รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 78 การพัฒนากฎหมายเพื่อส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ไทยในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ๖. ประเทศกัมพูชา กองเรือพาณิชย์ของประเทศกัมพูชาอยู่ในลำ �ดับที่ ๓๓ ของกองเรือโลก มี จำ �นวนเรือที่เป็นเจ้าของ ๑๕๙ ลำ � จดทะเบียนที่ประเทศตนเอง ๑๕๙ ลำ � ไม่มีเรือที่จดทะเบียนที่ต่าง ประเทศ มีเรือต่างชาติที่มาจดทะเบียน ๔๖๗ ลำ � เช่น จากประเทศจีน รัสเซีย ตุรกี เกาหลีใต้ (รวม ๖๒๖ ลำ �) นอกจากนี้ จากข้อมูลเกี่ยวกับจำ �นวนเรือไทยใน พ.ศ. ๒๕๕๓ พบว่าตัวเลขของจำ �นวนกอง เรือพาณิชย์ของประเทศไทยแตกต่างไปจาก พ.ศ. ๒๕๕๑ ๗ โดยประเทศไทยมีเรือเดินทะเลที่เป็นเรือ พาณิชย์ ขนาดตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ตันกรอส (GRT) ขึ้นไป ทั้งหมด ๓๖๓ ลำ � รวม ๑,๘๓๔,๘๐๙ ตันกรอส (GRT) หรือ ๒,๙๔๙,๕๕๘ เดดเวตตัน (metric tons deadweight-DWT) โดยเป็นเรือสินค้าเทกอง จำ �นวน ๓๑ ลำ � เรือขนส่งสินค้า ๙๙ ลำ � เรือขนส่งสารเคมี ๒๘ ลำ � เรือคอนเทนเนอร์ ๑๘ ลำ � เรือ บรรทุกก๊าซเหลว ๓๖ ลำ � เรือโดยสาร ๑ ลำ � เรือโดยสารและสินค้า (passenger/cargo) ๑๐ ลำ � เรือ บรรทุกน้ำ �มัน ๑๑๔ ลำ � เรือบรรทุกของแช่เย็น ๒๔ ลำ � เรือบรรทุกรถยนต์ (roll-on/roll-off) ๑ ลำ � และเรือบรรทุกผู้โดยสารพร้อมยานพาหนะ (vehicle passenger) ๑ ลำ � ๘ จากข้อมูลข้างต้น เป็นที่น่าสังเกตว่า ประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทยประเทศหนึ่งที่เคย ประสบปัญหาสงครามทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ แต่หลังสงครามเหล่านั้นได้สงบลงมา เพียงระยะเวลาไม่กี่ปี กลับมีการส่งเสริมและมีการพัฒนากองเรือพาณิชย์ของประเทศดังกล่าวอย่าง รวดเร็ว ๙ แสดงให้เห็นว่า การมีกองเรือพาณิชย์ที่ชักธงของประเทศตนเองมีความสำ �คัญ ประเทศไทยนั้น ที่ผ่านมาได้มีความคิดในการส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ของไทยมาตลอด โดย พยายามมีมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมา ไม่ว่าจะเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้จากค่าขนส่ง การยกเว้นภาษี ในการขายเรือเก่าเพื่อซื้อเรือใหม่ การให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ �เพื่อให้เจ้าของเรือกู้ซื้อเรือใหม่ การกำ �หนด ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่นำ �สินค้าเข้าจากต่างประเทศในเส้นทางที่มีเรือไทยให้บริการต้อง ใช้เรือไทย มิฉะนั้นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจดังกล่าวจะต้องเสียค่าปรับ ซึ่งก่อให้เกิดภาระในการ จัดหางบประมาณในส่วนดังกล่าว แม้กระทั่งในท้ายที่สุดได้มีแนวคิดในการจัดตั้งสายการเดินเรือแห่ง ๗ อาจเป็นเพราะการเก็บตัวเลขจากขนาดของเรือที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะตัวเลขของกองเรือพาณิชย์ของประเทศไทยเก็บจากเรือที่มี ขนาด ๑,๐๐๐ตันกรอส ขึ้นไป ๘ Transport in Thailand <http://en.wikipedia.org/wiki/Transport_in_Thailand > สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ๙ แม้ว่าจะมีข้อสังเกตในเรื่องการควบคุมความปลอดภัยของเรือและสภาพการทำ �งานบนเรือของลูกเรือ ว่าเรือที่จดทะเบียนในประเทศ ดังกล่าวเป็นเรือจดทะเบียนแบบเปิดหรือเรือชักธงสะดวก (flag of convenient) ก็ตาม แต่ในปัจจุบันเรือเหล่านี้ไม่ใช่ไม่มีมาตรฐาน เกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวมาแล้วเหมือนที่ผ่านมาประมาณ ๑๐-๒๐ ปี เนื่องจากเมื่อเรือเหล่านี้เดินทางเข้าออกประเทศต่าง ๆ ประเทศเหล่า นั้นจะตรวจตราเรื่องความปลอดภัย ทำ �ให้เรือเหล่านี้ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในเรื่องความปลอดภัยสูงกว่าแต่ก่อน โดยใช้หลัก port state control
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=