รวมเล่ม

๓๓ ดูรายพระนามใน สมเด็จฯ กรมพระยาดำ �รงราชานุภาพ “จดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต” ใน ประชุมจดหมายเหตุ เรื่องสุริยุปราคาในรัชกาลที่ ๔ และเรื่องรัชกาลที่ ๔, ประชวรและสวรรคต , หน้า ๙๗–๑๐๐. คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวถึงการประชุมครั้งนี้ว่า เทียบได้กับการประชุมสามฐานันดรแห่งรัฐ (Three Estates of the Realm) ประกอบด้วย พระบรมวงศา- นุวงศ์อันเป็นขัตติยะ (Those who fight) ขุนนางข้าราชการซึ่งเป็นสามัญชน (Those who work) และพระสงฆ์ราชาคณะมีสมเด็จพระ สังฆราชเป็นประธาน (Those who pray) ที่ไม่ได้เข้าประชุม คือ ฐานันดรที่ ๔ (โครงกระดูกในตู้ หน้า ๔๓-๔๔) ซึ่งลักษณะการประชุม เช่นนี้เริ่มมีมาในการประชุมเลือกและตั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ๓๔ เพิ่งอ้าง, หน้า ๑๐๐–๑๐๑ ความในวงเล็บเติมโดยผู้เขียน. ๓๕ เพิ่งอ้าง, หน้า ๑๐๒. .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 55 วุฒิชัย มูลศิลป์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในเวลา ๓ ทุ่ม ของวันที่ ๑ ตุลาคม ต่อมาอีกชั่วโมงเศษ เริ่มการประชุมเพื่อเลือกพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ มีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น บวรรังสีฯ (ต่อมาคือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พ.ศ. ๒๓๕๒–๒๔๓๕) เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธาน และมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้ดำ �เนิน การประชุม ท่ามกลางพระสงฆ์ผู้ใหญ่อีก ๒๔ รูป พระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งที่เป็นพระเจ้าน้องยาเธอ ๗ พระองค์ พระเจ้าบวรวงศ์เธอ ๓ พระองค์ พระเจ้าลูกยาเธอที่เป็นชั้นใหญ่ที่ทรงผนวชเป็นสามเณร ๗ พระองค์ ข้าราชการที่เป็นเจ้าพระยา พระยา รวม ๒๐ นาย ๓๓ พอถึงเวลาเที่ยงคืน เจ้าพระยา ศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้กล่าวเปิดประชุมว่า “บัดนี้แผ่นดินว่างอยู่...เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร (ทรง) พระราชทานพระบรมราชานุญาต ไว้ว่า ผู้ที่จะดำ �รงรักษาแผ่นดินต่อไปนั้น ให้พระราชวงศานุวงศ์และ ข้าราชการปรึกษาหารือ สุดแต่จะเห็นพร้อมกันว่าพระราชวงศ์ พระองค์ใด...ซึ่งทรงพระสติปัญญารอบรู้สรรพสิ่งทั้งปวงสมควรจะ ปกป้องสมณะพราหมณาจารย์อาณาประชาราษฎรได้ ก็ให้ยกพระ ราชวงศ์พระองค์นั้นขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน” ๓๔ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทรทรงเสนอ ขอให้ยกสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ กรมขุนพินิตประชานาถ ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน “เหมือนหนึ่งได้ทดแทน พระคุณพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ด้วย ๓๕ พร้อมกันนั้นที่ประชุมได้เห็นชอบให้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำ �เร็จราชการแผ่นดิน ต่อมาเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้ปรึกษาที่ประชุมว่า ควรจะเลือกพระมหาอุปราชด้วยหรือไม่ ที่ประชุมส่วนหนึ่งเห็น ว่าสมควรและเสนอ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัวเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่ก็มีผู้ที่ไม่เห็นชอบโดยมาก เพียงแต่ไม่แสดงออก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=