รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 3 ปิยนาถ บุนนาค เป็นพระยา ได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากกรุงเทพฯ ๓ นโยบายดังกล่าวนี้เรียกว่า นโยบายแบ่งแยก และปกครอง ๔ ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการก่อกบฏหลายครั้งของเจ้าเมืองปัตตานีตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๓๒ เป็นต้นมา ในรัชกาลที่ ๓ เมืองไทรบุรีก็ได้ก่อความยุ่งยากให้แก่ฝ่ายไทยเช่นเดียวกับเมืองปัตตานี ไทย จึงใช้นโยบายแบ่งแยกและปกครองกับเมืองไทรบุรีด้วยโดยแบ่งเมืองไทรบุรีออกเป็น ๔ หัวเมืองคือ เมืองปะลิส สตูล ไทรบุรีและกะบังปารู ๕ แต่ละเมืองต่างเป็นอิสระต่อกันเจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็น พระยาโดยได้รับการสนับสนุนขึ้นตรงกับเมืองนครศรีธรรมราช การแบ่งเมืองปัตตานีและไทรบุรีออกเป็นเมืองเล็ก ๆ ดังกล่าว ย่อมส่งผลให้หัวเมืองมลายู อ่อนแอลง ต้องหันมา “พึ่ง” กรุงเทพฯ มากขึ้น ประกอบกับการที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า- อยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงใช้นโยบายผ่อนปรนต่อหัวเมืองดังกล่าวโดยเฉพาะเมืองไทรบุรี ก็ส่งผลให้ หัวเมืองมลายูไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางการเมืองขึ้นในระหว่างนั้น แม้ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ ไทยก็ยังคง ดำ �เนินนโยบายตามแบบเดิม ดังนั้นแม้ว่าหัวเมืองมลายูที่ขึ้นอยู่กับไทยจะมีฐานะด้อยกว่าหัวเมือง ประเทศราชอื่น ๆ แต่ก็มีอิสระในการดำ �เนินงานภายในบ้านเมืองของตนมากกว่าหัวเมืองธรรมดา อื่น ๆ ของไทย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะระยะทางที่ห่างไกลจากเมืองหลวงมากและปัญหาความยาก ลำ �บากในเรื่องการคมนาคมเป็นสาเหตุสำ �คัญประการหนึ่ง มีข้อสังเกตคือ รายาหรือเจ้าเมืองของ หัวเมืองมลายูแต่ละเมืองจะต้องเป็นผู้ที่ผ่านการเลือกสรรมาจากบรรดาญาติสนิทของรายาคนก่อน และต้องได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการจากกรุงเทพฯโดยพระมหากษัตริย์ไทยจะทรงแต่งตั้งเจ้า เมืองแต่ละคนนั้นก่อน ๖ นอกจากนี้ รายาของหัวเมืองดังกล่าวต้องมาเข้าเฝ้าถวายบังคมพระบรมศพ หรือเข้าเฝ้าแสดงความจงรักภักดีในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเช่นเดียวกับเจ้าเมืองอื่น ๆ ด้วย ๗ ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ เมื่ออังกฤษและฝรั่งเศสขยายอำ �นาจเข้ามาประชิดพรมแดนไทย ทั้งทางด้านพม่า มลายู และอินโดจีน และมีท่าทีคุกคามอำ �นาจอธิปไตยของไทย ส่งผลให้ไทยต้อง ทำ �การปฏิรูปการปกครองหัวเมืองโดยระบบเทศาภิบาล สำ �หรับหัวเมืองมลายูที่อยู่ใกล้เคียง กับเขตอิทธิพลของอังกฤษนั้น ในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๕ _ ๒๔๔๒ รัฐบาลไทยโดยกระทรวงมหาด ไทยได้จัดให้กลันตันและตรังกานูไปอยู่ในความดูแลของข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต หัวเมืองทั้งเจ็ดอยู่ในความรับผิดชอบของมณฑลนครศรีธรรมราช ส่วนไทรบุรี ปะลิส และสตูลนั้น ๓ พระยาวิเชียรคีรี. “พงศาวดารเมืองปัตตานี”, ใน ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๓ พระนคร : โรงพิมพ์ไท, ๒๔๕๗, หน้า ๑๙-๒๑. ๔ นันทวรรณ ภู่สว่าง. ปัญหาชาวไทยมุสลิมในสี่จังหวัดภาคใต้ , กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, หน้า ๔. ๕ สมเด็จกรมพระยาดำ �รงราชานุภาพ. “พงศาวดารเมืองไทรบุรี” ใน ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๒ , พระนคร : โรงพิมพ์ไท, ๒๔๕๗, หน้า ๑๐๗. ๖ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรมศิลปากร. จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๔ เรื่องแต่งตั้งขุนนางทางภาคใต้ จ.ศ. ๑๒๑๗ (พ.ศ. ๒๓๙๘). ๗ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำ �รงราชานุภาพ และพระยาราชเสนา, เทศาภิบาล . พระนคร : ม.ป.ท., ๒๕๐๓, หน้า ๘๑-๘๕.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=