MAY Rajbundit.indd
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - - - - - - - 2 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง วันพุธที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๐ รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิท วงศ์สุรวั≤น์ ภาคีสมาชิก ประเภทสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ และรัฐประศาสน- ศาสตร์ บรรยายผลงานทางวิชาการ เรื่อง “ขบวนการประชานิยมใน สหรั∞อเมริกา” คำว่า “ประชานิยม” ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Populism” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำว่า “Populus” ในภาษาละติน แปลว่า “ประชาชน” แนวทางแบบประชานิยมคือ แนวทางของการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่ยึด ประชาชนเป็นพื้นฐาน อาจแยกแยะ “ประชานิยม” ที่เกิดขึ้นจริง หรือที่ใช้ อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆ ตามพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก ได้ดังนี้ (๑) ประชานิยมที่หมายถึงการให้ความสำคัญหรือให้คุณค่าแก่ ประชาชน โดยเฉพาะคนยากคนจน รวมทั้งคนธรรมดาที่เป็นชนชั้นล่าง ของสังคม ประชานิยมในความหมายเช่นนี้ มีมาก่อนที่จะมีคำว่า “Populism” (๒) ประชานิยมในความหมายที่เป็นแนวทางในการพัฒนา เป็นคำที่ใช้ เรียกแนวทางการพัฒนาในประเทศโลกตะวันออกภายหลังยุคสงครามโลก ครั้งที่ ๒ เป็นแนวคิดที่ต่อสู้กับแนวคิดในการพัฒนาที่เน้นหนักไปในสังคม เมือง รวมทั้งเศรษฐกิจในภาคเมืองและการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (๓) ประชานิยมในประเทศตะวันตก หมายถึง แนวคิดของพรรคการเมืองที่ เกิดขึ้นในยุโรปตะวันตก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านคนธรรมดา พรรคการเมืองประเภทนี้มองว่าพรรคการเมืองที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ได้กระทำ การเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งยังไม่เคยให้ความสำคัญแก่พลังเงียบทั้ง หลายที่เป็นเสียงข้างมากในสังคมอีกด้วย (๔) ประชานิยมในประเทศ ลาตินอเมริกา เป็นความหมายที่คนไทยคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่งและได้เปรียบ เทียบแนวนโยบายของพรรคไทยรักไทย รวมทั้งแนวคิดของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ว่าเป็นประชานิยมในความหมายเดียวกับในประเทศลาตินอเมริกานี้ โดยทั่วไป ประเทศในลาตินอเมริกาที่เป็นประชานิยมมักเข้าแทรกแซง เศรษฐกิจ โดยนำงบประมาณของรัฐมาสนับสนุนอุ้มชูชนชั้นล่างอย่างมาก ไม่ปล่อยให้กลไกการตลาดทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ แต่ก็ไม่ยกเลิกระบบ เศรษฐกิจแบบตลาด ยอมให้นายทุน นักอุตสาหกรรม เป็นผู้นำในภาคธุรกิจ ต่อไป (๕) ประชานิยมแบบรัสเซียและอเมริกาจะเน้นหนักไปในทาง เปลี่ยนแปลงสังคมโดยให้ความสำคัญแก่ประชาชน โดยเฉพาะชาวนาหรือ เกษตรกร เพราะว่าเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ หรือพยายามผลักดันให้ มีนโยบายที่เอื้อประโยชน์แก่เกษตรกร ในรัสเซีย คำว่า ประชานิยมมาจาก คำว่า “Narodniki” ส่วนผู้ที่มีแนวคิดแบบประชานิยมจะเรียกว่า “Narodnichestvo” ขบวนการประชานิยมในรัสเซียนั้นส่วนใหญ่เป็นพวก ปัญญาชนและนักศึกษาที่มุ่งหน้าเข้าสู่ชนบท โดยมีเป้าหมายที่จะปลุก ระดมและจัดตั้งบรรดาชาวไร่ชาวนาขึ้นมา พวกนี้เห็นว่าการปรับปรุง ประเทศโดยใช้แนวคิดแบบสังคมนิยมที่มาจากตะวันตกหรือลัทธิมาร์กซิสต์ นั้นเป็นสิ่งที่ผิด หนทางที่ถูกต้องคือต้องทำการพัฒนาชนบทด้วยการรื้อฟóô น และส่งเสริมระบบสหกรณ์ ซึ่งอยู่บนที่ดินส่วนรวมในหมู่บ้านทั้งหลายขึ้นมา เพราะว่าในรัสเซียนั้น สหกรณ์กินความถึงชุมชนที่มีการปกครองตนเอง ตามธรรมชาติด้วย ในสหรัฐอเมริกา นับว่ามีการใช้คำว่า “Populism” เป็นครั้งแรก โดยใช้เรียกขานพรรคการเมืองและขบวนการเกษตรกรของ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ขบวนการ ประชานิยมในสหรัฐอเมริกานั้น หมายถึง พรรคการเมืองและขบวนการ เคลื่อนไหวทางสังคมที่มุ่งจะพิทักษ์และส่งเสริมสิทธิประโยชน์ให้แก่บรรดา ชาวไร่ชาวนาหรือเกษตรกรของสหรัฐอเมริกานั่นเอง วันพุธที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐ รองศาสตราจารย์ ดร.สมควร กวียะ ภาคีสมาชิก ประเภทสังคมศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์ บรรยาย เรื่อง “พลังการสื่อสาร” การสื่อสารเป็นองค์ประกอบที่ติดต่อเชื่อมโยงอีก ๔ องค์ประกอบของความเป็นหนึ่งเดียวเข้าด้วยกัน คือความแตกต่างของ ส่วนประกอบ หนึ่งกับศูนย์ เวลาหรือความเคลื่อนไหวไร้ระเบียบ และจิตมนุษย์ การสื่อสารจึงเป็นพลังหลักที่จะนำไปสู่พลังอื่น ๆ ของความเป็นหนึ่งเดียว คือพลังของความแตกต่างระหว่างส่วนประกอบ พลังของหนึ่งกับศูนย์ พลังของเวลา และพลังของจิต พลังของจิตมาจากการเรียนรู้ และการคิด การคิดในเชิงบวก การคิดในทางสายกลาง การคิดแบบรวมพลังทางบวก และทางลบ การคิดสู่อนาคต การสื่อสารเพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวของ ชีวิต (Oneness of life) สามารถพัฒนาได้โดยการฝึกฝนตนเองและการ ศึกษาอบรมในระบบการศึกษาและการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชน ทำให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะ การปลูกฝังจิตสำนึกในคุณค่าของคุณธรรมและความรัก การสื่อสารเพื่อ สร้างความเป็นหนึ่งเดียวขององค์กร (Oneness of organization) สามารถพัฒนาได้โดยการบริหารเชิงมนุษยสัมพันธ์ เพิ่มประสิทธิภาพและ ผลิตภาพ (productivity) ขององค์กร บนพื้นฐานความรัก ความสามัคคี และความสุขของบุคลากร แต่การสื่อสารเพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียว *** ราชบัณฑิตยสถาน โดยความร่วมมือจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ จัดรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ทางสถานี วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในช่วงข่าวภาคเช้า ˜. น. และข่าวภาคเที่ยง ๑๒. น. ทุกวัน เพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องและ เหมาะสม ทั้งด้านการพูด การอ่าน การเขียนและการร้องเพลง ตามโครงการรณรงค์ให้ “ปี ๒๕๕ เป็นปีภาษาไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕” *** ***พระบาทสมเด็จพระเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จ พระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ผู้มีคุณูปการต่องานวิชาการของ ราชบัณฑิตยสถานเป็นอย่างยิ่ง ในวันพุธที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๑๗.๐๐ น. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ***ขอแสดงความเสียใจที่ศาสตราจารย์ ดร.สิทธา พินิจภูวดล ภาคีสมาชิก สำนักศิลปกรรม ประเภทวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณคดีเปรียบ เทียบ ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรม ๓ คืน โดยราชบัณฑิตยสถานเป็นเจ้าภาพในการสวดพระอภิธรรม เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม สรÿ ป°ารบรรยายเสนอº≈ßานคâ นควâ า·≈–วิจัยขอßราชบัณฑิต·≈–ภาคีสมาชิ°ต่อที่ปร–ชÿ มส”นั° • •
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=