รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 66 พระราชประเพณีมหาชนนิกรสโมสรสมมุต เป็นลักษณะพิเศษในระบอบสมบูรณาญาสิทธิ- ราชย์ ที่พระมหากษัตริย์ทรงมีอำ �นาจสูงสุด โดยทรงพระราชทานอำ �นาจให้พระบรมวงศ์ ขุนนาง ร่วมกันเลือกเจ้านายที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด ขึ้นครองราชสมบัติได้ เป็นการเปิดกว้างกว่าการตั้ง อุปราช หรือวังหน้า ที่ดำ �เนินมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นเวลาหลายร้อยปีได้ กล่าวได้ว่าการที่ขุนนางอัญเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ด้วง) ขึ้นครองราชสมบัติ ทรงพระนามต่อมาว่า สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทำ �ให้เกิดพระราชประเพณี มหาชนนิกรสโมสรสมมุต ที่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ และมีพระสงฆ์เป็นสักขีพยาน ประชุมเพื่อเลือกพระเจ้าแผ่นดิน ประกอบกับพระมหาอุปราชทิวงคตก่อนในรัชกาลที่ ๒, ๓, และ ๔ (ยกเว้นในกรณีรัชกาลที่ ๑) และไม่มีการแต่งตั้งใหม่ โดยถือว่าเป็นตำ �แหน่งผู้มีความชอบยิ่งใหญ่ เมื่อไม่มีเจ้านายพระองค์ใดเหมาะสมจึงปล่อยให้ว่างไว้ ถึงเวลาใกล้สวรรคตก็ทรงมีพระราชดำ �รัสให้ พระบรมวงศ์ ขุนนาง เลือกพระเจ้าแผ่นดินจากเจ้านายที่ดีและเหมาะสมที่สุดขึ้นครองราชย์ต่อ การเลือกพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเริ่มมีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช และมาชัดเจนจนเป็นพระราชประเพณีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำ �ให้ได้พระ มหากษัตริย์ที่ทรงทำ �คุณประโยชน์แก่บ้านเมืองและพสกนิกรอย่างใหญ่หลวง แต่พระราชประเพณีนี้ เริ่มมีปัญหาเมื่อขุนนางที่มีอำ �นาจมากได้บีบบังคับให้มีการเลือกอุปราชหรือวังหน้าสมัยรัชกาลที่ ๕ จนเป็นสาเหตุทำ �ให้เกิดความระแวงขัดแย้งระหว่างวังหลวงกับวังหน้า จนเกิดเป็นวิกฤติการณ์ที่ ต่างชาติอาจเข้าแทรกแซงได้ ดังนั้น กลุ่มเจ้านายและข้าราชการดังกล่าวข้างต้น จึงได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เปลี่ยนแปลงและมีประเพณีที่แน่นอนชัดเจนในการสืบราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงเห็นปัญหาเรื่องนี้อยู่แล้ว จึงทรงยุบตำ �แหน่งอุปราช หลังจากกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคต ๗ วัน (พ.ศ. ๒๔๒๘) และปีถัดมา (พ.ศ. ๒๔๒๙) ทรงสถาปนาตำ �แหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เป็นตำ �แหน่งรัชทายาทที่ ชัดเจน คล้ายกับสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ เป็นการย้อนไปหารูปแบบ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) พระราชประเพณีการสืบราชสมบัติมีการทำ �ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยกฎมณเทียรบาลว่าด้วยการ สืบราชสันตติวงศ์ พุทธศักราช ๒๔๖๗ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง “สมมต” เจ้านายพระองค์ ใดเป็นรัชทายาทได้ และในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๓๔ มีการกำ �หนดว่า ผู้สืบราชสมบัติเป็นพระราชธิดา ก็ได้ โดยความเห็นชอบของรัฐสภา ซึ่งยังปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๐) “มหาชนนิกรสโมสรสมมุต” : พระราชประเพณีการสืบราชสมบัติสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕–๒๔๒๙
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=