รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 79 ไผทชิต เอกจริยกร ชาติ แต่เรื่องดังกล่าวไม่ประสบผลสำ �เร็จ และกลายเป็นที่มาของการต้องยกเลิกบริษัทไทยเดินเรือ ทะเล จำ �กัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคมในที่สุด ต่อมาได้เกิดแนวความคิดใหม่ซึ่งยังไม่ได้เป็นนโยบายของรัฐบาลอย่างเด่นชัดว่า ประเทศไทย ไม่จำ �เป็นต้องส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ของไทยให้เพียงพอในการขนส่งสินค้าและสินค้าออกของ ประเทศไทยต่อไป จะใช้เรือต่างชาติก็ได้ แต่ควรที่จะส่งเสริมให้การขนส่งสินค้าและสินค้าออกมี ประสิทธิภาพ ให้มีการแข่งขันกันมากที่สุดเพื่อลดต้นทุนค่าขนส่งอันเป็นการลดต้นทุนของราคาสินค้า ที่นำ �เข้าและส่งออก เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศของไทย ประเด็นดัง กล่าวมานี้เป็นเรื่องที่น่านำ �มาพิจารณาอย่างรอบคอบและเปิดมุมมองให้กว้าง เมื่อกลับไปทบทวนถึงความสำ �คัญของการมีกองเรือพาณิชย์ของประเทศไทยที่ได้เคยมีการ กล่าวถึงกันมาหลายปีแล้ว จะพบว่าการที่ประเทศไทยมีกองเรือพาณิชย์ของตนเองและมีจำ �นวนเรือ หรือกองเรือที่มีความสามารถในการขนส่งเพิ่มขึ้นจากเดิม จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทย หลายประการดังต่อไปนี้ คือ ประการแรก การที่มีเรือพาณิชย์ไทยเพิ่มขึ้น จะทำ �ให้ประเทศไทยสามารถสงวนเงินตรา ของประเทศ ซึ่งแต่เดิมจะต้องเสียให้แก่เรือต่างชาติในรูปค่าระวางเรือ นอกจากจะช่วยประหยัดเงิน ตราให้แก่ประเทศไทยแล้ว ยังช่วยรักษาดุลการค้าระหว่างประเทศของประเทศไทยในด้านค่าบริการ ด้วย ประการที่ ๒ การที่มีเรือพาณิชย์ไทยเพิ่มขึ้น นอกจากจะทำ �ให้ประเทศไทยสามารถสงวนเงิน ตราแล้ว การมีเรือพาณิชย์ไทยจะนำ �มาซึ่งรายได้ในด้านค่าบริการให้แก่ประเทศ หากมีการนำ �เรือ พาณิชย์ไทยไปดำ �เนินการรับขนส่งสินค้าของประเทศอื่น ๆ มากขึ้น ประการที่ ๓ การมีเรือพาณิชย์ไทยเพิ่มขึ้นจะช่วยให้เกิดการจ้างแรงงานคนไทยเพิ่มขึ้นทั้ง คนงานบนเรือไม่ว่าจะเป็นตำ �แหน่ง นายเรือ ต้นหน ต้นกล และบุคลากรประจำ �เรือ ตลอดจนคน ทำ �งานบนบก เนื่องจากเมื่อมีเรือ เจ้าของต้องมีสถานประกอบการอยู่บนบก และจะต้องมีการว่าจ้าง พนักงาน คนงานให้ทำ �งาน ประสานงานกับคนที่ทำ �งานในเรือ ประสานงานกับผู้ส่งสินค้าและผู้รับ สินค้า ตลอดจนบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกเป็นจำ �นวนมาก ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือภาค เอกชน ประการที่ ๔ การที่ประเทศไทยมีเรือของตนเองและมีจำ �นวนเพิ่มขึ้น จะทำ �ให้เกิดความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจแก่ประเทศไทย เพราะมีเรือขนส่งสินค้าของตนเอง และไม่ต้องพึ่งเรือต่างชาติ ที่อาจ จะเรียกค่าระวางเรือหรือค่าใช้จ่ายสูงโดยผู้ส่งสินค้าไม่สามารถต่อรองได้ ทำ �ให้เกิดต้นทุนของสินค้า ที่สูงขึ้น หรือไม่ยอมขนส่งสินค้าของไทยในบางสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่อาจเกิด ขึ้นได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=