รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 58 ๓.๔ ความสำ �คัญของพระราชประเพณี มหาชนนิกรสโมสรสมมุต ก่อนจะกล่าวถึงการสิ้นสุดของพระราชประเพณีมหาชนนิกรสโมสรสมมุต ขอกล่าวถึงความ สำ �คัญของพระราชประเพณีดังกล่าวก่อน เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากว่า พระราชประเพณีมหาชนนิกร สโมสรสมมุต เกิดขึ้นได้อย่างไรในการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งพระเจ้าแผ่นดิน ทรงมีอำ �นาจสูงสุด สามารถดำ �เนินการใด ๆ ได้ตามพระประสงค์ แต่ก็ทรงยอมรับในเรื่องให้เจ้านาย ขุนนาง เลือกและแต่งตั้งพระเจ้าแผ่นดินได้ จนกลายเป็นลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของสมัยรัตนโกสินทร์ อีกทั้งก่อให้เกิดผลดีอย่างยิ่งต่อบ้านเมืองในระยะที่บ้านเมืองต้องเปลี่ยนแปลงและรับมือกับอิทธิพล ของจักรวรรดินิยมตะวันตก จากที่กล่าวมาในตอนต้น ๆ จะพบว่า การที่ขุนนางอัญเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ด้วง) ซึ่งเป็นขุนนาง ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ขึ้นครองราชสมบัติ เพื่อปราบปรามความไม่สงบที่เกิดขึ้นใน บ้านเมือง เป็นจุดเริ่มต้นของการที่ขุนนางมาประชุมปรึกษาเพื่อตั้งพระเจ้าแผ่นดิน วิธีการนี้เป็นที่ ยอมรับจนกลายเป็นพระราชประเพณีในเวลาต่อมา เพราะวังหน้าหรือพระมหาอุปราชในเวลาต่อมา คือ ในรัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ ทิวงคตก่อนวังหลวง และวังหลวงก็ไม่ได้ทรงแต่งตั้ง วังหน้าองค์ใหม่ แต่ปล่อยให้ว่างไว้ โดยถือว่าตำ �แหน่งวังหน้าไม่ได้เป็นตำ �แหน่งรัชทายาท แต่เป็น ตำ �แหน่งที่ได้จากมีความดีความชอบต่อบ้านเมือง ดังนั้นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จสวรรคตและทรง เห็นชอบกับการเลือกพระเจ้าแผ่นดิน ดังกรณีของรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ ที่โปรดเกล้าฯ ให้เลือก เจ้านายที่เหมาะสมที่สุด โดยไม่จำ �เป็นว่าต้องเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ จึงทำ �ให้วิธีการนี้มีความ สำ �คัญจนกลายเป็นพระราชประเพณี นอกจากนี้ ยังเป็นที่ยอมรับกันว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นต้นมา ขุนนางโดยเฉพาะขุนนาง ตระกูลบุนนาค มีอำ �นาจและมีอิทธิพลมาก เช่น เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ควบเสนาบดี ๒ ตำ �แหน่ง เป็นเจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม น้องชายของท่านคือ ทัต เป็นพระยาศรีพิพัฒน์ฯ ว่าที่ พระคลังสินค้า ต่อมาเมื่อสองพี่น้องมีบทบาทในการเลือกและอัญเชิญเจ้าฟ้ามงกุฎที่ทรงผนวชอยู่ ให้ขึ้นครองราชสมบัติ ก็ได้รับการตอบแทนโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ “ให้ สำ �เร็จราชการตลอดทั่วทั้งพระราชอาณาจักร” พระยาศรีพิพัฒน์ฯ (ทัต) เป็นสมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาพิชัยญาติ “ให้สำ �เร็จราชการในพระนครทุกสิ่งทุกพนักงาน” ให้พระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) บุตรคนโตของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ เป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ “มหาชนนิกรสโมสรสมมุต” : พระราชประเพณีการสืบราชสมบัติสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕–๒๔๒๙

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=