รวมเล่ม
๔๗ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ , หน้า ๑๕๒. .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 61 วุฒิชัย มูลศิลป์ ดังนั้นพระราชประเพณีมหาชนนิกรสโมสรสมมุตจึงมั่นคงและมีผลที่สำ �คัญ คือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีประสบการณ์และปฏิบัติราชกิจสำ �เร็จด้วยดี มากมาย โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ จนถูกเรียกขานว่า เจ้าสัว ก่อนขึ้นครองราชย์ เมื่อขึ้นครองราชย์ แล้วทรงปกครองบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อยได้ เช่น ปราบจีนตั้วเฮียและการซื้อขายสูบฝิ่น แก้ไข ปัญหาหัวเมืองมลายู ให้ความช่วยเหลือเขมรจากการขยายอำ �นาจของเวียดนาม ให้ความสำ �คัญกับ การขยายอำ �นาจของชาติตะวันตก จนมีการทำ �สนธิสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์กับอังกฤษและ สหรัฐอเมริกา ก่อนเสด็จสวรรคตยังพระราชทานความเห็น หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า วิสัยทัศน์ ที่สำ �คัญมาก คือ “การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่ดีควรจะเรียนร่ำ �เอาไว้ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว” ๔๗ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์สมัยใหม่ ทรงรู้ภาษาอังกฤษ ละติน ดาราศาสตร์ฯลฯ เปิดประเทศอย่างกว้างขวาง แต่ก็ทรงห่วงใยในทุกข์สุขของไพร่ฟ้า ทรงยกเลิกประ- เพณีที่ล้าสมัย ทรงใกล้ชิดกับทั้งพสกนิกรและชาวต่างชาติ ทรงจ้างนางแอนนา เลียวโนเวนส์ มาสอน ภาษาอังกฤษแด่พระราชโอรส พระราชธิดา การปรับปรุงประเทศของพระองค์เป็นที่รับรู้และชื่นชม ทั้งในจีนและญี่ปุ่นให้เอาแบบอย่างพระองค์ ทรงตระหนักและเตือนถึงอันตรายจากชาติจักรวรรดิ นิยม ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปประเทศอย่างกว้างขวางทุกด้านทั้งการ ปกครอง สังคม การศึกษา วัฒนธรรม ฯลฯ ทรงรู้ภาษาอังกฤษและเหตุการณ์ในต่างประเทศ ทรงเป็น กษัตริย์องค์แรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เสด็จประพาสยุโรปถึง ๒ ครั้ง นอกเหนือจากเสด็จ ประพาสประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทรงรักษาเอกราชของชาติไว้ได้ ซึ่งเป็นประเทศเดียว ในภูมิภาคนี้ ทรงมีคุณสมบัติและปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้ดังที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ หัวทรงมีพระราชดำ �รัสถึงเจ้านายที่ควรยกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ได้รับการถวายพระราช- สมัญญานามว่า พระปิยมหาราช
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=