รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 93 ไผทชิต เอกจริยกร ดังกล่าวน่าจะเข้ามาจอดแวะในประเทศไทย จะมีการทำ �ธุรกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับเรือมากขึ้น ไม่ว่าจะ เป็นการว่าจ้างเรือให้ทำ �การขนส่ง ค่าขนส่งจะตกได้แก่ผู้ชาร์เตอร์เรือที่เป็นผู้ประกอบการขนส่งของ ทางทะเลของไทย เงินก็จะตกได้แก่ประเทศไทย การใช้บริการท่าเรือในประเทศไทย ประเทศไทย จะได้รับค่านำ �เรือมาจดทะเบียนเป็นเรือไทย หรือเมื่อมีการนำ �เรือไทยไปจดทะเบียนในต่างประเทศ ตามสัญชาติของผู้ชาร์เตอร์เรือแบบเปล่า เมื่อมีการนำ �เรือกลับมาจดทะเบียนกลับเป็นเรือไทย ประเทศไทยก็จะได้ค่าจดทะเบียนขากลับมาเป็นเรือสัญชาติไทย มีการว่าจ้างคนไทยทำ �งานบนเรือ และบนบกมากขึ้น นอกจากนี้ ประเทศไทยจะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีกองเรือไทยเพิ่มมากขึ้นใน สายตาของต่างประเทศอันจะทำ �ให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับของประชาคมโลกมากขึ้น เมื่อมีการยอมรับว่าสมควรที่จะมีการยอมรับเรื่องการจดทะเบียนเรือชาร์เตอร์แบบเปล่าแล้ว หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการยินยอมให้มีการจดทะเบียนดังกล่าวจะเป็นอย่างไรนั้น การควบคุม ดูแลเรือในเรื่องความปลอดภัยของเรือ สภาพการทำ �งานของบุคคลกรประจำ �เรือ สิทธิและหน้าที่ต่อ ประเทศไทย และการสิ้นความเป็นเรือไทยเมื่อหมดระยะเวลาการชาร์เตอร์เรือแบบเปล่า จะเป็น อย่างไรเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาและกำ �หนดรายละเอียดกันต่อไป โดยอาจดูตัวอย่างจากหลักเกณฑ์ ของประเทศอื่น ๆ ที่มีการยอมรับให้มีการจดทะเบียนชาร์เตอร์เรือแบบเปล่า และข้อสำ �คัญที่ราย ละเอียดเฉพาะของหลักเกณฑ์ในกฎหมายไทยต้องมี คือ การยอมรับรู้ถึงการจำ �นองเรือที่ทำ �ไว้กับ ประเทศที่เจ้าของเรือจดทะเบียน บทสรุป แม้ว่าในปัจจุบันเริ่มมีความคิดที่เปลี่ยนไปในเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ของ ประเทศไทย จากเดิมที่ควรมีการขยายจำ �นวนเรือหรือการขยายความสามารถในการขนส่งสินค้าของ ประเทศไทย มาเป็นความคิดที่ให้มีการขนส่งอย่างสะดวกรวดเร็วเพื่อลดต้นทุนการขนส่งและต้นทุน ทางโลจิสติกส์ เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของประเทศไทย และการที่คิดว่าบริษัทหรือสาย การเดินเรือของประเทศไทยคงไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทหรือสายการเดินเรือของต่างประเทศได้ เพราะธุรกิจการเดินเรือได้เปลี่ยนแปลงไปมากเมื่อเทียบกับในอดีต โดยบริษัทหรือสายการเดินเรือ ต่างประเทศจะมีบริษัทลูกหรือบริษัทในเครือที่ให้บริการครบวงจร ไม่ใช่แต่การให้บริการขนส่งทาง ทะเลเท่านั้น เช่น การมีบริษัทรถหัวลาก (ICD) มีรถบรรทุกเป็นของตนเองกระจายไปยังสถานที่ ต่าง ๆ ในโลก การทำ �เช่นนี้ได้ต้องมีเงินลงทุนสูงมาก ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งของไทยคงทำ �ไม่ได้ แต่ การละเลยไม่สนใจในการพัฒนากองเรือไทยให้มีความสามารถในการขนส่งควบคู่กันไปด้วยไม่น่าจะ เป็นเรื่องที่ถูกต้อง เนื่องจากการมีกองเรือพาณิชย์เป็นของตนเองมีประโยชน์มากมายหลายประการ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=