รวมเล่ม

๓๙ เป็นที่รับรู้กันว่า เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้มีอำ �นาจสูงสุดในเวลานั้น อีกทั้งระแวงกันว่า ท่านอาจจะแย่งชิงราชสมบัติ แต่ท่านก็มีความพึงพอใจอยู่เท่านั้นและปฏิบัติตามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขอท่านไว้ “ให้คุณศรีสุริยวงศ์บำ �รุงลูกข้า เหมือนอย่างตัวข้า ขออย่าให้มีภัยอันตราย” มีเรื่องเล่ากันว่า ในวันหนึ่งหลานของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ถามว่า ทำ �ไมท่าน ไม่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ท่านตอบว่า ไม่รู้จะเป็นไปทำ �ไมในเมื่อทุกวันนี้อยากได้อะไรก็ได้อยู่แล้ว ๔๐ วุฒิชัย มูลศิลป์. “วิกฤติการณ์วังหน้ากับผลกระทบต่อการปฏิรูปการปกครองในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๗-๒๔๒๘)” วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๒ (เมษายน –มิถุนายน ๒๕๕๒), หน้า ๒๘๐-๓๐๔. .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 57 วุฒิชัย มูลศิลป์ เหตุผลการตั้งพระมหาอุปราชในครั้งนี้ เป็นประเด็นหนึ่งที่สำ �คัญในประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ มีการวิเคราะห์ไว้หลายท่าน เช่น สมเด็จฯ กรมพระยาดำ �รงราชานุภาพ (ใน พระราชพงศาวดารกรุง- รัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕) ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม (ใน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์) ปิยนาถ บุนนาค (ใน บทบาททางการเมือง การปกครองของเสนาบดีตระกูลบุนนาค) รวมทั้งผู้เขียน เองใน วิกฤติการณ์วังหน้ากับผลกระทบต่อการปฏิรูปการปกครองในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๗–๒๔๒๘) ซึ่งอาจสรุปได้ว่า เพื่อทำ �ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) มีอำ �นาจต่อไป เป็นที่โปรดปรานจากทั้งวังหลวงและวังหน้า ๓๙ แต่สำ �หรับพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวไว้ถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ในเวลาต่อมาว่าพระองค์ “เหมือน ตะเกียงริบหรี่จวนจะดับ” และ “เปรียบเหมือนคนที่ศีรษะขาดแล้ว” คือ อยู่ท่ามกลางอันตรายจาก ผู้มีอำ �นาจ การเลือกและแต่งตั้งวังหน้าในครั้งนี้ทำ �ให้เกิดผลร้ายตามมาคือ เกิดความระแวงระหว่าง วังหลวงกับวังหน้า จนเกิดความขัดแย้งและขยายเป็น “วิกฤติการณ์วังหน้า” ในปลาย พ.ศ. ๒๔๑๗ มีการระดมกำ �ลังกันทั้งสองฝ่าย สุดท้ายวังหน้าหลบหนีไปอาศัยกงสุลอังกฤษ และขอให้อังกฤษ ไกล่เกลี่ย เป็นการดึงอำ �นาจต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง ดีที่ว่าทางอังกฤษถือว่าเป็นเหตุการณ์ภายในจึง ไม่ได้แทรกแซง ๔๐ แม้วิกฤติการณ์วังหน้าจะจบลงโดยเหตุการณ์ไม่ลุกลาม แต่ก็ทำ �ให้มีความรู้สึกว่า การตั้ง วังหน้าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง รวมไปถึงพระราชประเพณีการเลือกและแต่งตั้งพระเจ้าแผ่นดินโดย มหาชนนิกรสโมสรสมมุตก็ควรเปลี่ยนแปลงดังที่กลุ่มเจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูลเข้ามา เพราะแสดงให้เห็นแล้วว่า ข้าราชการที่มีอำ �นาจอาจดำ �เนินการใด ๆ ตามความต้องการของตน จน เกิดผลร้ายตามมา เป็นเหตุให้สูญเสียเอกราชได้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=