รวมเล่ม
๑๗ กฎหมายตราสามดวง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๑, หน้า ๑๒๙ และ ๑๕๖. ๑๘ เนื้อหาในพระธรรมศาสตร์ที่กล่าวถึงกำ �เนิดมนุษย์และกำ �เนิดผู้ปกครอง หรือพระเจ้ามหาสมมติราช มีเค้าโครงมาจากพระสุตตันตปิฎก ในส่วนพระอัคคัญสูตร (สูตรที่ว่าด้วยสิ่งที่เลิศหรือที่เป็นต้นเดิม) ซึ่งเป็นคัมภีร์สำ �คัญของพระพุทธศาสนา (ดูรายละเอียดใน วรพร ภู่พงศ์พันธุ์ เล่มเดิม หน้า ๒๗-๓๔) .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 47 ๓. “มหาชนนิกรสโมสรสมมุต”: พระราชประเพณีสืบสันตติวงศ์ ๓.๑ การเริ่มต้น การที่พระ ขุนนาง ราษฎร และมีพระสงฆ์เป็นสักขีพยาน อัญเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหา- กษัตริย์ศึกขึ้นครองราชสมบัติ อาจเปรียบได้กับการที่ “ฝูงชนทั้งหลายมาสะโมสรประชุมพร้อมกัน ตั้ง...พระเจ้ามหาสมมุติราช” ๑๗ ซึ่งเป็นการเริ่มมีกษัตริย์ในโลกมนุษย์ ดังปรากฏใน “พระธรรม- ศาสตร์” ๑๘ ในกฎหมายตราสามดวงที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระบรม- ราชโองการให้ชำ �ระเมื่อ จ.ศ. ๑๑๖๖ (พ.ศ. ๒๓๔๗) เรื่องทั้งสองจึงมาพ้องกัน จนทำ �ให้เกิดลักษณะ พิเศษของการสืบราชสมบัติในเวลาต่อมา สำ �หรับสร้อยพระนาม “มหาชนนิกรสโมสรสมมุต” ยังไม่ ปรากฏในพระนามของพระองค์ แต่จะปรากฏในรัชกาลที่ ๔ และในรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็น “อเนกชน- นิกรสโมสรสมมต” ซึ่งก็มีความหมายอย่างเดียวกัน วุฒิชัย มูลศิลป์ ภาพที่ ๑ : สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกลับจากเขมร ขุนนางอัญเชิญขึ้นครองราชสมบัติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=