รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 92 การพัฒนากฎหมายเพื่อส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ไทยในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในเรื่องการจดทะเบียนเรือสากล โดยไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายไทยที่อนุญาตให้มีการนำ � เรือที่ชาร์เตอร์แบบเปล่ามาจดทะเบียนเป็นเรือไทย ดังนั้นจึงมีคำ �ถามว่าประเทศไทยควรจะมีการ อนุญาตให้มีการนำ �เรือที่ชาร์เตอร์แบบเปล่ามาจดทะเบียนเป็นเรือไทยหรือไม่ และจะได้ประโยชน์ อะไรหากมีการแก้ไขกฎหมายไทยให้สามารถรับจดทะเบียนเรือที่ถูกชาร์เตอร์แบบเปล่า รวมทั้งการ อนุญาตให้เรือที่จดทะเบียนเป็นเรือไทยที่ถูกชาร์เตอร์แบบเปล่า อาจถูกนำ �ไปจดทะเบียนเรือเพื่อมี สัญชาติของประเทศที่ผู้ชาร์เตอร์เรือแบบเปล่ามีสัญชาติ ในการพิจารณาถึงประโยชน์ในการที่ประเทศไทยจะยอมรับและสร้างระบบให้มีการจด ทะเบียนเรือที่ชาร์เตอร์แบบเปล่านั้น จะต้องคำ �นึงถึงผลประโยชน์ของฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้ ๑) ผลประโยชน์ที่ผู้ส่งสินค้าจะได้รับจากการยอมรับให้มีการจดทะเบียนเรือชาร์เตอร์แบบ เปล่า คือ เมื่อมีเรือชักธงไทยในเส้นทางต่าง ๆ มากขึ้น ไม่ว่าในเส้นทางที่มีเรือไทยวิ่งให้บริการอยู่ แล้วเป็นประจำ � หรือในเส้นทางที่ไม่ค่อยจะมีเรือไทยให้บริการเช่นแถบทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ทวีป แอฟริกา ก็ทำ �ให้เกิดทางเลือกในการว่าจ้างผู้ขนส่งมากขึ้น มีความสามารถในการต่อรองเรื่องอัตรา ค่าบริการได้ ๒) ผลประโยชน์ของเจ้าของเรือไทยที่จะได้รับนั้น จะทำ �ให้เจ้าของเรือไทยสามารถชาร์เตอร์ เรือแบบเปล่าจากต่างประเทศโดยไม่ต้องซื้อเรือหรือจ้างต่อเรือซึ่งต้องมีการลงทุนสูงมากเพื่อจัดหา เรือและนำ �เรือมาจดทะเบียนเป็นเรือไทย อันจะทำ �ให้สามารถทำ �การค้าในน่านน้ำ �ไทยหรือขนส่ง สินค้าที่สงวนไว้ให้แก่เรือไทยได้ ๓) ผลประโยชน์ของผู้ชาร์เตอร์เรือแบบเปล่าที่นำ �เรือมาจดทะเบียนเป็นเรือไทย จะทำ �ให้ สามารถนำ �เรือมาทำ �การค้าในน่านน้ำ �ไทยได้ สามารถขนส่งสินค้าของทางราชการหรือของ รัฐวิสาหกิจที่สงวนไว้ให้แก่เรือไทยในเส้นทางที่มีเรือไทยให้บริการ และได้รับสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ดัง เช่นเจ้าของเรือไทย เช่น ประโยชน์ทางภาษี (หากมี) ๔) ผลประโยชน์แก่บุคลากรประจำ �เรือ การที่เรือดังกล่าวได้จดทะเบียนเป็นเรือไทยแล้ว ใน ระหว่างเวลาดังกล่าว เรือลำ �นั้นต้องใช้ลูกเรือที่เป็นบุคคลสัญชาติไทยตามที่พระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑ กำ �หนดไว้ในมาตรา ๕๐ ๕) ผลประโยชน์แก่ผู้รับประกันภัย อาจเป็นไปได้ว่าจะมีการนำ �ตัวเรือมาประกันภัยไว้ใน ประเทศไทยมากขึ้น แม้จะมีการนำ �ไปประกันภัยต่อในต่างประเทศอีกทอดหนึ่งก็ตาม แต่จะทำ �ให้ ผู้รับประกันภัยไทยมีรายได้มากขึ้น และจะทำ �ให้ธุรกิจประกันภัยเติบโตขึ้น ๖) ผลประโยชน์แก่ประเทศไทยอาจจะมีมากที่สุดเมื่อพิจารณาโดยรวม กล่าวคือ การที่ ประเทศไทยมีกองเรือพาณิชย์เพิ่มขึ้นจะทำ �มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น เพราะเรือลำ �
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=