รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 83 ไผทชิต เอกจริยกร ของเรือ ขนาดและระวางบรรทุก และชื่อเจ้าของเรือ นอกจากนี้การจดทะเบียนเรือทำ �ให้เรือได้ รับสัญชาติ ในด้านกฎหมายระหว่างประเทศนั้น เรือพาณิชย์ทุกลำ �ต้องจดทะเบียนในประเทศใด ประเทศหนึ่งซึ่งจะเป็นประเทศที่เรือนั้นชักธง (flag state) และทำ �ให้เรือลำ �นั้นมีความผูกพันกับ ประเทศดังกล่าว โดยประเทศนั้นจะเป็นผู้ควบคุมความปลอดภัยของเรือ การทำ �งานของลูกเรือบน เรือ การป้องกันสิ่งแวดล้อม และเป็นผู้ออกเอกสารต่าง ๆ ที่จำ �เป็นสำ �หรับเรือ สำ �หรับรูปแบบของการจดทะเบียนเรือนั้น หากประเทศใดรับจดทะเบียนเรือเฉพาะเรือที่ เป็นเรือของคนชาติตนจะเรียกว่าประเทศนั้นมีระบบการจดทะเบียนเรือแบบปิด (traditional หรือ national registry) แต่หากประเทศนั้น ๆ ยอมรับจดทะเบียนเรือที่เป็นของคนต่างชาติ จะเรียกว่า ประเทศนั้นมีระบบการจดทะเบียนแบบเปิด (open registry) ซึ่งถูกจัดไว้เป็นประเภทเดียวกับเรือชัก ธงสะดวก (flags of convenience) การจดทะเบียนเรือแบบปิด มักจะมีข้อกำ �หนดให้เจ้าของเรือต้องใช้ลูกเรือทั้งหมดหรือบาง ส่วนเป็นคนสัญชาติเดียวกับสัญชาติของเรือลำ �ดังกล่าว การที่เจ้าของเรือนำ �เรือไปจดทะเบียนที่ประเทศอื่นที่รับจดทะเบียนเรือแบบเปิดหรือเรือ ชักธงสะดวกนั้น ก็ด้วยวัตถุประสงค์ในการลดต้นทุนจากการประกอบการและหลีกเลี่ยงกฎข้อบังคับ ของประเทศเจ้าของเรือ การหลีกเลี่ยงภาษี การหลีกเลี่ยงการต้องใช้คนเรือที่เป็นของชาติตนที่มีอัตรา ค่าจ้างสูง การหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการจ้างงานที่เข้มงวด ซึ่งหากนำ �เรือไปจดทะเบียนแบบนี้ โดยรวมแล้วค่าใช้จ่ายของเจ้าของเรือจะลดลงไปมาก เช่น ใน ค.ศ. ๑๙๙๙ บริษัท ซีแลนด์ จำ �กัด นำ � เรือจำ �นวน ๒๘ ลำ �จากกองเรือทั้งหมดของตนจำ �นวน ๖๓ ลำ � ไปจดทะเบียนเรือที่ต่างประเทศ ทำ �ให้ บริษัท ซีแลนด์ จำ �กัด ลดค่าใช้จ่ายลงต่อลำ �ได้ ๓.๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี การนำ �เรือไปจดทะเบียนที่ประเทศอื่นในรูปแบบที่กล่าวมานี้เริ่มเกิดขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๒๐ ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อบรรดาเจ้าของเรือไม่พอใจที่มีการเพิ่มกฎข้อบังคับต่าง ๆ รวมทั้งการเพิ่มค่าจ้าง จึงนำ �เรือของตนไปจดทะเบียนที่ประเทศปานามา และต่อมาได้มีการนำ �เรือไปจดทะเบียนในรูป แบบนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนใน ค.ศ. ๑๙๘๖ ประเทศไลบีเรียได้กลายเป็นประเทศที่มีจำ �นวนเรือมา จดทะเบียนมากกว่าประเทศอังกฤษ และใน ค.ศ. ๒๐๐๙ ประมาณครึ่งหนึ่งของกองเรือพาณิชย์ ของโลกได้ถูกจดทะเบียนเรือแบบเปิด โดยร้อยละ ๔๐ ของระวางบรรทุกที่เรียกว่า deadweight tonnage จะจดทะเบียนในประเทศปานามา ไลบีเรีย และหมู่เกาะมาร์แชลล์ (Marshall Islands) ๑๒ ๑๒ Flag of convenience, <http://en.wikipedia.org/wiki/Flag_of_convenience >. สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๖

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=