รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 84 การพัฒนากฎหมายเพื่อส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ไทยในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เรือที่จดทะเบียนเรือแบบชักธงสะดวกนี้ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากประเทศ ต่าง ๆ และถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดจากประเทศเจ้าของท่าเรือที่เรือได้เข้าไปจอดแวะหรือจาก ประเทศชายฝั่งเกี่ยวกับความปลอดภัยของเรือ สภาพการทำ �งานบนเรือ และการป้องกันสิ่งแวดล้อม ยิ่งไปกว่านั้น หลังจากที่เรือ Amoco Cadiz ซึ่งชักธงของประเทศไลบีเรียจมลงใน ค.ศ. ๑๙๗๘ อุบัติเหตุดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก และเกิดการ จัดทำ �ความตกลงในการควบคุมตรวจสอบเรือขึ้นใหม่ โดยประเทศในยุโรปจำ �นวน ๑๔ ประเทศได้ลง นามใน “Paris Memorandum of Understanding on Port State Control” หรือที่เรียกอย่างย่อ ว่า Paris MOU ใน ค.ศ. ๑๙๘๒ ทำ �ให้เรือที่ทำ �การค้าระหว่างประเทศตกอยู่ภายใต้การตรวจสอบของ ประเทศเจ้าของท่าเรือที่เรือนั้นได้เข้าไปจอดแวะ การตรวจสอบดังกล่าวครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยว กับความปลอดภัยของชีวิตในทะเลและการป้องกันมลพิษจากเรือ และเมื่อพบปัญหาใดปัญหาหนึ่ง เกิดขึ้นจากความบกพร่องในเรื่องดังกล่าว ประเทศเจ้าของท่าเรือที่เรือเข้ามาจอดแวะอาจกักเรือหรือ หน่วงเหนี่ยวเรือไว้ได้จนกว่าจะจัดการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น โดยใน ค.ศ. ๒๐๐๘ ประเทศที่เป็นภาคี Paris MOU ได้ทำ �การตรวจสอบเรือจำ �นวน ๑๔,๓๒๒ ครั้ง และผลจากการตรวจสอบดังกล่าวทำ �ให้มี เรือถูกกักไว้ ๑,๒๒๐ ครั้ง นอกจากนี้ใน ค.ศ. ๒๐๐๙ ประเทศที่เป็นภาคี Tokyo Memorandum of Understanding ได้ตรวจสอบเรือจำ �นวน ๑๓,๒๙๘ ครั้ง และทำ �ให้มีการกักเรือจำ �นวน ๑,๓๓๖ ครั้ง เมื่อระบบการจดทะเบียนเรือแบบปิดที่กำ �หนดเงื่อนไขที่เข้มงวดต่าง ๆ และการจดทะเบียน เรือแบบเปิดหรือการจดทะเบียนแบบชักธงสะดวกต่างมีข้อดีและข้อเสีย จึงเกิดแนวความคิดในการ สร้างระบบการจดทะเบียนแบบใหม่ที่มีลักษณะเป็นการผสมผสานระบบการจดทะเบียนเรือทั้ง สองระบบดังกล่าว จนเกิดระบบการจดทะเบียนเรือที่เรียกว่า ระบบการจดทะเบียนเรือสากล (international registry) โดยรูปแบบและหลักเกณฑ์ในรายละเอียดอาจมีเงื่อนไขการจดทะเบียน และการกำ �หนดสิทธิและหน้าที่ของเรือที่จดทะเบียนภายใต้ระบบนี้ที่อาจไม่เหมือนกันในทุกประเทศ เช่น ก. ระบบการจดทะเบียนสากลของประเทศนอร์เวย์หรือเอ็นไอเอสอาร์ (Norwegian International Ship Register–NISR) ๑๓ ระบบการจดทะเบียนเรือสากลของประเทศนอร์เวย์ได้ถูกกำ �หนดขึ้นใน ค.ศ.๑๙๘๗ โดยมี การออกกฎหมายชื่อว่า Act of 12 June 1987 No.48 relating to a Norwegian International Register ซึ่งอธิบายว่า นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ระบบการจดทะเบียนรูปแบบนี้ได้ทำ �ให้อุตสาหกรรม ๑๓ The Norwegian International Ship Register, <http://www.nis-nor.no/upload/nis_brosjyre.pdf > สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๖
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=