MAY Rajbundit.indd

สงขลา เนื่องในโอกาสเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ ๕๐ พรรษา จำนวน ๑๔ ชิ้น เพื่อติดตั้งถาวรบริเวณสวน ๒ ทะเล และบริเวณสระบัว แหลมสมิหลา และ ประติมากรรมจากโครงการสร้างสรรค์ประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อม นานาชาติ จำนวน ๒๐ ชิ้น เพื่อติดตั้งในบริเวณงานพืชสวนโลก นอกจากนี้ ยังมีการจัดสร้างประติมากรรมประกอบน้ำพุติดตั้งที่มุมทั้ง ๔ ด้านของ สวนจิตรลดา ซึ่งทำให้เกิดทัศนียภาพที่งดงามและเพลินตาเพลินใจ ๔. การจัดสร้างสวนประติมากรรมกลางแจ้งที่มีการออกแบบเพื่อการติด ตั้งประติมากรรมโดยเฉพาะ เป็นประติมากรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นจากแนว ความคิดส่วนบุคคลของประติมากร แล้วนำมาติดตั้งในบริเวณเดียวกัน เป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างสีสันแห่งบรรยากาศของความหลากหลายของ สุนทรียภาพ ของรูปทรงทางความคิด จินตนาการ ความหลากหลายของ วัสดุ เทคนิค วิธีการ ประเทศไทยมีการจัดสร้างสวนประติมากรรมกลาง แจ้งขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๓๕ กรมธนารักษ์ได้จัดสร้างสวนสาธารณะกลางเมือง แทนที่กรมอุตุนิยมวิทยาที่ถูกรื้อถอนไป เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในมหามงคลสมัยที่ทรง เจริญพระชนมายุ ๖๐ พรรษา โดยใช้ชื่อสวนนี้ว่า “อุทยานเบญจสิริ” เนื่องจากสวนมีขนาดเล็ก แต่ต้องการที่จะให้เอกลักษณ์ที่โดดเด่นเป็น พิเศษ คณะกรรมการฯ จึงระบุให้มีการจัดสร้างประติมากรรมเพื่อติดตั้งใน อุทยานแห่งนี้ด้วย สมาคมประติมากรไทยจึงได้รับเชิญให้มาเป็นคณะ ทำงานประติมากรระดับชาติ ๑๑ คน ได้รับเชิญให้สร้างสรรค์ ประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อมขนาดใหญ่ จำนวน ๑๑ ชิ้น เพื่อติดตั้งใน อุทยานแห่งนี้ อาจกล่าวว่าได้ว่า “อุทยานเบญจสิริ” เป็นสวน ประติมากรรมกลางแจ้งขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศไทย สวน ประติมากรรมอีกสวนหนึ่งได้เกิดขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๓๒ ในบริเวณวังท่าพระ ซึ่งเคยเป็นวังที่ประทับของสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์ นายช่างเอกแห่งสยามประเทศ มีบริเวณเป็นที่พักผ่อนเรียกว่า “สวนแก้ว” มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ปรับปรุงป็นสวนประติมากรรมขนาดเล็ก มีผลงาน ประติมากรรมประมาณ ๑๐ ชิ้น ประกอบด้วยผลงานของ เขียน ยิ้มศิริ, ชะลูด นิ่มเสมอ, มีเซียม ยิบอินซอย, สิทธิเดช แสงหิรัญ และสนั่น ศิลากร วันอังคารที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ รองศาสตราจารย์ ดร.รื่นฤทัย สัจจ- พันธุ์ ภาคีสมาชิก ประเภทวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมร้อยแก้ว บรรยายเรื่อง “๑๐๐ ปี สมาคมแก้ภาษา สมาคมรักษาภาษาไทย หรือนิรุกติ สมาคม” สรุปได้ว่า พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวในระหว่างเสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. ๒๔๕๐ เรื่องการตั้งสมาคมแห่ง หนึ่งเพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษาภาษาไทยให้ถูกต้อง ไม่เปลี่ยนแปลงไปในทาง ที่เลวลงและก่อนกาลอันควร นำมาสู่การประกาศตั้งสมาคมโดย สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมทั้ง ทรงแต่งตั้งกรรมการและทูลเชิญสมาชิก สมาคมนี้ยังไม่มีชื่อที่ชัดเจน เพราะในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ดี ในพระราชกระแส “คำชักชวน” ก็ดี และในประกาศตั้งสมาคมก็ดี ยัง ไม่มีชื่อสมาคม ผู้เขียนพบว่าในพระราชหัตถเลขาของสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชกราบบังคมทูลพระบรมชนกนาถเท่านั้นที่ทรงระบุชื่อเรียกว่า “สมาคมแก้ภาษา” เป็นครั้งแรก และหลังจากนั้นในเอกสารต่าง ๆ ได้ใช้ชื่อ สมาคมนี้เรื่อยมา ต่อมา ในลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กราบทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงเรียกว่า “สมาคมรักษาภาษาไทย” แต่สมาคมที่ประกาศตั้ง ขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อดำเนินการให้ - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ที่กล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของประติมากรรมที่ติดตั้งในสิ่งแวดล้อม ต่อมา หลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการพัฒนาวิถี ชีวิตจากการมีพระพุทธศาสนาเป็นศูนย์กลางมาสู่วิถีชีวิตร่วมสมัยในระบบ สากลนิยม ซึ่งมีผลมาจากการถูกบีบคั้นจากกระแสอิทธิพลของชาวต่าง ชาติจากทวีปยุโรป การสร้างสรรค์ประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อมตามแนว ประเพณีนิยมจึงเปลี่ยนแปลงไป การปรากฏขึ้นของประติมากรรมกับสิ่ง แวดล้อมมีหลายรูปแบบ คือ ๑. ประติมากรรมในรูปแบบของอนุสาวรีย์ หรืออนุสรณ์สถานต่าง ๆ เพื่อระลึกถึงคุณธรรมความดีและคุณูปการของ บุคคล หรือกลุ่มบุคคลหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ควรจดจำ และนำมาเป็น แนวทางในการประพฤติปฏิบัติต่อไป เช่น การสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นครั้งแรก ในประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น รูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงม้า ตั้งอยู่บริเวณลาน พระราชวังดุสิต หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ต่อมาในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้จ้างประติมากรชาวฟลอเรนซ์จาก อิตาลี ชื่อ Corrado Feroci มาสร้างอนุสาวรีย์ในประเทศไทย ต่อมาใน สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เปลี่ยนชื่อเป็นไทยว่า ศิลป์ พีระศรี ท่านได้ สร้างอนุสาวรีย์หลายแห่ง ตั้งแต่พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เป็นต้น หลังจากที่ท่านเสีย ชีวิตใน พ.ศ. ๒๕๐๕ ลูกศิษย์ของท่าน โดยเฉพาะ สนั่น ศิลากร รวมทั้ง ประติมากรในยุคหลัง ได้เป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์ประติมากรรมใน รูปแบบของอนุสาวรีย์ในสมัยต่อมาอีกมากมาย ๒. ประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อม ที่ติดตั้งอยู่หน้าอาคาร ซึ่งยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนักแม้ในสมัยปัจจุบัน รูปแบบประติมากรรมประเภทนี้มีลักษณะเป็นประติมากรรมร่วมสมัย ธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้ริเริ่มจัดสร้างขึ้นเป็นแห่งแรกที่อาคารสำนักงานใหญ่ ถนนพหลโยธิน ประติมากรผู้สร้างสรรค์คือ ศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ ประติมากรรมชื่อ “องค์สาม” เป็นรูปเงินพดด้วง ๓ ก้อนวางซ้อนกัน ต่อมา ศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ ได้สร้างสรรค์ประติมากรรมหน้าอาคารอีก ๒ แห่ง คือ ที่หน้าอาคารศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ประติมากรรมชื่อ “โลกุตตระ” และที่หน้าอาคารมหาวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติ (หัวเฉียว) ที่ ถนนบางนาตราด ประติมากรรมชื่อ “พระบรมโพธิสมภาร” ต่อมามีหน่วย งานเอกชนได้จัดประกวดแบบร่างประติมากรรมเพื่อติดตั้งหน้าอาคารอีก หลายแห่ง เช่น ที่เซ็นทรัล บางนา ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ King Power ซอยรางน้ำ แต่ยังมิได้มีการขยายเท่าขนาดจริงแต่ประการ ใด ๓. ประติมากรรมที่ติดตั้งในสวนสาธารณะหรือสถานที่สาธารณะ เพื่อ ช่วยเสริมสร้างบรรยากาศที่เติมให้เต็มด้วยสุนทรียภาพ และเรื่องราว เนื้อหาที่บรรยายความด้วยรูปทรงประติมากรรม เช่น ประติมากรรมจาก โครงการเยาวชนเพื่องานประติมากรรม จำนวน ๗๑ ชิ้น ซึ่งนำไปติดตั้งยัง สวนสาธารณะต่าง ๆ เช่น สวนลุมพินี อุทยานเบญจสิริ สวนล้านนา ร. ๙ จังหวัดเชียงใหม่ สวนสัตว์ดุสิต ศูนย์เยาวชนเฉลิมพระเกียรติ บางมด และพุทธมณฑล ประติมากรรมจากโครงการ ASEAN Sculpture Symposium จำนวน ๖ ชิ้น ติดตั้งอยู่ ในสวนจตุจักร ซึ่งเป็นสวน สาธารณะแห่งที่ ๒ ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งนับเป็นการสร้างสรรค์ ประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยประติมากรรม จากโครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งศิลปวัฒนธรรม จำนวน ๕ ชิ้น ติดตั้งใน กรุงเทพมหานคร คือ ที่ถนนรามอินทรา คลองเตย สี่แยกถนนอโศกตัดกับ ถนนสุขุมวิท และสี่แยกเชิงสะพานปิ่นเกล้า ประติมากรรมจากโครงการ สร้างสรรค์ประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อมนานาชาติ ณ หาดสมิหลา จังหวัด •

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=