รวมเล่ม

๔๑ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ , หน้า ๔๙–๕๒. ๔๒ David K Wyatt, “Family Politics in Nineteenth Century Thailand” in Studies in Thai History . pp. 123–124. ๔๓ ประชุมจดหมายเหตุ เรื่องสุริยุปราคาในรัชกาลที่ ๔ และเรื่องรัชกาลที่ ๔ ประชวรและสวรรคต , หน้า ๕๖. .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 59 วุฒิชัย มูลศิลป์ ที่สมุหพระกลาโหม และให้จมื่นราชามาตย์ (ขำ �) บุตรอีกคนของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูร- วงศ์ เป็นเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี (ต่อมาคือ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์) ๔๑ คนในตระกูลบุนนาคยังดำ �รงตำ �แหน่งสำ �คัญ ๆ และมีอิทธิพลอยู่มากต่อมาในรัชกาลที่ ๕ ๔๒ จนสามารถเรียกได้ว่าในกรณีรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ คนตระกูลบุนนาคมีบทบาทสำ �คัญในการ แต่งตั้งกษัตริย์ เป็น kingmaker เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประชวรหนักและใกล้ สวรรคต ทรงให้พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (เพ็ง เพ็ญกุล ต่อมาคือ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำ �รง) ไป เรียนเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) ว่า “ขอให้คุณศรีสุริยวงศ์บำ �รุงลูกข้าเหมือนอย่างตัวข้า ขออย่าให้ มีภัยอันตรายเป็นที่กีดขวางด้วยการแผ่นดิน ถ้าจะมีความผิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นข้อใหญ่ ขอแต่ชีวิตไว้ ให้เป็นแต่โทษเนรเทศ” ๔๓ อีกทั้งเรื่องเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เสนอให้เลือกตั้งวังหน้าดังที่กล่าวมาแล้ว เป็นการแสดงให้เห็นอำ �นาจและอิทธิพลของท่านและคนในตระกูลบุนนาคได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ดี การที่ตระกูลบุนนาคมีอำ �นาจและอิทธิพลก็เพราะทำ �คุณประโยชน์แก่บ้านเมือง ปฏิบัติราชการด้วย ความจงรักภักดีและมีความใกล้ชิดกับราชวงศ์จักรีด้วย จึงทำ �ให้เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย สำ �หรับความสำ �คัญของพระราชประเพณี มหาชนนิกรสโมสรสมมุต คือ สามารถเลือกและ อัญเชิญเจ้านายที่ดี เหมาะสมที่สุด ด้วยความเห็นชอบร่วมกันได้มากกว่าการตั้งพระมหาอุปราชหรือ วังหน้าเพียงพระองค์เดียว เพราะถ้าทรงมอบให้เจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งขึ้นครองราชย์ ก็อาจ จะทำ �ให้เกิดความร้าวฉานในหมู่พระราชวงศ์ และเกิดความไม่ชอบใจของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินจนอาจ ทำ �ให้เกิดเหตุร้ายได้ ดังพระราชดำ �รัสของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนหนึ่งว่า “ถ้าทรงพระกรุณาพระราชทานอิสริยยศมอบให้พระบรม วงศานุวงศ์พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ซึ่งพอพระทัย ให้เสวยสิริราช- สมบัติแทนพระองค์ต่อไปแต่ตามชอบอัธยาศัยในสมเด็พระเจ้าอยู่หัว องค์เดียวนั้น เกลือกเสียความคิดร้าวฉาน ไม่ชอบใจไพร่ฟ้าประชาชน และคนมีบรรดาศักดิ์ผู้จะทำ �ราชกิจทุกพนักงาน ก็จะเกิดการอุปัทว- ภยันตรายเดือดร้อนแต่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=