รวมเล่ม

๑๐ กฎหมายตราสามดวง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๒ , หน้า ๑๐๙–๒๐๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปล กฎมณเทียรบาล ว่า“สำ �หรับรักษาบ้านเรือนพระเจ้าแผ่นดิน” รวมเรื่องราชาภิเษก ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม พระราชานุกิจ และอธิบายว่าด้วย ยศเจ้า , หน้า ๗๖. ๑๑ กฎหมายตราสามดวง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๒ , หน้า ๒๐๗ – ๒๙๒. .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 45 ๒. พระราชประเพณีการสืบสันตติวงศ์หรือราชสมบัติ ในประวัติศาสตร์ของไทย พระราชประเพณีการสืบราชสมบัติมีการศึกษาค้นคว้ากันมาก นับแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระนิพนธ์เรื่อง ราชประเพณีการตั้ง พระมหาอุปราช (ราว พ.ศ. ๒๔๑๗), สมเด็จฯ กรมพระยาดำ �รงราชานุภาพทรงนิพนธ์ ตำ �นานวัง หน้า (พ.ศ. ๒๔๖๑) เรื่อยมาถึง ศ. ดร.วิษณุ เครืองาม นักนิติศาสตร์ที่สนใจประวัติศาสตร์ เขียนเรื่อง “กฎเกณฑ์การสืบราชสมบัติของไทย” (พ.ศ. ๒๕๕๕) รวมทั้งกรมศิลปากรได้พิมพ์หนังสือ กรม พระราชวังบวรสถานมงคลสมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๕๕๖) ซึ่งให้ความรู้ในเรื่องนี้ไว้มาก แต่พระราช- ประเพณีสืบราชสมบัติที่มาจากการที่ “พระสงฆ์ แลข้าราชการ ผู้ใหญ่ ผู้น้อย เลือกเมื่อเวลาถึงแก่ กาล” ดังที่กลุ่มเจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูล ยังไม่มีการศึกษาอย่างลึกซึ้ง แม้จะมีการกล่าว ถึงอยู่บ้าง มีคำ �อธิบายโดยทั่วไปว่า พระราชประเพณีการสืบราชสมบัติเริ่มมีขึ้นในสมัยสมเด็จพระ รามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง, พ.ศ. ๑๘๙๓–๑๙๑๒) เมื่อทรงตรา “กฎมณเทียรบาล” ๑๐ มีการ กล่าวถึง พระราชโอรสอันประสูติด้วยพระอัครมเหสี ว่า สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า ซึ่งน่าจะเป็น รัชทายาท ส่วนพระมหาอุปราชเกิดด้วยแม่หยัวเมือง ถือว่าต่ำ �ลงมา และต่อมาใน “พระไอยการ ตำ �แหน่งนาพลเรือน” ๑๑ ซึ่งตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๙๑–๒๐๓๑) ไม่ได้กล่าวถึงสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า แต่กล่าวถึงพระเจ้าลูกเธอ มีศักดินาหรือนา ๑๕,๐๐๐ ถ้าทรงกรม นา ๔๐,๐๐๐ และถ้าเป็นอุปราช นา ๑๐๐,๐๐๐ แต่ศักดินาของพระเจ้าลูกเธอในเบื้องต้น ต่ำ �กว่า พระอนุชา ซึ่งมีนา ๒๐,๐๐๐ ถ้าทรงกรม นา ๕๐,๐๐๐ และถ้าเป็นอุปราช นา ๑๐๐,๐๐๐ ซึ่งพิจารณาได้ว่า ทั้งพระอนุชาและพระเจ้าลูกเธอมีสิทธิเป็นอุปราชเท่ากัน หรือพระอนุชามีสิทธิ มากกว่าด้วย ถ้าดูศักดินาในเบื้องต้น ซึ่งสูงกว่าพระเจ้าลูกเธอ ตำ �แหน่งอุปราชหรือพระมหาอุปราช ซึ่งต่อมานิยมเรียกกันว่า วังหน้า สมเด็จฯ กรมพระยา ดำ �รงราชานุภาพทรงให้ความเห็นว่า เริ่มมีขึ้นในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (พ.ศ. ๒๐๑๒–๒๑๓๓) เมื่อพระนเรศหรือพระนเรศวรเสด็จจากเมืองพิษณุโลกลงมาประทับที่วัง จันทรเกษม พระนครศรีอยุธยา จึงเรียกว่า “วังฝ่ายหน้า” หรือ วังหน้า แต่การตั้งวังหน้าก็มี วุฒิชัย มูลศิลป์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=