัวอย่าง ความคิดว่า มีธาตุ ๔ เป็นองค์ประกอบของโลกและชีวิตมีอยู่ในทุกระบบ ปรัชญา ศาสนา ตั้งแต่อดีต วิทยาศาสตร์รับช่วงความคิดนี้มา พัฒนาต่อเป็นระบบอนุภาคสสาร และพลังงาน ในวิชาฟิสิกส์ ปัจจุบัน และ รองศาสตราจารย์ ดร.วงจันทร์ วงศ์แก้ว ภาคี สมาชิก ประเภทวิทยาศาสตร์ ชีวภาพ สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ บรรยายเรื่อง “อิทธิพลของปุ๋ยที่มีต่อผลผลิตและองค์ประกอบ ของน้ำมันหอมระเหยในกระดังงาสงขลา” กระดังงาสงขลา [ Cananga odorata (Lamk) Hook & Thomson var. fruticosa (Craib) J. Sinclair] เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพืชพื้นเมืองของไทย พบครั้งแรก ที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เจริญเติบโตได้ดีในทุกภูมิภาค ของไทย ขยายพันธุ์ได้ง่ายโดยการตัดกิ่งปักชำ มีดอกดกและ สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากเป็นไม้พุ่มเตี้ย และ ดอกมีกลิ่นหอมคล้ายกระดังงาไทย ซึ่งให้น้ำมันหอมที่มีคุณภาพ สูงในอุตสาหกรรมน้ำหอมและเครื่องสำอาง จึงมีศักยภาพที่จะ พัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ ได้ แต่งานวิจัยในทุก ๆ ด้าน เกี่ยวกับกระดังงาสงขลามีน้อยมากเพราะส่วนใหญ่ใช้เป็นไม้ ประดับตามบ้านเรือน ยังไม่มีความคิดที่จะปลูกเพื่ออุตสาหกรรม การศึกษาครั้งนี้จึงทดลองศึกษาอิทธิพลของปุ๋ยว่ามีผลต่อ ผลผลิตของน้ำมันหอมระเหยเพิ่มขึ้นหรือไม่เพียงใด และปุ๋ย จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของน้ำมันหอม ระเหยดังกล่าวหรือไม่ ทั้งนี้เคยมีรายงานว่าปุ๋ยไนโตรเจนมีผล ต่อการเพิ่มน้ำมันหอมระเหยในยูคาลิปตัส มินต์ และข้าวหอม การศึกษาครั้งนี้ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปของยูเรียในอัตรา ๒๕ กก./ไร่ ฟอสฟอรัสในรูป P 2 O 5 ในอัตรา ๑๕ กก./ไร่ ปุ๋ย โพแทสเซียม (K 2 O) ในอัตรา ๑๕ กก./ไร่ และสารสกัดชีวภาพ ในอัตรา ๑ : ๒๕๐ พบว่า สารสกัดชีวภาพให้ผลผลิตสูงสุดใน อัตรา ๐.๗๓% (v/w) รองลงมาได้แก่ ยูเรีย (๐.๗๑%) ส่วน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมให้ผลผลิตต่ำกว่าคือ ๐.๖๑% และ ๐.๓๗% ตามลำดับ แต่ฟอสฟอรัสกลับให้ลินาลูลใน ปริมาณที่สูงกว่ายูเรียและปุ๋ยอื่น ลินาลูลเป็นสารให้ความหอม จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=