รวมเล่ม
๔๔ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ , หน้า ๑๕๑. (ความในวงเล็บเติมโดยผู้เขียน) ๔๕ เพิ่งอ้าง, หน้า ๑๕๑. ๔๖ ประชุมจดหมายเหตุ เรื่องสุริยุปราคาในรัชกาลที่ ๔ และเรื่องรัชกาลที่ ๔ ประชวรและสวรรคต , หน้า ๘๗. .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 60 ดังนั้นจึงมอบหมายให้พระบรมวงศ์ ข้าราชการใหญ่น้อย “ปรึกษาพร้อมกัน เมื่อเห็นว่า พระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดที่มีวัยวุฒิ ปรีชารอบรู้ราชานุวัตร เป็นศาสนูปถัมภก ยกพระบวรพุทธ- ศาสนา และปกป้องไพร่ฟ้าอาณาประชาราษฎร รักษาแผ่นดินให้เป็นสุขสวัสดิ์โดยยิ่ง เป็นที่น่ายินดี แก่มหาชนทั้งปวงได้ ก็สุดแท้แต่จะเห็นดี” ๔๕ เลือกและอัญเชิญขึ้นครองราชสมบัติต่อไป ในลักษณะเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชกระแสก่อนเสด็จ สวรรคตว่า “ผู้ซึ่งจะครองราชสมบัติสืบพระบรมราชวงศ์ต่อไปนั้น ให้ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ปรึกษากัน แล้วแต่จะเห็นว่าเจ้านายพระองค์ใด จะเป็นพระเจ้าน้องยาเธอก็ดี พระเจ้าลูกยาเธอก็ดี พระเจ้าหลาน เธอก็ดี สมควรจะเป็นผู้ใหญ่ เมื่อเห็นพร้อมกันเห็นว่าพระองค์ใดจะปกครองรักษาแผ่นดินได้ ก็ให้ ถวายราชสมบัติแก่พระองค์นั้น” ๔๖ ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์จึงได้ขึ้นครองราชสมบัติ แม้จะเป็นพระ- ราชโอรสที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดา เมื่อพระองค์สวรรคต แทนที่พระราชโอรสของพระองค์จะได้สืบ ราชสมบัติก็กลับย้อนไปหาสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ ที่ประสูติ แต่พระบรมราชินี สำ �หรับพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระบรมราชินี ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทั้ง ๓ พระองค์ ที่ เจ้านายและข้าราชการเลือก ล้วนทำ �คุณประโยชน์แก่บ้านเมืองและไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินอย่างใหญ่หลวง ผู้เขียนมีความเห็นว่า ถ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตรัสได้ก่อนเสด็จ สวรรคต ก็คงจะมีพระราชดำ �รัสในลักษณะข้างต้น เพราะการที่ไม่ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรม พระราชวังบวรสถานมงคล หรือพระมหาอุปราช เป็นเวลาหลายปีก่อนเสด็จสวรรคต ทั้งที่มีพระราช- โอรสและพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ที่เหมาะสมจะโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งได้ น้อยสมณชีพราหมณ์ อาณาประชาราษฎรจะได้ความลำ �บากเพราะ มิได้พร้อมใจกัน (เลือก)” ๔๔ “มหาชนนิกรสโมสรสมมุต” : พระราชประเพณีการสืบราชสมบัติสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕–๒๔๒๙
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=