รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 2 พระมหากษัตริย์กับประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ในสมัยประชาธิปไตย ความนำ � พระมหากษัตริย์ไทยนับตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาจนถึงสมัยประชาธิปไตย ทรง มีพระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณต่อประชาชนบนผืนแผ่นดินไทยอย่างทั่วหน้ากัน รวมทั้งชาว ต่างประเทศที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารโดยไม่จำ �กัดว่านับถือศาสนาใดหรือชาติพันธุ์ใด ดังชาวไทยมุสลิม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ * ในบทความนี้จะนำ �เสนอเฉพาะพระราชกรณียกิจ ของพระมหากษัตริย์สมัยประชาธิปไตยที่มีต่อประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างไรก็ดีควรที่ จะ “รับรู้” ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์โดยสังเขปของเรื่องนี้ก่อน ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ** เนื่องจากดินแดนส่วนที่เป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบันหรือที่เป็นหัวเมืองมลายูใน ขณะนั้นได้ตกมาอยู่ใต้อำ �นาจการปกครองของไทยมาตั้งแต่ก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ ไทยปกครองหัว เมืองมลายูดังกล่าวในฐานะเมืองประเทศราช มีเมืองนครศรีธรรมราชเป็นผู้ดูแลอีกชั้นหนึ่งกล่าวคือ ไทยยังคงให้ชาวพื้นเมืองมลายูปกครองกันเอง แต่มีเงื่อนไขที่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการต้นไม้เงิน ทองที่มลายูเรียกว่า “บุหงามาศ” มายังราชธานีตามกำ �หนดเวลาทุก ๆ ๓ ปี เมื่อใดที่ไทยอยู่ใน ภาวะสงคราม ก็ต้องส่งกองทัพผู้คน ศาสตราวุธ และเสบียงอาหาร มาช่วยฝ่ายไทยเป็นการตอบแทน ที่ไทยให้ความคุ้มครองจากศัตรูภายนอก อย่างไรก็ดี ในยามที่บ้านเมืองไทยอยู่ในภาวะศึกสงคราม ระส่ำ �ระสาย หัวเมืองมลายูประเทศราชก็จะถือโอกาส “แข็งเมือง” ไม่ยอมขึ้นต่อราชธานี จนกระทั่ง ในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ฝ่ายไทยจึงได้ยึดหัวเมืองมลายูดังกล่าวกลับมาเป็นของไทยได้ อีกครั้งหนึ่ง โดยในระยะแรกให้ขึ้นอยู่กับเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๓๔ จึงแบ่งการ ปกครองให้เมืองกลันตันและไทรบุรีขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช เมืองตรังกานูและปัตตานีขึ้นกับ เมืองสงขลา นอกจากนี้ ไทยยังได้แบ่งเมืองปัตตานีออกเป็นเจ็ดหัวเมืองเล็ก ๆ ได้แก่ เมืองสายบุรี ปัตตานี หนองจิก ยะลา ยะหริ่ง ระแงะ และราห์มัน โดยถูกลดฐานะเป็นเมืองตรีในความดูแล อย่างใกล้ชิดของสงขลาแบบเดียวกับหัวเมืองชั้นนอกของไทย เจ้าเมืองของแต่ละเมืองมีบรรดาศักดิ์ * ในที่นี้จะเรียกประชาชนกลุ่มนี้ว่าประชาชนชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามที่กระทรวงมหาดไทยสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เปลี่ยนชื่อ “สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้” เป็น “จังหวัดชายแดนภาคใต้” อันหมายรวมถึงจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และบางส่วนของจังหวัดสงขลา จาก เทศาภิบาล เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๕ (พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๖), หน้า ๒๙๔-๒๙๖. ** เฉพาะหัวข้อนี้ปรับปรุงจาก ปิยนาถ บุนนาค. นโยบายการปกครองของรัฐบาลต่อชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๕๑๖). พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๗, หน้า ๑๗๔-๑๘๔.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=