MAY Rajbundit.indd

• • - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - - - - - - - --- ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑๙๒ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๐ ของประเทศและของโลก เป็นสิ่งที่ทำได้ยากและยากยิ่ง เพราะมีประชากร จำนวนมากอยู่อาศัยในบริเวณที่กว้างขวางห่างไกลกัน และมีปัจจัยที่ซับ ซ้อน ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ยากที่จะประสาน ความแตกต่างให้เกิดความสมานฉันท์ ยากที่จะประสบความเป็นหนึ่งเดียว และความเป็นศูนย์ให้สมดุล ยากที่จะควบคุมความเคลื่อนไหวไร้ระเบียบ ยากที่จะพัฒนาจิตให้ “ใฝ่รู้และใฝ่รัก” ในสิ่งที่ดีงามและถูกต้อง แม้จะมี ประเทศใหญ่บางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน ประสบความสำเร็จในการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวได้อย่างมั่นคงและ ยืนยาว แต่ก็มีประเทศและกลุ่มประเทศอีกจำนวนมากที่ยังไม่สามารถ สื่อสารสร้างสรรค์ให้บรรลุความเจริญเติบโตเป็นเอกภาพถาวร ยิ่งมอง ภาพรวมทั่วไปทั้งโลก พลังการสื่อสารที่เพียบพร้อมเทคโนโลยีสารสนเทศ สมัยใหม่ก็ยังมิได้ถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการสร้าง ความเป็นหนึ่งเดียวของโลก (One World) ที่อยู่รวมกันด้วยหลักสันติธรรม สำนักวิทยาศาสตร์ วันพุธที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๐ ศาสตราจารย์ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชา แพทยศาสตร์ บรรยายเรื่อง “นกมีหู หนูมีปีก...และมีโรค” วันพุธที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐ นายนิพนธ์ ทรายเพชร ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาดาราศาสตร์ บรรยายเรื่อง “นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกในระบบดาวฤกษ์อื่นนอก ระบบสุริยะ” ข่าวการค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกในระบบดาวฤกษ์อื่นซึ่ง อยู่นอกระบบสุริยะของเราถูกเผยแพร่ในเว็บไซต์ของหอดูดาวยุโรปในซีก โลกใต้ (ESO) เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๐ คณะนักดาราศาสตร์ผู้ค้นพบ ประกอบด้วยนักดาราศาสตร์จาก ๓ ประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และโปรตุเกส โดยอาศัยกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงขนาดเส้น ผ่านศูนย์กลาง ๓.๖ เมตรของหอดูดาวยุโรปในซีกโลกใต้ซึ่งตั้งอยู่ที่ลาซิล ลา ประเทศชิลี อุปกรณ์สำคัญที่ช่วยให้ค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลก คือ สเปกโตรกราฟที่ละเอียดแม่นยำที่สุดในโลกชื่อว่า HARPS ( H igh A ccuracy R adial Velocity for P lanetary S earcher) เพื่อการค้นหา ดาวเคราะห์โดยเฉพาะ ดาวฤกษ์ที่พบว่ามีบริวารคล้ายโลก ชื่อ กลีซ ๕๘๑ เป็นดาวฤกษ์ขนาดเล็ก อุณหภูมิพื้นผิวต่ำจัดอยู่ในประเภท ดาวแคระแดง มีมวลประมาณ ๑/๓ ของมวลดวงอาทิตย์ และสว่างน้อยกว่าดวงอาทิตย์ อย่างน้อย ๕๐ เท่า เป็นดาวที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ในกลุ่มดาวคัน ชั่ง อยู่ห่าง ๒๐.๕ ปีแสง เป็นประเภทดาวฤกษ์ที่มีจำนวนมากที่สุดใน กาแล็กซีของเรา โดยเฉพาะดาวฤกษ์ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ๑๐๐ ดวง เป็น ดาวแคระแดงไม่น้อยกว่า ๘๐ ดวง มีบริวาร ๓ ดวง คือ กลีซ ๕๘๑ บี กลีซ ๕๘๑ ซี และกลีซ ๕๘๑ ดี โดยกลีซ ๕๘๑ ซี คล้ายโลกมากที่สุด มีอุณหภูมิพื้นผิวระหว่าง ๐-๔๐ องศาเซลเซียส เคลื่อนรอบดาวแคระแดง กลีซ ๕๘๑ รอบละ ๑๓ วัน มีมวลประมาณ ๕ เท่าของโลก และมีความเร่ง เนื่องจากแรงโน้มถ่วงที่ผิว ๑.๖ เท่าของโลก มีรัศมีประมาณ ๑.๕ เท่าของ โลก เป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่มีมวลน้อยที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ ศาสตราจารย์ ดร.สุดา เกียรติกำจรวงศ์ ภาคีสมาชิก ประเภท เทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีพอลิเมอร์ บรรยายเรื่อง “ซูเปอร์แอบ- ซอร์เบนต์พอลิเมอร์นาโนคอมพอสิกต์ สมบัติของขนาดแมกโครสู่สมบัติ ของขนาดนาโน” ผลของการเติมอนุภาคของเคลย์ เช่น ไมกา ลงไปใน ปฏิกิริยาการเกิดสารซูเปอร์แอบซอร์เบนต์พอลิเมอร์ของอะคริลาไมด์และ อิทาโคนิกแอซิด ด้วยวิธีการเกิดพอลิเมอร์แบบแขวนลอย เพื่อให้เกิดเป็น คอมพอสิกต์ของซูเปอร์แอบซอร์เบนต์พอลิเมอร์ โครงสร้างของไมกา ประกอบด้วยหนึ่งชั้นที่เป็นออกตะฮีดรอล (Octahedral layer) ของซิลิกา และสองชั้นที่เป็นเททระฮีดรอล (Tetrahedral) ของอะลูมิเนียม แมกนีเซียม หรือ เหล็ก ซึ่งจัดเรียงตัวเป็นชั้น ๆ ห่างกันประมาณ ๑๒.๔ อังสตรอม (gallery หรือ layer) จึงทำให้สายโซ่พอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นแทรก เข้าไปได้ (Intercalation) ในชั้นเหล่านี้ ได้ซึ่งขยายขนาดของชั้นให้กว้าง ขึ้นเป็น ๑๔ อังสตรอม เกิดลักษณะการเชื่อมขวางแบบกายภาพ และอาจ เกิดการกราฟติง (Grafting reaction) ได้บนพื้นผิวของออกตะฮีดอล ซิลิกา พอลิเมอร์คอมพอสิกต์ที่ได้มีสมบัติดีมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากการ เชื่อมขวางด้วยวิธีทางเคมี สามารถพิสูจน์เอกลักษณ์การเกิดกราฟติงบน ซิลิกาได้ด้วยเทคนิคของ Fourier transform infrared spectroscopy โดยสังเกตพีกที่ตำแหน่ง ๑๒๐๐-๑๒๕๐ cm -1 (หมู่เอสเตอร์) และการสอด แทรกระหว่างชั้นของอะลูมิเนียมได้ด้วยเทคนิคของ Fourier transform infrared spectroscopy, transmission electron microcopy, X-ray diffraction analysis ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของพอลิเมอร์ คอมพอสิกต์ยืนยันได้ด้วยการวัดค่า G’ และ G” ทางกระแสวิทยา (Rheology) และ Thermal analysis เมื่อวัดสมบัติของซุเปอร์แอบ- ซอร์เบนต์พอลิเมอร์คอมพอสิกต์ ด้านการดูดซึมน้ำกลั่นและการดูดซึมน้ำ ปัสสาวะเทียมภายใต้แรงกด พบว่าสารคอมพอสิกต์นี้ดูดซึมน้ำได้สูงกว่า และมีอัตราการดูดซึมเร็วกว่าสารที่เชื่อมขวางทางเคมี จากการใช้ไมกาที่มี ขนาดอนุภาค ๓ ไมโครเมตร ซึ่งมีโครงสร้างระดับนาโนเมตรอยู่ภายใน ผลึก เมื่อผสมผงไมกานี้ในปฏิกิริยาฯ สามารถเกิดโครงสร้างระดับนาโนได้ ในโครงสร้างปกติของสารซูเปอร์แอบซอร์เบนต์พอลิเมอร์คอมพอสิกต์และ ทำให้เกิดสมบัติทางกายภาพและทางกลดีมากขึ้นด้วยปริมาณของผงไมกา ที่เติมเพียงร้อยละ ๓-๕ ประสิทธิภาพการเก็บซิลิกาในสารนี้ได้ร้อยละ ๘๐ และไม่ทำให้น้ำหนักของผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น ประโยชน์ของซูเปอร์แอบ- ซอร์เบนต์พอลิเมอร์นาโนคอมพอสิกต์นี้ใช้ได้กับผ้าอ้อมเด็ก ผ้าอนามัยสตรี เป็นต้น ศาสตราจารย์ ดร.กฤษณา ชุติมา ราชบัณฑิต ประเภท วิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาเคมี บรรยายเรื่อง “นกพงปากยาว” และ ศาสตราจารย์ ดร. นพ.เรือน สมณะ ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์ สุขภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ บรรยายเรื่อง “ผู้ชายหรือ ผู้หญิงวิวัฒนาการไปไกลกว่ากัน”. สำนักศิลปกรรม วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๐ นายนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ภาคีสมาชิก ประเภทวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาประติมากรรม บรรยายเรื่อง “ประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย” ประติมากรรมกับ สิ่งแวดล้อมในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่การก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ จนถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การสร้างสรรค์ส่วนใหญ่ จะอยู่ที่วัดและวัง ประติมากรรมตามแนวประเพณีจะสร้างสรรค์ตามคตินิยม ความเชื่อที่สืบทอดกันมา ได้แก่ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีรูปยักษ์ ๑๒ ตน เพื่อเฝ้าพระอารามและปกปักรักษาบริเวณให้ปราศจากอันตรายและ การรบกวนจากภูตผีปีศาจ และรูปสัตว์หิมพานต์ ๗ คู่ ยืนบนพื้นชาลา ไพที หน้าปราสาทพระเทพบิดร ที่วัดอรุณราชวราราม มียักษ์ ๒ ตน คือ สหัสสเดชะและทศกัณฐ์ ยืนอยู่ด้านหน้าประตูทางเข้าพระอุโบสถ ส่วน บริเวณรอบพระอุโบสถ มีตุ๊กตาหินที่นำมาจากประเทศจีน และที่วัด พระเชตุพนวิมลมังคลาราม มีรูปฤๅษีดัดตนหล่อด้วยสังกะสีผสมดีบุก เดิม มีอยู่ ๘๒ รูป ปัจจุบันเหลือเพียง ๒๐ รูป ติดตั้งอยู่ที่เขามอหน้าศาลา รายทางทิศใต้ของพระอุโบสถ และยังมีตุ๊กตาหินที่นำมาจากเมืองจีน ติด ตั้งทั่วไปในบริเวณที่เป็นเขตพุทธาวาส ซึ่งประติมากรรมตามแนวประเพณี •

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=