รวมเล่ม

๒๒ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, โครงกระดูกในตู้ หน้า ๙๕ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ก็ได้กล่าวไว้ในเรื่อง“บรมราชาภิเษก” ซึ่งแปลจากบทความภาษาอังกฤษเรื่อง The Old Siamese Conception of the Monarchy ว่า มีการเลือกพระมหากษัตริย์ .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 49 วุฒิชัย มูลศิลป์ ด้วยเหตุผลดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงไม่ได้ทรงตั้งพระ- ราชโอรสองค์ใหญ่ (ฉิม – ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, พ.ศ. ๒๓๕๒–๒๓๖๗) ซึ่งขณะนั้นมีพระชนม์ ๑๐ พรรษา (เท่ากับสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ, พ.ศ. ๒๔๒๑–๒๔๓๗ เมื่อ ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร) เป็นพระมหาอุปราช แต่ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ต่อมาเมื่อกรมพระราชวัง บวรสถานมงคล (บุญมา) สวรรคตไปแล้ว ๓ ปี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงมีความดีความชอบมากขึ้นแล้ว จึงสถาปนาเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๓๕๒ กรม พระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราช ได้ครองราชสมบัติสืบต่อ โดยพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี และสมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย ร่วมกันอัญเชิญ แต่ในสร้อยพระนาม ยังไม่ปรากฏนาม “มหาชนนิกรสโมสรสมมุต” พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ เป็นที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ขณะมีพระชนมายุ ๓๖ พรรษา ทรงดำ �รงพระยศได้ ๘ ปี เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๐ จากนั้นไม่ได้ทรงตั้งเจ้านายพระองค์ใดขึ้น เป็นที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล แม้ว่าจะมีพระราชโอรสที่ทรงเจริญวัยเหมาะสมแก่พระยศกรม พระราชวังบวรสถานมงคลก็ตาม จนเสด็จสวรรคต ซึ่งทำ �ให้พระบรมวงศ์ เสนาบดี และพระสังฆราช มาประชุมเลือกพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ในลักษณะ “มหาชนนิกรสโมสรสมมุต” เด่นชัดยิ่งขึ้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำ �รงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัยทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตในเวลาเพียง ๘ วัน และตรัสไม่ได้มาแต่แรก จึงไม่ได้มอบ ราชสมบัติแก่เจ้านายพระองค์ใด แต่อาจวิเคราะห์ได้ว่า การไม่ทรงสถาปนากรมพระราชวังบวรสถาน มงคล ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๖๐ จนสวรรคตใน พ.ศ. ๒๓๖๗ เป็นการแสดงให้เห็นว่า ทรงต้องการให้พระบรม วงศานุวงศ์ เสนาบดี และพระสังฆราช พระราชาคณะผู้ใหญ่ ประชุมเลือกพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ ๓.๒ เป็นพระราชประเพณี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนไว้ใน โครงกระดูกในตู้ ว่า “สมเด็จพระมหากษัตริย์ กรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ๕ นั้น ได้ขึ้นเสวยศิริราชสมบัติด้วยการเลือกตั้งจากเจ้านาย ขุนนาง และพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันทั้งสามรัชกาล” ๒๒ การเลือกในลักษณะดังกล่าวนี้ซึ่งปฏิบัติกัน มาถึง ๓ รัชกาล ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๖๗ เรื่อยมาจนยกเลิกใน พ.ศ. ๒๔๒๙ นับได้ ๖๒ ปี ถือได้ว่าเป็น พระราชประเพณีที่มั่นคง ซึ่งก่อให้เกิดผลที่สำ �คัญในประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งจะได้ กล่าวต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=