รวมเล่ม

๒๓ สมเด็จฯ กรมพระยาดำ �รงราชานุภาพ, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ , หน้า ๒๑๗ และ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓, หน้า ๑. ๒๔ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, เล่มเดิม, หน้า ๓. .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 50 การที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตรัสไม่ได้ก่อนสวรรคต จึงไม่ได้ทรงมอบ ราชสมบัติแก่พระราชวงศ์พระองค์ใด ดังนั้น พระบรมวงศานุวงศ์ต่างกรม เสนาบดี จึงประชุมโดยมี พระสังฆราช พระราชาคณะ เป็นสักขีพยาน พร้อมใจกันอัญเชิญพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎา- บดินทร์ ขึ้นครองราชสมบัติ ทรงพระนามต่อมาว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหา เจษฎาราชเจ้า ภาพที่ ๓ : พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ภาพที่ ๔ : พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุผลการอัญเชิญพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ขึ้นครองราชสมบัตินั้น พระราชพงศาวดารอธิบายว่า เพราะเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ ทรงสติปัญญาเฉลียวฉลาด ทรงรับราชการต่างพระเนตรพระกรรณมาช้านาน ๒๓ คำ �อธิบายนี้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป รวมทั้ง ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช แต่ท่านได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “ถ้าจะพูดกันตามสิทธิที่จะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าควรจะได้ขึ้นเสวยราชย์ในครั้งนั้นแล้ว” ๒๔ แต่ว่าไปแล้วผู้เขียนเห็น ว่าถูกเพียงส่วนหนึ่ง คือ ถูกในฐานะที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นพระราชโอรสที่ประสูติ “มหาชนนิกรสโมสรสมมุต” : พระราชประเพณีการสืบราชสมบัติสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕–๒๔๒๙

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=