รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 75 ไผทชิต เอกจริยกร การพัฒนากฎหมายเพื่อส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ไทย ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ๑ ๑ บรรยายในการประชุมสำ �นักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน วันพุธที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ๒ ภาคีสมาชิก สำ �นักธรรมศาสตร์และการเมือง ๓ เนื่องจากในบทความนี้มีการกล่าวถึงประเทศต่าง ๆ จำ �นวนมากรวมทั้งประเทศไทย แม้ว่าควรใช้ว่าราชอาณาจักรไทย แต่เพื่อความ สะดวกในเขียนบทความจึงขอใช้อย่างย่อว่า ประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น ๔ ขุนวิจิตรมาตรา, ประวัติการค้าไทย , (พระนคร : โรงพิมพ์บรรณาคม, ๒๕๑๔), หน้า ๓๓. ไผทชิต เอกจริยกร ๒ บทคัดย่อ แม้ว่าในปัจจุบันเริ่มมีความคิดที่เปลี่ยนไปในเรื่องเกี่ยวกับการส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ ของประเทศไทย จากเดิมที่ควรมีการขยายจำ �นวนเรือหรือการขยายความสามารถในการขนส่งสินค้า ของประเทศไทย มาเป็นความคิดที่ให้มีการขนส่งอย่างสะดวกรวดเร็วเพื่อลดต้นทุนการขนส่งและ ต้นทุนทางโลจิสติกส์เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของประเทศไทย และการที่คิดว่าบริษัทหรือ สายการเดินเรือของประเทศไทยคงไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทหรือสายการเดินเรือของต่างประเทศ ได้ แต่การละเลยไม่สนใจในการพัฒนากองเรือไทยให้มีความสามารถในการขนส่งควบคู่กันไปด้วย เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากการมีกองเรือพาณิชย์เป็นของตนเองมีประโยชน์มากมายหลาย ประการ เพียงแต่ว่าในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยละเลยการส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ไทยเป็นอย่าง มากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ การใช้มาตรการในการส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ไทยมีได้หลาย ทาง ทางหนึ่งที่มีประโยชน์และไม่ต้องมีการลงทุนมากคือการใช้มาตรการทางกฎหมายต่าง ๆ เพื่อ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและเป็นการสร้างหนทางและบรรยากาศให้มีการนำ �เรือมาจดทะเบียนเป็นเรือ ไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือขนส่งน้ำ �มันที่ประเทศไทยเป็นผู้นำ �เข้าน้ำ �มันจำ �นวนมาก ทำ �ให้ เห็นความเป็นไปได้ในการส่งเสริมเรือบรรทุกน้ำ �มันให้มีปริมาณมากขึ้นด้วยการสร้างระบบการจด ทะเบียนแบบใหม่ คำ �สำ �คัญ : กองเรือพาณิชย์, ส่งเสริมพาณิชยนาวี, เรือไทย, ชาร์เตอร์เรือ, จดทะเบียนเรือสากล ประเทศไทย ๓ ได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมาเป็นเวลาช้านานแล้ว ซึ่งตามประวัติ ศาสตร์มีหลักฐานว่าประเทศไทยมีการค้าขายกับประเทศจีนมาตั้งแต่ในสมัยกรุงสุโขทัย นอกจากนี้ ยังมีการค้าขายกับชวา สุมาตรา ฟิลิปปินส์ เกาหลี ญี่ปุ่น และอินเดีย เป็นต้น ๔ และมีการค้าขายทาง ทะเลกับต่างประเทศเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=