รวมเล่ม

๒๕ เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม ๑, หน้า ๓. ๒๖ เรียกกันโดยทั่วไปว่า สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ๒๗ เรียกกันโดยทั่วไปว่า สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ๒๘ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ , หน้า ๑๕๑. .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 51 วุฒิชัย มูลศิลป์ ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี ซึ่งขณะนั้นทรงผนวชอยู่ แต่ในด้านความดีความชอบนั้นด้อย กว่าพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ซึ่งแม้ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ แต่ประสูติใน เจ้าจอมมารดาเรียม พระสนมเอก (ต่อมาคือสมเด็จพระศรีสุลาลัย) แต่ทรงรับราชการมานานและ เป็นผลดีต่อบ้านเมืองมาก วิธีการที่พระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ เสนาบดี มาประชุมเพื่อเลือกเจ้านายที่มีความดีความ ชอบในราชการ โดยมีพระสงฆ์เป็นสักขีพยานในการเลือกนี้ ออกจะเป็นเรื่องที่เข้าใจยากสำ �หรับการ ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในกรณีที่พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้รับ เลือกให้ขึ้นครองราชสมบัติ จึงทำ �ให้เกิดการเล่าลือว่า พระองค์เป็นผู้แย่งชิงราชสมบัติ และอาจเกิด ความวุ่นวายขึ้น ทั้งนี้ตามรายงานของชาวต่างประเทศ ๒๕ แต่วิธีการนี้ก็ได้เป็นพระราชประเพณีการ สืบสันตติวงศ์ที่มั่นคงต่อมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรมหมื่นศักดิพลเสพ พระปิตุลา (อา) พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๑ เป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (ต่อมาคือ สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพ พ.ศ. ๒๓๒๘–๒๓๗๕) เพราะมีความดีความชอบในราชการ แต่เมื่อกรมพระราชวัง บวรสถานมงคลทิวงคต ก็ไม่ได้ทรงแต่งตั้งเจ้านายพระองค์ใดขึ้นมาแทน ทรงปล่อยให้ตำ �แหน่งมหา อุปราชว่างเป็นเวลา ๑๘ ปี จนพระองค์เสด็จสวรรคต แม้ว่าทรงมีพระราชโอรสทั้งก่อนและหลังบรม ราชาภิเษกแล้วหลายพระองค์ก็ตาม เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร และทรงเห็นว่า “เหลือกำ �ลังแพทย์ จะเยียวยา” ในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๙๓ ทรงมีพระราชดำ �รัสอนุญาตให้เจ้าพระยาพระคลัง ซึ่งว่าที่สมุหพระกลาโหม (ดิศ บุนนาค ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์, ๒๖ พ.ศ. ๒๓๓๑–๒๓๙๘) เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (ทัต บุนนาค ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรม มหาพิชัยญาติ, ๒๗ พ.ศ. ๒๓๓๔–๒๔๐๐) พระยาราชสุภาวดีว่าที่สมุหนายก (โต กัลยาณมิตร ต่อมา คือเจ้าพระยานิกรบดินทร) และขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อย ให้ “ปรึกษาพร้อมกัน เมื่อเห็นว่าพระบรมวงศา นุวงศ์พระองค์ใด...เป็นที่ยินดีแก่มหาชนทั้งปวงได้... (ก็ให้) ยกพระบรมวงศ์พระองค์นั้นขึ้นเสวยมไห สวรรยาธิปัตย์ถวัลยราช” ๒๘

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=