รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 88 การพัฒนากฎหมายเพื่อส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ไทยในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ การชาร์เตอร์เรือ (charter) ๑๗ เป็นรูปแบบหนึ่งของการใช้ประโยชน์จากเรือในการขนส่ง ทางทะเล ซึ่งในทางปฏิบัติและในทางกฎหมายมีความแตกต่างไปจากการรับขนของทางทะเล ภายใต้สัญญารับขนของทางทะเล (contract of carriage of goods by sea) การชาร์เตอร์เรือแบ่งออกได้หลายประเภท แต่ประเภทใหญ่ ๆ ของการชาร์เตอร์เรือนั้น แบ่ง ออกได้เป็น ๓ ประเภท ได้แก่ การชาร์เตอร์เรือแบบรายเที่ยว การชาร์เตอร์เรือแบบตามกำ �หนด เวลา และการชาร์เตอร์เรือแบบเปล่า ความแตกต่างระหว่างการชาร์เตอร์เรือทั้ง ๓ ประเภทในหลัก ใหญ่อยู่ที่ว่า ในการชาร์เตอร์เรือแบบรายเที่ยวหรือแบบตามกำ �หนดเวลา ผู้ชาร์เตอร์เรือ (charterer) สามารถกำ �หนดให้เรือเดินทางไปยังที่ใดตามที่ตกลงกันหรือตามที่ต้องการได้ แต่เจ้าของเรือยังคง ครอบครองเรือผ่านทางนายเรือและลูกเรือที่ตนว่าจ้าง แต่ในการชาร์เตอร์เรือแบบเปล่านั้น เจ้าของ เรือส่งมอบการครอบครองเรือให้แก่ผู้ชาร์เตอร์เรือ และผู้ชาร์เตอร์เรือเป็นผู้ครอบครองเรือโดยเป็นผู้ ว่าจ้างนายเรือและลูกเรือ ในบางครั้งจึงมีการเรียกผู้ชาร์เตอร์เรือแบบนี้ว่าเป็น disponent owner ๑๘ เมื่อการชาร์เตอร์เรือแบบเปล่านี้มีการส่งมอบการครอบครองเรือให้แก่ผู้ชาร์เตอร์เรือ จึงเกิดการนำ � เรือที่ชาร์เตอร์แบบนี้ไปขอจดทะเบียนเป็นสัญชาติเดียวกับผู้ชาร์เตอร์เรือ การนำ �เรือที่ชาร์เตอร์แบบเปล่ามาจดทะเบียน คือ การอนุญาตชั่วคราวให้ผู้ชาร์เตอร์เรือ แบบเปล่านำ �เรือที่ชักธงของประเทศอื่นหรืออีกนัยหนึ่งเรือที่จดทะเบียนในประเทศที่ตนชาร์เตอร์ มาจดทะเบียนหรือชักธงของอีกประเทศหนึ่งที่เป็นประเทศของผู้ชาร์เตอร์เรือแบบเปล่า (bareboat charterer’s state หรือที่เรียกว่า flagging in states) ซึ่งระยะเวลาที่ยอมให้มีการนำ �เรือมาจด ทะเบียนนั้นมักจะจำ �กัดไว้ตามระยะเวลาของการชาร์เตอร์เรือ ๑๙ การจดทะเบียนเรือชาร์เตอร์แบบเปล่าเป็นที่ยอมรับกันในกฎหมายระหว่างประเทศ ดังที่ ปรากฏในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยบุริมสิทธิทางทะเลและการจำ �นองเรือ ค.ศ. ๑๙๙๓ และ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. ๑๙๘๒ ในการอนุญาตให้มีการจดทะเบียนเรือชาร์เตอร์แบบเปล่าได้นั้น โดยปรกติกฎหมายของ ประเทศเจ้าของเรือและกฎหมายของประเทศผู้ชาร์เตอร์เรือแบบเปล่าจะต้องมีบทบัญญัติที่รับรู้ถึง การจำ �นองเรือที่ได้ทำ �ขึ้นในประเทศเจ้าของเรือในระหว่างที่มีการจดทะเบียนเรือชาร์เตอร์แบบเปล่า ๑๗ การที่ผู้เขียนทับศัพท์คำ �นี้ เนื่องมาจากในสมัยก่อนมีการแปลว่า “เช่าเรือ” ทำ �ให้เมื่อมีคดีเกิดขึ้น ศาลฎีกาได้นำ �บทบัญญัติเรื่องเช่า ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ในขณะที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้ใช้คำ �ว่าสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือ ซึ่งทำ �ให้อาจเข้าใจผิดว่าเป็นสัญญาจ้างทำ �ของตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ เช่นกัน ๑๘ Bareboat charter, <http://en.wikipedia.org/wiki/Bareboat_charter > สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๖ ๑๙ Liberian registration, Question Listing for Vessel Bareboat Registration, <http://www.liscr.com/liscr/ Maritime /MaritimeFAQ/VesselBareboatRegistration/tabid/113/Default.aspx> สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๖
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=