รวมเล่ม

๕๑ ราชกิจจานุเบกษาในรัชกาลที่ ๕ เล่ม ๓ จ.ศ. ๑๒๔๘ , หน้า ๓๖๘–๓๗๐ และมีพิมพ์ใน ประชุมกฎหมายประจำ �ศก เล่ม ๑๑ กฎหมาย จ.ศ. ๑๒๔๘, ๑๒๔๙, ๑๒๕๐, หน้า ๒๓–๒๘. ๕๒ ดูรายละเอียดใน วิษณุ เครืองาม, เล่มเดิม . หน้า ๒๖–๔๕. .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 65 วุฒิชัย มูลศิลป์ ตามกฎมณเทียรบาลที่ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๓ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) หรือเมื่อ ๕๒๖ ปีมาแล้ว ให้เป็นตำ �แหน่งที่ชัดเจนที่จะสืบสันตติวงศ์ และมีศักดินา ๒๐๐,๐๐๐ ๕๑ ซึ่งมากกว่า เป็น ๒ เท่า ของตำ �แหน่งพระมหาอุปราช ตามที่กำ �หนดไว้ในพระไอยการนาพลเรือน สมัยสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถ และเป็นตำ �แหน่งรัชทายาทที่ชัดเจน “เป็นแบบอย่างสืบไปภายน่า แลเปน ตำ �แหน่งอันถูกต้องกับนา ๆ ประเทศทั้งปวง ซึ่งจะเปนอันเข้าใจได้โดยชัดเจน” ซึ่งเป็นไปตามที่กลุ่ม เจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูล พระราชประเพณีการสืบสันตติวงศ์จึงเป็นที่แน่นอนชัดเจน ถึง ปัจจุบัน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร นับเป็นองค์ที่ ๓ นับแต่มีการสถาปนาตำ �แหน่งนี้ ๕๒ ภาพที่ ๑๐ : สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ๕. สรุปและส่งท้าย ปลาย พ.ศ. ๒๔๒๗ เมื่อประเทศอยู่ในภาวะอันตรายอย่างน่ากลัวต่อการสูญเสียเอกราช เพราะการคุกคามของจักรวรรดินิยมตะวันตก ซึ่งเห็นได้ชัดเจนในประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มเจ้านาย และข้าราชการที่เป็นราชทูตและรับราชการในทวีปยุโรป ได้ร่วมกันทำ �คำ �กราบบังคมทูลถวาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงสภาวะของไทยที่ชาติจักรวรรดินิยมตะวันตกอาจใช้ เป็นข้ออ้างเพื่อคุกคามไทยได้ และหนึ่งในนั้นคือ พระราชประเพณีที่ไม่ชัดเจนในการสืบราชสมบัติ ที่เรียกว่า มหาชนนิกรสโมสรสมมุต หรือ เอนกชนนิกรสโมสรสมมุต

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=