รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 87 ไผทชิต เอกจริยกร จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่า ในต่างประเทศมีการจัดตั้งระบบการจดทะเบียน สากลที่เอื้อต่อการพัฒนากิจการพาณิชยนาวีมาเป็นเวลาช้านาน โดยประเทศเหล่านี้มีทั้งประเทศ กำ �ลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้ว เมื่อกลับมาพิจารณาถึงประเทศไทย จะพบว่าประเทศไทยมี ปัญหาเกี่ยวกับกองเรือพาณิชย์ไทยมาตลอดเวลา จึงมีคำ �ถามว่าทำ �ไมประเทศไทยจึงไม่มีการพัฒนา ระบบการจดทะเบียนเรือใหม่ ชื่อเสียงแต่เดิมของกองเรือไทยเกี่ยวกับสภาพเรือและเรื่องต่าง ๆ ก็ไม่ใช่จะว่าดี ทุกวันนี้ประเทศไทยต้องพึ่งพาเรือต่างชาติอยู่ การจัดให้มีระบบการจดทะเบียนเรือ ขึ้นมาใหม่ไม่น่าจะมีข้อเสียอะไร หากผู้ใดมีความประสงค์จะมาจดทะเบียนภายใต้ระบบนี้ก็สามารถ ทำ �ได้ โดยระบบการจดทะเบียนสากลนี้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขและมาตรฐานสากลที่ประเทศต่าง ๆ ยอมรับและกำ �หนด โดยเรือแต่ละลำ �ต้องมีความปลอดภัยในการเดินเรือ มีการทำ �งานบนเรือของลูก เรือที่ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม อนึ่ง แม้ระบบการจดทะเบียนเรือสากลจะมีการนำ �มาใช้ในต่างประเทศนานแล้วก็ตาม ความคิดที่จะนำ �ระบบการจดทะเบียนเรือระบบนี้มาใช้ในประเทศไทยแม้จะล่าช้าไปบ้างเพราะมี ความลังเลใจ หรือมีการให้เหตุผลต่าง ๆ ว่าไม่เหมาะสม และในที่สุดก็ไม่ทำ � เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย โอกาสของประเทศไทย การที่เจ้าของเรือไทยประสบปัญหาอื่นใดนอกจากปัญหาเรื่องระบบการ จดทะเบียน ผู้ที่รับผิดชอบก็ควรตามไปแก้ไข การที่มีข้อเท็จจริงว่าในประเทศไทยนี้ คนไทยไม่อยาก เข้ามาประกอบกิจการเดินเรือ ที่ยังทนทำ �กันอยู่ทุกวันนี้หากไม่ใช่เพราะบรรพบุรุษของตนเคยทำ �กัน มา ไม่ใช่นายทหารเรือเก่าที่เกษียณอายุ หรือเป็นเพราะมีเรือขนสินค้าของตนเองแล้วจึงขยายการให้ บริการทำ �ตนเองเป็นผู้ขนส่งสินค้าของผู้อื่น ผู้ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลของไทยคงจะหมด สิ้นไปนานแล้ว หากเป็นดังนี้จริง ผู้เขียนเห็นว่า ผู้ที่รับผิดชอบและเห็นความสำ �คัญของการมีกองเรือ ไทยและการพัฒนากองเรือไทยต้องหาทางส่งเสริมผู้ประกอบการสัญชาติไทยรายใหม่ ๆ และเปิดทาง ให้ต่างชาตินำ �เรือเข้ามาจดทะเบียนภายใต้ระบบเรือสากลของไทยที่หากจะจัดทำ �ขึ้นในอนาคต คน ไทยที่มีความสนใจในเรื่องนี้จะได้เรียนรู้ถึงการประกอบอาชีพในการเดินเรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก มีการกำ �หนดเงื่อนไขข้อหนึ่งในการนำ �เรือมาจดทะเบียนภายใต้ระบบนี้ว่า ต้องมีการตั้งผู้จัดการเรือ ที่เป็นคนไทยหรือนิติบุคคลไทย เงื่อนไขข้อนี้จะทำ �ให้เกิดการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ ๆ มีแนวคิดและ วิสัยทัศน์ใหม่ ๆ และเข้าสู่วงการการเดินเรือของไทยมากขึ้น นอกจากการสร้างระบบการจดทะเบียนเรือสากลในประเทศไทยแล้ว ยังมีระบบการ จดทะเบียนอีกระบบหนึ่งที่ประเทศไทยน่าจะทำ �เพื่อเพิ่มกองเรือพาณิชย์ของไทยเช่นกัน กล่าวคือ การสร้างระบบให้มีการนำ �เรือที่ชาร์เตอร์แบบเปล่ามาจดทะเบียนเป็นเรือไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=