รวมเล่ม
๔๘ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์เรื่องพระราชพงศาวดารกับเรื่องราชประเพณีการตั้ง มหาอุปราช , หน้า ๓๖–๓๗ และ ๕๖. .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 62 พระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ทั้งสามพระองค์เป็นผลจากพระราชประเพณีมหาชนนิกรสโมสร สมมุต แต่น่าเสียดายที่พระราชประเพณีนี้มีปัญหาจากการที่เจ้าพระยาสุริยวงศ์ (ช่วง) บีบบังคับให้ที่ ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ เลือกและตั้งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า จนทำ �ให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงเป็นวิกฤติการณ์ และเกิดความร้าวฉานระแวงกันขึ้น ทั้งพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ และเจ้าพระยาสุริยวงศ์ (ช่วง) ซึ่ง โปรดเกล้าฯ ให้เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ หลังจากพ้นจากการเป็นผู้สำ �เร็จราชการ แผ่นดินแล้ว โดยท่านไม่ยอมเป็นที่ปรึกษาในสภาที่ปรึกษาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงตั้งขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๑๗ และความร้าวฉานระแวงกันนี้ยังมีอยู่ต่อมา จนกลุ่มเจ้านายและ ข้าราชการได้กราบบังคมทูลให้ “มีพระราชประเพณีที่แน่นอนที่จะสืบสันตติวงศ์” ๓.๕ การสิ้นสุด การที่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เสนอให้ที่ประชุมของเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ เลือกวังหน้า ถือได้ว่าเป็นจุดสำ �คัญของการเปลี่ยนแปลง และนำ �ไปสู่การเกิดวิกฤติการณ์วังหน้า เมื่อปลาย พ.ศ. ๒๔๑๗ และเป็นจุดสำ �คัญที่นำ �ไปสู่การสิ้นสุดของพระราชประเพณีมหาชนนิกร สโมสรสมมุต เพราะเป็นความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างวังหลวง (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว) กับวังหน้า (กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ) ถึงขั้นเตรียมกำ �ลังเพื่อการต่อสู้กันและวังหน้า ยังแสวงหาความช่วยเหลือจากอังกฤษ ดีแต่ว่าทางอังกฤษถือว่าเป็นเรื่องภายในจึงไม่เข้าแทรกแซง ถ้าอังกฤษเข้าแทรกแซงก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำ �ให้เสียเอกราชได้เหมือนบางประเทศ แม้ว่าวิกฤติการณ์วังหน้าสิ้นสุดลงโดยมีการปรองดอง และลดกำ �ลังของวังหน้าลง แต่ ความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังคงมีอยู่ ซึ่งแสดงออก ในพระราชนิพนธ์เรื่อง ราชประเพณีการตั้งมหาอุปราช ที่พระราชนิพนธ์ขึ้นทันทีหลังวิกฤติการณ์ วังหน้า ทรงชี้ให้เห็นว่า ในประวัติศาสตร์พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นผู้เลือกและแต่งตั้งพระมหา อุปราชหรือวังหน้าด้วยพระองค์เอง การเลือกและแต่งตั้งวังหน้าโดยเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้บงการ ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ๔๘ ซึ่งส่งผลให้เกิดวิกฤติการณ์ที่ ร้ายแรง ความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัยดังกล่าว ยังเห็นได้จากการที่เจ้านายที่เป็นพระเจ้าน้องยาเธอ “มหาชนนิกรสโมสรสมมุต” : พระราชประเพณีการสืบราชสมบัติสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕–๒๔๒๙
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=