รวมเล่ม

๓๑ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ , หน้า ๓๒๓. ๓๒ ประชุมจดหมายเหตุ เรื่องสุริยุปราคาในรัชกาลที่ ๔ และเรื่องรัชกาลที่ ๔ ประชวรและสวรรคต, หน้า ๕๘–๖๐. .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 54 นี่เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่า พระราชโอรสของพระองค์ก็ไม่แน่ว่าจะได้รับเลือกและอัญเชิญ ขึ้นครองราชสมบัติ เจ้านายที่ทรงกรมอีก ๓ พระองค์ กรมหมื่นบำ �ราบปรปักษ์ (ต่อมาคือ สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำ �ราบปรปักษ์, พ.ศ. ๒๓๖๒–๒๔๒๙) และกรม- หมื่นวรจักรธรานุภาพ (ต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ, พ.ศ. ๒๓๕๙–๒๔๑๕) ทั้งคู่เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ ส่วนกรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ (ต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ, พ.ศ. ๒๓๖๙–๒๔๔๖) เป็นพระราชโอรส ในรัชกาลที่ ๓ ทั้ง ๔ พระองค์นี้ล้วนมีโอกาสจะได้รับเลือกและอัญเชิญขึ้นครองราชย์ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๑๑ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรหนัก ใน วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๑ (ก่อนสวรรคต ๙ วัน) ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึง “พระเจ้าน้องยา- เธอกรมหลวง กรมขุน แลท่านเสนาบดี” ว่า “พระราชดำ �ริทรงเห็นว่าซึ่งจะสืบพระราชสุริยวงศ์ต่อ ไปภายหน้านั้น พระเจ้าน้องยาเธอ พระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานเธอก็ได้ ให้ปรึกษากันจงพร้อม แล้วแต่จะเห็นผู้ใดมีปรีชาควรรักษาแผ่นดินได้ ก็ให้ยกขึ้น” ๓๑ หลักฐานที่ยกมาทั้ง ๒ ส่วนนี้ เป็นการยืนยันว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ทรง ยึดมั่นในพระราชประเพณีมหาชนนิกรสโมสรสมมุต ๓.๓ ความเปลี่ยนแปลง ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จสวรรคต ได้มีการปรึกษากันเป็นการ ภายในอย่างไม่เป็นทางการในพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่ เห็นว่าสมควรอัญเชิญสมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ ขณะนั้นทรงเป็นกรมขุนพินิตประชานาถ ขึ้นครองราชสมบัติ ดังที่พระยาสุรวงศ์วัยวัฒน์ (วร บุนนาค – ต่อมาเป็นเจ้าพระยา ในราชทินนามเดิม) บุตรเจ้าพระยา ศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๑ เมื่อทรงทราบทรงรับสั่งว่า “เจ้านายที่เป็นผู้ใหญ่ผู้น้อยที่มีสติปัญญาก็มีอยู่ เป็นอันมาก ให้เลือกเอาเถิด ลูกข้ายังเด็กอยู่...” แต่เมื่อพระยาสุรวงศ์วัยวัฒน์กราบบังคมทูลถึงความ เหมาะสมของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ ก็ทรงรับสั่งว่า “อย่างนั้นก็ตามใจเจ้าสิ” ๓๒ “มหาชนนิกรสโมสรสมมุต” : พระราชประเพณีการสืบราชสมบัติสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕–๒๔๒๙

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=