รวมเล่ม

๘ อย่างไรก็ดี สำ �หรับเราในยุคปัจจุบัน ซึ่งผ่านยุคจักรวรรดินิยมมาแล้ว พบว่า ผลของข้ออ้างตามภาระของคนผิวขาว หรือพันธกิจทาง อารยธรรม เป็นผลสำ �เร็จน้อยมาก แต่ก็เป็นข้ออ้างที่ดีในยุคจักรวรรดินิยม .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 43 ๑.๑ ภัยต่อเอกราชของสยาม ในคำ �กราบบังคมทูล ได้กล่าวถึงอันตรายที่จะทำ �ให้ไทยต้องสูญเสียเอกราชหลายประการ นอกเหนือจากเรื่องพระราชประเพณีการสืบสันตติวงศ์ที่อาจเป็นปัญหาทำ �ให้เสียเอกราชได้ ซึ่ง ขอกล่าวถึงโดยสรุป เพื่อให้เห็นว่าสถานการณ์ล่อแหลมเพียงใด ๑. อ้างว่า “เพื่อให้มนุษย์มีความสุข ความเจริญ และได้รับความยุติธรรมเสมอภาคทั่วกัน” ๒. อ้างว่า เพื่อให้ชาติทั้งหลาย มี “ความเจริญความศิวิไลศ” อย่างชาวยุโรป ๓. อ้างว่า รัฐบาลหรือผู้ปกครองประเทศนั้น ๆ “จัดการบ้านเมืองไม่เรียบร้อย” มีโจรผู้ร้าย จึงต้องเข้าไปช่วยจัดการให้ทุกคนมีความสุขทั่วกัน ๔. อ้างว่า ไม่เปิดบ้านเมือง ไม่เปิดการค้าขาย ไม่เป็นประโยชน์ทั้งต่อคนในประเทศและยุโรป ข้ออ้างดังกล่าว ในเวลาต่อมาอังกฤษนำ �มาอ้าง ดังบทโคลงของ รัดยาร์ด คิปลิง (Rudyard Kipling, ค.ศ. ๑๘๖๕–๑๙๓๖) ชื่อ The White Man’s Burden (ภาระของคนผิวขาว)และ ฝรั่งเศสได้นำ �มาอ้างว่า เป็น The Civilizing Mission (พันธกิจทางอารยธรรม) เพื่อล่าอาณานิคม ทำ �ให้ชาติต่าง ๆ ในทวีปเอเชียและแอฟริกามีความหวาดหวั่น สภาพของหลายประเทศรวมทั้งสยาม ทั้งก่อนและหลังคำ �กราบบังคมทูลนี้ก็พบว่าชาติจักรวรรดินิยมสามารถนำ �มาอ้างได้ และเป็นเรื่องที่ หลีกเลี่ยงได้ยาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๙๔–๒๔๑๑) ทรงกล่าวไว้เมื่อ ปลาย พ.ศ. ๒๓๐๙ ว่าจะผูกมิตรกับจรเข้หรือกับปลาวาฬดี (ซึ่งหมายถึง มหาอำ �นาจ) หรือควรเก็บ ตัวอยู่แต่ในบ้านดี จะอย่างไหนก็ต้องพบกับอำ �นาจอิทธิพลที่เหนือเรา ซึ่งเป็นการคาดการณ์ที่แม่นยำ � มาก ทั้งนี้เพราะช่วงเวลานั้น ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปต่างแสวงหาอาณานิคมกันอย่างเข้มข้น จริงจัง จนนักประวัติศาสตร์ได้เรียกช่วงเวลาปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ (ค.ศ. ๑๘๗๐–๑๙๑๔) ว่า high imperialism ๘ ๑.๒ ทางแก้ไขเพื่อรักษาเอกราช ในความเห็นของคณะผู้ทำ �คำ �กราบบังคมทูล เพื่อให้บ้านเมืองอยู่รอด สามารถรักษาเอกราช ไว้ได้ “จะต้องจัดการบ้านเมือง เปลี่ยนแปลงพระราชประเพณีเก่าให้เปนประเพณีฤๅคอนสติตูชันใหม่ ตามทางชาวยุโรป ฤๅให้ใกล้ทางยุโรปที่สุดที่จะเปนไปได้” คือ ๑. เปลี่ยนพระราชประเพณีการปกครองจากระบอบ“แอฟโสลุดโมนากี”หรือสมบูรณาญาสิท- วุฒิชัย มูลศิลป์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=