รวมเล่ม

๔๙ ดูรายละเอียดใน เกษม ศิริสัมพันธ์, “แกนนำ �ของกลุ่มสยามหนุ่มเมื่อต้นรัชกาลที่ ๕” ใน จัตุศันสนียาจารย์ , วินัย พงศ์ศรีเพียร บรรณาธิการ, หน้า ๖๙–๑๐๓. ๕๐ ราชกิจจานุเบกษาในรัชกาลที่ ๕ เล่ม ๑ – ๒ จ.ศ. ๑๒๔๖ – ๑๒๔๗ , หน้า ๓๓๗–๓๓๘ (ความในวงเล็บเติมโดยผู้เขียน) ดูรายละเอียด ในเอกสาร ผนวก ๑ .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 63 วุฒิชัย มูลศิลป์ บางองค์และขุนนางที่เคยเป็นกลุ่มสยามหนุ่ม เช่น กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ (ต่อมาคือ สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ, พ.ศ. ๒๔๐๑–๒๔๖๖) เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (ต่อมาคือ เจ้าพระยา สุรศักดิ์มนตรี–เจิม แสง–ชูโต, พ.ศ. ๒๓๙๔–๒๔๗๔) ได้ทำ �สัตย์ปฏิญาณที่พระอุโบสถวัดพระ ศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๔ ว่า “จะซื่อสัตย์สุจริต ป้องกันรักษาพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ (ต่อมาคือ สมเด็จพระ บรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร) ๔๙ ความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือได้ว่าเป็นเรื่อง รู้สึกภายในจิตใจ เพราะภายนอกก็ยังทรงนับถือและให้ความสำ �คัญต่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี- สุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) อยู่ ส่วนกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญก็ไม่ได้กระทำ �การใด ๆ ที่จะก่อให้เกิด ความขัดแย้งอีก จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๒๕ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ถึงแก่พิราลัย ความ รู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัยจึงทุเลาลง และสิ้นสุดไปเมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคตในวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ หลังจากคณะเจ้านายและข้าราชการทูลเกล้าถวายคำ �กราบบังคมทูลไม่กี่เดือน ความไม่พอพระราชหฤทัยกับการเลือกและแต่งตั้งวังหน้าของพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมกับคำ �กราบบังคมทูลของเจ้านายและข้าราชการ ที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลง พระราชประเพณีสืบสันตติวงศ์มีผลให้ ในวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๘ หลังการทิวงคตของกรม พระราชวังบวรวิไชยชาญเพียง ๗ วัน ก็มี “ประกาศในการกรมพระราชวังบวรสถานมงคลทิวงคต” ยกเลิกตำ �แหน่งพระมหาอุปราช ความตอนหนึ่งว่า “ตำ �แหน่งที่พระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล นั้น (มี) การเปลี่ยนแปลงมาหลายชั้น จนถึงกรุงสยามได้ผูกพันธ์ทาง พระราชไมตรีกับนานาประเทศ ซึ่งมีธรรมเนียมบ้านเมืองผิดกันกับ กรุงสยาม ก็ก่อเกิดให้เปนที่เข้าใจผิดไปต่าง ๆ ..เปนตำ �แหน่งลอยอยู่ มิได้มีคุณต่อแผ่นดินอย่างหนึ่งอย่างใด เปนแต่ต้องใช้เงิน แผ่นดิน ซึ่งจะต้องใช้รักษาตำ �แหน่งยศพระมหาอุปราชอยู่เปล่า ๆ โดยมาก จึ่ง ได้เหนชอบพร้อมกันว่า ควรจะยกตำ �แหน่งที่พระยามหาอุปราชไว้ ไม่ ตั้งพระบรมวงษานุวงพระองค์ใดขึ้นนั้นชอบแล้ว” ๕๐

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=