MAY Rajbundit.indd

สำเร็จตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถใช้ชื่อ พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “นิรุกติสมาคม” ดังนั้น สมาคมนี้จึงมีถึง ๓ ชื่อ แต่น่าจะนับเนื่องเป็นสมาคมเดียวกัน และมีอายุ ครบ ๑๐๐ ปีพอดีในปีนี้ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใดที่ทำให้สมาคมแก้ ภาษาหรือนิรุกติสมาคมไม่อาจดำเนินการให้ลุล่วงไปได้ ทั้ง ๆ ที่มีการตั้ง คณะกรรมการและมีสมาชิกรับเชิญแล้ว ผู้เขียนลองสันนิษฐานคาดว่าอาจ จะมีหลายสาเหตุ เช่น ๑. ภาษาไทยเปลี่ยนแปลงไปจนเกินเวลาจะยับยั้ง จึงต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของภาษา คนไทยจึงใช้คำว่า “รับข้าว”, “ไม้ขีด”, “ฟอม”, “เบอร์” มาจนถึงปัจจุบัน และยังตัดคำอื่น ๆ ในสมัย ของตนให้ย่นย่ออย่างไม่ถูกต้องอีกมาก เช่น มหา’ลัย (มหาวิทยาลัย), ป. ตรี (ปริญญาตรี), พจนา’ (พจนานุกรม) ๒. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงตั้งวรรณคดีสโมสรขึ้น ใน พ.ศ. ๒๔๕๗ วรรณคดีสโมสรทำ หน้าที่คัดเลือกและประกาศยกย่องหนังสือที่ดีและใช้ภาษาไทยอย่างดี จึงมี บทบาทในด้านดูแลภาษาไทยไปพร้อมกันด้วย ๓. เดือนพฤศจิกายน พุทธ- ศักราช ๒๔๕๙ เกิดอุทกภัย น้ำท่วมใหญ่ทำความเสียหายมาก ทำให้มีพระ ราชกรณียกิจในการทำนุบำรุงประชาชน บ้านเรือน และไร่นาที่เสียหาย ๔. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตัดสินพระราชหฤทัยให้สยาม ประกาศสงครามกับเยอรมัน ออสเตรีย และฮังการี และส่งทหารไปยุโรป เพื่อช่วยรบในสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ในประเทศไทยมีการกวดขันชนต่าง ชาติที่ถือเป็นศัตรูสงคราม เช่น ไม่ชักธงชาติของประเทศที่เป็นคู่สงคราม ๕. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งการลูกเสือและการ เสือป่า เพื่อฝึกพลเรือนให้ทำหน้าที่อย่างทหาร คือป้องกันประเทศในยาม สงครามและเป็นหน่วยบรรเทาสาธารณภัยในยามสงบ ลูกเสือและเสือป่า มีกิจกรรมมาก ทั้งการฝึกรบ การสโมสร และอื่น ๆ ดังนั้น การเปลี่ยน แปลงของภาษาไทยที่รวดเร็วเกินแก้ไข ประกอบกับเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่ เกิดในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อาจทำให้ พระองค์ไม่ทรงมีเวลาดำเนินการอย่างจริงจังเรื่องการตั้งสมาคมเพื่อดูแล ภาษาไทยสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบทบาทหน้าที่ของสมาคมนี้จะไม่ชัดเจนเป็นรูป ธรรมเท่ากับที่มีการวางหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติไว้อย่างถี่ถ้วน แต่นับ เป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๒ พระองค์ ที่เอาพระราชหฤทัยใส่ในเรื่องภาษาของชาติอย่างจริงจัง ทรงตระหนักว่า ภาษาและวัฒนธรรมจะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและยุคสมัย แต่ พระองค์ทรงปรารถนาให้ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ทำลายภาษาของชาติให้ เลวลง และพระองค์มีสายพระเนตรกว้างไกลที่จะยับยั้งความเปลี่ยนแปลง ของภาษาในทางเสื่อมด้วยการตั้งองค์กรแห่งหนึ่งให้ทำหน้าที่สำคัญนี้ทั้ง ทางวิชาการและการควบคุมสอดส่องดูแล แม้พระราชประสงค์ในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๒ รัชกาลจะยังไม่สัมฤทธิผลในช่วงรัชสมัยของ พระองค์ แต่พระมหากษัตริย์ของไทยทุกพระองค์ทรงสืบสานพระราช- กรณียกิจในการทำนุบำรุงรักษาภาษาไทยมิให้เสื่อมตลอดมา รวมทั้ง เป็นนโยบายของชาติทุกยุคทุกสมัย ดังบทบาทของราชบัณฑิตยสถาน ตลอดระยะเวลา ๗๐ ปีที่ผ่านมา และเป็นองค์กรที่จะต้องปฏิบัติภารกิจ สำคัญของชาตินี้ต่อไปอีกตราบนานเท่านาน และ ศาสตราจารย์ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ ภาคีสมาชิก ประเภทวรรณศิลป์ สาขาวิชา วรรณกรรมพื้นเมือง บรรยายเรื่อง “ตำนานพระเจ้าเลียบโลก : ภูมิปัญญา และพลวัต” ตำนานพระเจ้าเลียบโลก เป็นวรรณกรรมที่แต่งขึ้นเป็นบท พระธรรมเทศนาเรื่องหนึ่ง คำว่า “พระเจ้า” ในภาษาถิ่น หมายถึง สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และใช้หมายถึง พระพุทธรูป ด้วย ตำนานพระเจ้า เลียบโลกมีลักษณะเป็นตำนานพระพุทธบาท ตำนานพระธาตุเจดีย์ และ ตำนานบ้านเมืองในล้านนา และดินแดนใกล้เคียง โดยโยงเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของพุทธประวัติ วรรณกรรมเรื่องนี้นอกจากพบในล้านนาและในภาคอีสาน ของไทยแล้ว ยังสำรวจพบในกลุ่มคนไทยขึนในเมืองเชียงตุง สหภาพพม่า ไทลื้อในเขตปกครองตนเองสิบสองพันนา ไทเหนือในเขตปกครองตนเอง ใต้คง สาธารณรัฐประชาชนจีน และในกลุ่มคนลาวในสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวด้วย ตำนานพระเจ้าเลียบโลกสำนวนลาย ลักษณ์ มีอยู่ ๒ แบบ คือ ฉบับสั้นเรียกกันว่า “เลียบโลกน้อย” เป็นคัมภีร์ ใบลาน มีความยาว ๑ ผูก และฉบับยาวที่เรียกว่า “เลียบโลกหลวง” มี ความยาว ๑๐ ผูกบ้าง ๑๑ ผูกบ้าง ตำนานพระเจ้าเลียบโลกทั้งฉบับสั้น และฉบับยาวเคยใช้เทศนาในล้านนา เชียงตุง สิบสองพันนา และลาว ฉบับสั้นใช้เทศน์เพื่อบอกเล่าความเป็นมาของปูชนียสถานในท้องถิ่น ใน เทศกาล หรือในโอกาสที่มีงานฉลอง ส่วนฉบับยาวใช้เทศน์ในวันธรรม สวนะระหว่างเข้าพรรษา ซึ่งอาจเทศน์คราวละ ๑-๒ ผูก โดยผู้เขียนได้ ทำการศึกษาเปรียบเทียบตำนานพระเจ้าเลียบโลกฉบับล้านนา ฉบับอีสาน ฉบับลาว และฉบับไทลื้อ สิบสองพันนา ซึ่งตำนานพระเจ้าเลียบโลก ทั้ง ๔ ฉบับ ต้นฉบับเดิมเป็นคัมภีร์ใบลาน จารด้วยอักษรแบบล้านนา ที่เรียกว่า ตัวธรรม ซึ่งไทลื้อ ลาว และภาคอีสานนำไปดัดแปลงใช้ในถิ่นของตน แต่ง เป็นร้อยแก้วภาษาท้องถิ่น อาจมีภาษาบาลีตอนเริ่มต้นของคัมภีร์แต่ละผูก ผู้เขียนได้ศึกษาเนื้อเรื่องของตำนานพระเจ้าเลียบโลกฉบับสั้นและฉบับ ยาวของวัดกู่คำ พบว่ามีเนื้อเรื่องไม่ตรงกันทีเดียว ฉบับสั้นซึ่งจารไว้ผูกที่ ๑๒ ของฉบับวัดกู่คำ กล่าวถึงที่มาของตำนานและบ้านเมืองในล้านนาเป็น ส่วนใหญ่ ส่วนตำนานพระเจ้าเลียบโลกฉบับยาวหรือเลียบโลกหลวงฉบับ วัดกู่คำ เชียงใหม่ ขึ้นต้นด้วยบทสรรเสริญพระพุทธคุณเป็นภาษาบาลีและ แปลเป็นภาษาท้องถิ่นว่าทรงประกอบด้วยพระมหากรุณาธิคุณแก่สัตว์โลก บริบูรณ์ด้วยบารมีธรรม ๓๐ ทัศ มหาปริจาค ๕ และจริยา ๓ ประการ ประมาณได้ ๒๐ อสงไขยปลายแสนมหากัป ต่อจากนั้นเป็นการเล่าเรื่อง เมื่อครั้งพระสมณโคดมทรงดำรงพระชาติเป็นชายหนุ่มชื่อ มาตุธารกมาณ- วะ หรือ มาตุธารกมาณพ และกล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมือง ต่าง ๆ เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาที่ปรากฏในตำนานพระเจ้าเลียบโลกฉบับ ยาวของล้านนา อีสาน ลาว และของสิบสองพันนา อาจกล่าวได้ว่า เนื้อความตรงกันเป็นส่วนใหญ่ เนื้อหาสำคัญเป็นตำนานพระธาตุเจดีย์และ ตำนานพระพุทธบาท ตลอดจนชื่อบ้านนามเมืองซึ่งมีอยู่ในบริเวณล้านนา เขตที่อยู่ของคนไทในพม่า ในสิบสองพันนา และเขตปกครองตนเองใต้คง สาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน ฉบับลาวและอีสานกล่าวถึงสถานที่ใน ลาวและอีสานด้วย ตำนานพระเจ้าเลียบโลกน่าจะเขียนขึ้นโดยได้รับ อิทธิพลแนวการเขียนตำนานเมืองและตำนานศาสนสถานของศรีลังกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคัมภีร์มหาวงศ์ ซึ่งพระมหานามเถระ ชาวลังกา เขียนขึ้นกว่า ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นพงศาวดารลังกาและ ประวัติพระพุทธศาสนาในลังกา และคัมภีร์ถูปวงศ์ ซึ่งมีเนื้อหาเป็นตำนาน ของพระธาตุเจดีย์ในศรีลังกา พระสงฆ์ศรีลังกาในอดีตได้แต่งตำนานเมือง และศาสนสถานโดยเชื่อมโยงเรื่องราวเข้ากับพุทธประวัติ เพื่อใช้เป็น กุศโลบายโน้มนำให้ชาวศรีลังกาในอดีตมีความภาคภูมิใจว่า ดินแดนของ ตนนั้นอยู่ในพุทธอาณาเขตที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระเมตตา เสด็จมาสั่งสอน แม้กระทั่งอมนุษย์ เช่น ยักษ์ นาค ตลอดจนชนเผ่าพื้น เมืองซึ่งล้าหลังไม่เจริญก็ยังเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ยึดมั่นในไตร สรณาคมน์และศีล ๕ ทำให้มีความสุขความเจริญ ผู้ที่ได้อ่านได้ฟังตำนาน ดังกล่าวควรที่จะช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและศาสนสถานให้ - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑๙๒ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๐

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=