รวมเล่ม
๓๖ เพิ่งอ้าง, หน้า ๑๐๕. ๓๗ เพิ่งอ้าง, หน้า ๑๐๕ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนไว้ใน โครงกระดูกในตู้ ว่า หลังจากการประชุมนี้ เมื่อกรมขุนวรจักรธรานุภาพ ผู้เป็นบรรพบุรุษของท่าน เสด็จกลับวังแล้ว ก็ไม่เสด็จออกจากวังตลอดเวลาที่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์.เป็นผู้สำ �เร็จราชการแผ่นดินอยู่ ด้วย ความกลัวอำ �นาจของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์, หน้า ๔๙. ๓๘ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว...เรื่องราชประเพณีการตั้งมหาอุปราช , หน้า ๗๘. .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 56 “เป็นด้วยความกลัวเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์” ๓๖ มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ เพียงผู้เดียวที่แสดงออกว่าไม่เห็นด้วย โดยทรงให้เหตุผลว่าเรื่องการตั้งวังหน้า พระเจ้าแผ่นดินเป็น ผู้ทรงตั้ง “มิใช่กิจของที่ประชุมที่จะเลือกพระมหาอุปราช” ทำ �ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ขัดเคืองและทูลถามว่า “ที่ไม่ยอมนั้น อยากจะเป็นเองหรือ” กรมขุนวรจักรธรานุภาพจึงตอบว่า “ถ้าจะให้ยอมก็ต้องยอม” ๓๗ ซึ่งถือได้ว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำ �คัญในเรื่องนี้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวว่า กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ “เป็น วังหน้าซึ่งมิได้เป็นพระราชโอรสพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ และพระเจ้าแผ่นดินมิได้ทรงเลือกเอง เป็นที่ ๑ ตั้งแต่กรุงทวารวดีจนถึงกรุงรัตนโกสินทรบัดนี้” ๓๘ ซึ่งพระองค์ถือว่าเป็นการละเมิดพระราชประเพณี ที่ปฏิบัติกันมากว่า ๕๐๐ ปี ภาพที่ ๗ : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพที่ ๘ : กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เมื่อขึ้นครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๑๑ “มหาชนนิกรสโมสรสมมุต” : พระราชประเพณีการสืบราชสมบัติสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕–๒๔๒๙
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=