รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 4 พระมหากษัตริย์กับประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ในสมัยประชาธิปไตย ให้รวมกันเป็นมณฑลไทรบุรี ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๔ กระทรวงมหาดไทยได้รวมหัวเมืองทั้งเจ็ด เข้าด้วยกันเรียกว่า บริเวณเจ็ดหัวเมือง ให้อยู่ภายใต้การปกครองของข้าหลวงซึ่งเรียกว่า ข้าหลวง บริเวณ ประจำ �อยู่ที่เมืองปัตตานี พร้อมกันนั้น รัฐบาลก็ได้ออกกฎข้อบังคับสำ �หรับปกครองบริเวณ นี้เพื่อกระชับอำ �นาจการปกครองให้รัดกุมยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาลไทยแต่งตั้งผู้ช่วย ราชการเมือง ปลัดเมือง ยกกระบัตรเมืองมาช่วยพระยาหัวเมืองเมืองมลายูในการปกครอง มีผู้พิพากษาตัดสินคดีความตามพระธรรมนูญศาลหัวเมือง ร.ศ. ๑๑๔ (พ.ศ. ๒๔๓๘) อย่างไรก็ดี รัฐบาลยังคงยอมรับอำ �นาจของผู้นำ �ทางศาสนาอิสลาม และเคารพต่อขนบธรรมเนียมที่เกี่ยวกับ การสืบตระกูลและการแต่งงานของชาวมุสลิม นอกจากนี้ หัวเมืองมลายูดังกล่าวไม่ต้องส่งเครื่อง ราชบรรณาการต่อกรุงเทพฯ อีกต่อไป แต่จะต้องถูกเรียกเก็บภาษีจากรัฐตามระเบียบของกระทรวง พระคลัง โดยพระยาเมืองมลายูและขุนนางจะได้รับเงินเบี้ยหวัดอย่างพอเพียงเป็นการตอบแทน ๘ กฎหมายที่รัฐใช้ในการปกครองบริเวณดังกล่าวเรียกว่า กฎข้อบังคับสำ �หรับปกครอง บริเวณเจ็ดหัวเมือง ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) ซึ่งตราขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดวางแบบแผน วิธีการปกครองและตำ �แหน่งหน้าที่ราชการของหัวเมืองทั้งเจ็ด ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยตาม สมควรแก่กาลสมัย และเพื่อให้เกิดความสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ทั่วไป ๙ ดังจะเห็นได้จากบท บัญญัติข้อ ๒๗ และข้อ ๒๘ กำ �หนดให้ข้าราชการที่จะไปประจำ �ทำ �งานในบริเวณหัวเมืองทั้งเจ็ด พูดภาษามลายูท้องถิ่นเพื่อให้เข้าถึงประชาชนในพื้นที่ ๑๐ นอกจากนี้ บทบัญญัติข้อ ๓๒ กำ �หนด ให้ใช้กฎหมายอิสลามตามจารีตประเพณีทางศาสนาในการพิจารณาพิพากษาคดีความเรื่อง ครอบครัวและมรดก โดยให้ “โต๊ะกาลีซึ่งเป็นผู้รู้และเป็นที่นับถือในศาสนาอิสลามเป็นผู้พิพากษา ตามกฎหมายอิสลาม” ๑๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำ �เนินไปยังเมืองปัตตานีเมื่อ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อสิ่งของพระราชทาน ประชาชนเมืองปัตตานีด้วย อย่างไรก็ดี แม้ว่าข้อกำ �หนดตามกฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้การปกครองเป็นไปด้วยความราบรื่นโดยยังเคารพต่อศาสนาและวัฒนธรรมอิสลาม แต่การ ที่รัฐบาลจากส่วนกลางส่งข้าราชการไปปกครองตามระบบเทศาภิบาล ก็ทำ �ให้ผู้นำ �ของหัวเมือง ทั้งเจ็ดไม่พอใจเพราะถูกลิดรอนอำ �นาจลงอย่างมาก จึงมีปฏิกิริยาต่อต้านนโยบายดังกล่าว ๘ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำ �รงราชานุภาพ, ประวัติเจ้าพระยายมราช . พระนคร : โรงพิมพ์บำ �รุงธรรม, ๒๔๘๒, หน้า ๘๗. ๙ กองประสานราชการ กรมการปกครอง, สิ่งที่น่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาค ใต้เอกสารประกอบการศึกษาอบรมภาษา มลายูแก่ข้าราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้. พระนคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, ๒๕๑๒, หน้า ๔๓. ๑๐ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕๐-๕๗. ๑๑ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕๑-๕๒.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=