รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 76 การพัฒนากฎหมายเพื่อส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ไทยในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในแต่ละปีประเทศไทยมีการนำ �เข้าและส่งออกสินค้าโดยใช้การขนส่งทางทะเลมากกว่าการ ขนส่งทางอื่น เนื่องจากการขนส่งทางทะเลมีต้นทุนการขนส่งถูกกว่า การขนส่งทางทะเลจึงมีความ สำ �คัญต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก และรัฐบาลที่ผ่านมาได้มีความพยายามที่จะส่งเสริมและสนับสนุน กิจการขนส่งทางทะเลและกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ได้มีการสร้างและปรับปรุงท่าเรือกรุงเทพ และ ต่อมาได้มีการสร้างท่าเรือในบริเวณอื่นเช่น ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือสงขลา และท่าเรือระนอง นอกจากนี้ รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะส่งเสริมกองเรือไทย การส่งเสริมอู่ต่อเรือ การพัฒนา บุคลากรเพื่อทำ �งานทั้งบนเรือและบนบก โดยใน พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริม การพาณิชยนาวี และสำ �นักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีขึ้น เพื่อเข้ามาดูแลและ ส่งเสริมกิจการพาณิชยนาวีของประเทศโดยตรง อย่างไรก็ดี จวบจนทุกวันนี้ปัญหาและอุปสรรคทางด้านกิจการพาณิชยนาวีของประเทศยังมี อยู่มาก แม้ว่าบางส่วนจะได้รับการแก้ไขไปบ้าง แต่อีกหลายส่วนยังคงเป็นปัญหาอยู่ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งการส่งเสริมให้กองเรือพาณิชย์ของประเทศไทยมีศักยภาพในการขนส่งสินค้าเข้าและสินค้าออก ของประเทศไทยมากขึ้น ข้อเท็จจริงที่ผ่านมาเกือบ ๓๐ ปี ประเทศไทยมีเรือเดินทะเลที่เป็นเรือพาณิชย์ไม่มากเมื่อ เปรียบเทียบกับปริมาณของสินค้าเข้าและสินค้าออกของประเทศไทย และเรือไทยมีส่วนแบ่งในการ ขนส่งสินค้าดังกล่าวเพียงประมาณร้อยละ ๑๐ ส่วนเรือต่างชาติมีส่วนแบ่งในการขนส่งร้อยละ ๙๐ สภาพดังกล่าวเป็นเช่นนี้มาเป็นเวลานานไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณของสินค้า เข้าและสินค้าออกของประเทศไทยที่เพิ่มขึ้น ทำ �ให้ในแต่ละปี ประเทศไทยต้องสูญเสียเงินตรา ระหว่างประเทศในรูปของค่าระวางเรือไปให้แก่กองเรือต่างชาติเป็นจำ �นวนมาก สาเหตุที่ทำ �ให้ประเทศไทยมีกองเรือพาณิชย์ไม่มากนักมีหลายประการ เช่น การที่ ประเทศไทยไม่มีอู่ต่อเรือเดินทะเลขนาดใหญ่ เรือที่ต่อใหม่ต้องสั่งต่อจากอู่ต่อเรือในต่างประเทศ ซึ่ง ค่าจ้างในการต่อเรือย่อมสูงกว่าการต่อเรือในประเทศไทย อุปสรรค ขั้นตอน และระยะเวลาในการจด ทะเบียนเรือไทยและการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายไทยในเรื่องต่าง ๆ การที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ เรือไทยได้นำ �เรือไทยไปจดทะเบียนที่ต่างประเทศทั้ง ๆ ที่ควรจดทะเบียนเรือเหล่านั้นในประเทศไทย จากข้อมูลที่สามารถหาได้ ๕ เมื่อเปรียบเทียบกองเรือพาณิชย์ของประเทศไทยกับกองเรือโลก และประเทศเพื่อนบ้าน พบว่า ใน พ.ศ. ๒๕๕๑ กองเรือพาณิชย์ของประเทศไทยอยู่ในลำ �ดับที่ ๒๑ ๕ ในช่วงที่สำ �นักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวียังไม่ได้ถูกยุบรวมกับกรมเจ้าท่า สำ �นักงานคณะกรรมการส่งเสริมการ พาณิชยนาวีจะมีการจัดเก็บสถิติของจำ �นวนเรือไทยและพิมพ์เผยแพร่เป็นระยะ แต่หลังจากที่มีการยุบรวมแล้ว การหาข้อมูลสถิติ จำ �นวนเรือไทยที่ถูกต้องเป็นเรื่องที่ทำ �ได้ยากมากขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=