รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 94 การพัฒนากฎหมายเพื่อส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ไทยในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ดังที่ได้อธิบายไปแล้ว เพียงแต่ว่าในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยละเลยการส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ไทย เป็นอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ แม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทย การใช้ มาตรการในการส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ไทยมีได้หลายทาง ทางหนึ่งที่ผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์และ ไม่ต้องมีการลงทุนมากนักคือการใช้มาตรการทางกฎหมายต่าง ๆ ดังที่กล่าวไปแล้วเพื่อแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้นและเป็นการสร้างหนทางและบรรยากาศให้มีการนำ �เรือมาจดทะเบียนเป็นเรือไทยเพิ่มขึ้น โดย เฉพาะอย่างยิ่งเรือขนส่งน้ำ �มันที่ประเทศไทยเป็นผู้นำ �เข้าน้ำ �มันจำ �นวนมาก ทำ �ให้เห็นความเป็นไปได้ ในการส่งเสริมเรือบรรทุกน้ำ �มันให้มีปริมาณมากขึ้นด้วยการสร้างระบบการจดทะเบียนแบบใหม่ดัง ที่กล่าวไปแล้ว นอกจากนี้ แม้ประเทศไทยจะมีท่าเรือที่ทันสมัยทัดเทียมกับต่างประเทศ เช่น ท่าเรือ แหลมฉบัง แต่หากวันหนึ่งไม่มีเรือต่างชาติเดินทางเข้ามาขนส่งสินค้าในประเทศไทย ไม่ว่าด้วยสาเหตุ ทางการเมืองภายในประเทศ หรือสาเหตุทางการเมืองระหว่างประเทศ หรือด้วยเหตุอื่นใดก็ตาม เรือ ไทยที่เป็นแต่เรือลำ �เลียงและเรือที่แล่นตามแม่น้ำ �คงไม่สามารถขนส่งสินค้าเข้าหรือออกของไทยได้ ปัญหาย่อมเกิดแก่ประเทศไทย ดังนั้น การพัฒนาและส่งเสริมเรือไทยจึงยังมีความจำ �เป็นอยู่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=