รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 80 การพัฒนากฎหมายเพื่อส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ไทยในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประการที่ ๕ การมีกองเรือพาณิชย์เป็นของตนเองจะเป็นการช่วยสนับสนุนความมั่นคงของ ประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามสงคราม อาจมีการเกณฑ์เรือพาณิชย์ไทยมาดัดแปลงเป็นเรือรบ หรือเรือช่วยรบได้ หากประเทศไทยเห็นว่าการมีกองเรือพาณิชย์ของตนเองและมีจำ �นวนเรือหรือกองเรือที่มี ความสามารถในการขนส่งเพิ่มขึ้นจากเดิม จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทย การพัฒนากองเรือ พาณิชย์ไทยนั้นอาจทำ �ได้หลายวิธี เช่น ๑. การหาแหล่งเงินกู้ให้แก่เจ้าของเรือ โดยให้เงินกู้มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ � และมีระยะเวลาในการ ชำ �ระหนี้คืนยาวเพื่อให้คนไทยหรือนิติบุคคลไทยสามารถเป็นเจ้าของเรือได้ง่ายขึ้น ๒. การช่วยเหลือบริษัทเรือไทยในการจัดหาเรือใหม่ โดยรัฐออกเงินช่วยเหลือเป็นค่าต่อเรือใหม่ การช่วยค่าภาระดอกเบี้ยกู้ยืมเงินในการซื้อเรือใหม่ ๓. การใช้มาตรการทางภาษีชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีศุลกากรในการซื้อเรือ เพื่อช่วยเหลือเรือไทยและบริษัทเรือไทย เพื่อเป็นการลดต้นทุน ให้บริษัทอยู่รอดและมีผลกำ �ไรไป ลงทุนขยายกิจการเพิ่มขึ้น ๔. การจูงใจคนในชาติให้ใช้บริการเรือพาณิชย์ของไทย จูงใจให้ผู้ส่งออกสินค้าหรือผู้นำ �สินค้า ใช้เรือไทยในการขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ หรือจากต่างประเทศมายังประเทศไทย โดยพยายามให้ ใช้เงื่อนไขในการซื้อขายระหว่างประเทศหรือที่เรียกกันว่า INCOTERMS ที่กำ �หนดให้ผู้ส่งออกหรือนำ � เข้าสินค้าจากประเทศไทยทำ �ความตกลงให้ฝ่ายไทยเป็นผู้จัดหาเรือในการขนส่ง อันจะทำ �ให้ฝ่ายไทย สามารถใช้เรือไทยมากขึ้น ๕. การแก้ไขกฎหมายหรือการตรากฎหมายเพื่อส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ไทย กฎหมายพาณิชยนาวีของประเทศไทยในบางเรื่องก่อให้เกิดอุปสรรคแก่ผู้ประกอบการที่เป็น เจ้าของเรือ โดยหลักเกณฑ์ของกฎหมายได้สร้างขั้นตอนและภาระตลอดจนค่าใช้จ่ายแก่ผู้ประกอบ การเรือไทย กฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการนำ �เรือมาจดทะเบียนเป็นเรือไทย การปรับปรุงกฎหมายเก่าที่ไม่ทันสมัยและไม่เหมาะสม ทั้งในด้านสาระสำ �คัญ ความครบถ้วน ความสอดคล้องระหว่างบทบัญญัติต่าง ๆ ในพระราชบัญญัติ และการใช้ภาษาที่เก่า เช่น การปรับปรุง พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำ �ไทย พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ และพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการเรือไทยสามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม การพัฒนากฎหมายพาณิชยนาวีให้ครบ เช่น การร่างกฎหมายและการผลักดันกฎหมายเกี่ยว กับการจำ �กัดความรับผิดทั่วไปของเจ้าของเรือเดินทะเล ทั้งนี้เพื่อให้เจ้าของเรือสามารถจำ �กัดความ รับผิดของตนได้ อันเป็นหลักสากลที่ประเทศต่าง ๆ ให้การยอมรับและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=