รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 82 การพัฒนากฎหมายเพื่อส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ไทยในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ๔.๔) บริษัทมหาชนจำ �กัดที่กรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งมีสัญชาติไทยและหุ้นอันเป็นทุน ชำ �ระแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบเป็นของบุคคลซึ่งมิใช่คนต่างด้าว ข. เรือที่ใช้ประกอบการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศโดยเฉพาะและไม่ทำ �การค้า ในน่านน้ำ �ไทย ผู้ที่จะถือกรรมสิทธิ์เรือจดทะเบียนเป็นเรือไทยซึ่งใช้ประกอบการขนส่งทางทะเลระหว่าง ประเทศโดยเฉพาะ และไม่ทำ �การค้าในน่านน้ำ �ไทยตามมาตรา ๔๗ ต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตาม กฎหมายไทยซึ่งกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งมีสัญชาติไทย และมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตาม มาตรา ๗ ทวิ ดังต่อไปนี้ กล่าวคือ เป็นบริษัทจำ �กัดที่หุ้นอันเป็นทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ห้าสิบเอ็ดเป็นของบุคคลซึ่งมิใช่คนต่างด้าว และไม่มีข้อบังคับอนุญาตให้ออกใบหุ้นชนิดออกให้แก่ ผู้ถือ หรือ เป็นบริษัทมหาชนจำ �กัดที่หุ้นอันเป็นทุนชำ �ระแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดเป็นของ บุคคลซึ่งมิใช่คนต่างด้าว จากหลักเกณฑ์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าระบบการจดทะเบียนเรือไทยตามพระราชบัญญัติเรือ ไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑ เป็นระบบการจดทะเบียนแบบปิดที่เน้นให้ผู้ที่จะถือกรรมสิทธิ์เรือไทยได้ ต้องเป็นของคนไทยหรือเป็นนิติบุคคลที่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นส่วนมากเป็นของคนไทย แต่แม้จะมีการแก้ไขหลักเกณฑ์ของกฎหมายแล้วก็ตาม ความเข้มงวดดังกล่าวประกอบกับ ปัญหาอื่น ๆ ที่มีอยู่ยังคงเป็นอุปสรรคในการพัฒนากองเรือและขีดความสามารถของเรือพาณิชย์ไทย เรื่อยมาเป็นระยะเวลานานนับสิบ ๆ ปีจนถึงทุกวันนี้ กองเรือพาณิชย์ไทยไม่เติบโตเท่าที่ควรและบาง ครั้งรู้สึกว่าจะถดถอยลงโดยปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการนำ �เรือไทยที่เจ้าของที่แท้จริงเป็นคนไทยไป จดทะเบียนที่ประเทศอื่นแทน ปัญหาในเรื่องนี้คงต้องมีการแก้ไขในหลายด้าน ไม่จำ �เพาะแต่การแก้ไขปัญหาเพียงด้านใด ด้านหนึ่งแล้วจะทำ �ให้ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนากองเรือพาณิชย์ไทยหมดไป แต่หนทาง ประการหนึ่งที่มีการคิดและเสนอแนะกันมาเป็นเวลานานแล้วคือ การสร้างหลักเกณฑ์ใหม่ที่เอื้อ อำ �นวยต่อการนำ �เรือมาจดทะเบียนเป็นเรือไทย ๑๑ โดยเปิดโอกาสให้มีการนำ �เรือมาจดทะเบียนเป็น เรือไทยได้ง่ายขึ้นภายใต้ระบบการจดทะเบียนเรือแบบสากล ในต่างประเทศมีการอธิบายว่า การจดทะเบียนเรือทำ �ให้เรือลำ �นั้นได้รับเอกสารที่เรียกว่า ใบ ทะเบียนเรือ ซึ่งในใบทะเบียนเรือนี้จะระบุรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับเรือ เช่น ชื่อเรือ เมืองท่าจดทะเบียน ๑๑ ดู ประเสริฐศิริ สุขะวัฒนกุล, “การจัดตั้งระบบทะเบียนเรือสากลและแนวทางที่เสนอในการจัดทำ �ร่างกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนเรือ สากลของประเทศไทย,” ว ารสารการพาณิชยนาวี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑ (เมษายน ๒๕๔๑) : ๖๕-๘๐. และมณี รัศมีเทศ, “สรุปผลการศึกษา การนำ �เรือที่จดทะเบียนในต่างประเทศกลับมาชักธงไทย”, วารสารการพาณิชยนาวี ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๑ (เมษายน ๒๕๔๓) : ๑-๒๕.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=