รวมเล่ม
๙ สจช. เอกสารรัชกาลที่ ๕ บ.๑.๔/๑ เรื่องเจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงระเบียบราชการแผ่นดิน ( ๘ ม.ค. จ.ศ. ๑๒๔๖ ). อนึ่ง คำ �กราบบังคมทูลนี้ ชัยอนันต์ สมุทวณิช เรียกว่า แผนพัฒนาการเมืองฉบับแรกของไทย .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 44 ธิราชย์ เป็น “คอนสติตูชาแนลโมนากี” หรือ พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ แต่ยังไม่ต้องมีปาลิ- เมนต์ หรือรัฐสภา ๒. ให้เสนาบดีรับผิดชอบในการบริหารประเทศ และ “มีพระราชประเพณีแน่นอน ที่จะสืบ สันตติวงษ์” ๓. “ปิดทางสินบนทุกทาง” ไม่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ให้ผู้ทำ �ราชการมีเงินเดือนประจำ � “ให้ภอใช้ตามถานานุรูปจริง” ๔.ให้ทุกคน“มีความสุขเสมอกัน”อยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันยุติธรรมเท่ากันทั้งไทยและฝรั่ง ๕. ธรรมเนียมและกฎหมายที่ชาติตะวันตกติเตียน ต้องเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก ๖. ราษฎรและข้าราชการสามารถแสดงออกในเรื่องความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อบ้าน เมืองได้ ๗. มีระเบียบกฎหมายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการแต่งตั้งข้าราชการ (เช่น มีความรู้ความประพฤติดี อายุเกิน ๒๐ ปี) และถอดหรือปลดข้าราชการเมื่อทำ �ชั่ว ๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตอบกลุ่มเจ้านายและข้าราชการ ในวันที่ ๒๙ เมษายน จ.ศ. ๑๒๔๗ (พ.ศ. ๒๔๒๘) หรืออีกเกือบ ๔ เดือนต่อมา ว่า เรื่องที่กราบบังคมทูลมานั้น พระองค์ทรงคิดอยู่แล้วทั้งสิ้น อีกทั้งทรง “มีความปรารถนาแรงกล้าที่จะได้จัดการนั้น ให้สำ �เร็จตลอด ไปได้” และไม่ขัดขวางการที่จะ “สูญเสียอำ �นาจ ซึ่งเรียกว่าแอบโซลูด” แต่ในเวลานั้น บ้านเมือง ยังไม่พร้อมโดยเฉพาะขาดคนที่มีความรู้ แต่ในอีก ๓ ปี ต่อมา (พ.ศ. ๒๔๓๑) ก็ทรงเริ่มทดลองปฏิรูป การปกครอง โดยจัดรูปการบริหารเป็น ๑๒ กรม (ต่อมาเรียกเป็น ๑๒ กระทรวง) และให้เสนาบดีร่วม ความรับผิดชอบในรูปเสนาบดีสภา และได้ดำ �เนินต่อมาเป็นการถาวร แต่มีเรื่องหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงในทันที ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นผลจากคำ �กราบบังคมทูลใน เรื่องการสืบราชสันตติวงศ์ โดยใน พ.ศ. ๒๔๒๙ ทรงตั้งตำ �แหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยาม- มงกุฎราชกุมาร ซึ่งเป็นการกำ �หนดรัชทายาทที่ชัดเจน อย่างไรก็ดี เรื่องนี้จะกล่าวว่าเป็นผลจาก คำ �กราบบังคมทูลของคณะเจ้านายและข้าราชการโดยตรงคงไม่ได้ เพราะพระบาทสมเด็จพระ- จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงไม่เห็นด้วยกับพระราชประเพณีในเรื่องนี้อยู่แล้ว และบังเอิญที่มีความ สอดคล้องกับเหตุการณ์ พระองค์จึงทรงเปลี่ยนแปลงทันที ซึ่งเรื่องนี้จะกล่าวในรายละเอียดต่อไป “มหาชนนิกรสโมสรสมมุต” : พระราชประเพณีการสืบราชสมบัติสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕–๒๔๒๙
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=