รวมเล่ม
๖ ประวัติย่อนายพันเอก พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปฤษฎางค์. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงเอนกนัยวาที (ม.ร.ว. นารถ ชุมสาย) ณ เมรุวัดธาตุทอง ๒๘ ตุลาคม ๒๕๑๓. ๗ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ยอมรับในภายหลัง ซึ่งปรากฏในอัตตชีวประวัติ ว่า “ได้คิดผิดไป” ที่ไปปรึกษาชักชวนบุคคลอื่น ให้ทำ �ความเห็นร่วมกัน “เพราะเปนรื่องที่ทรงหาฤๅข้าพเจ้าแต่เฉพาะผู้เดียว” เพิ่งอ้าง . หน้า ๖๐ และดูการวิเคราะห์เรื่องนี้ใน วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร. ราชทูตแห่งสยามประสบการณ์ของอดีตนักการทูตไทยในยุคบุกเบิก พ.ศ. ๒๔๒๔ – ๒๔๒๙, หน้า ๑๔๖ – ๑๔๙. .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 42 ๑. ที่มาของคำ �กราบบังคมทูล : อันตรายจากจักรวรรดินิยมต่อเอกราชของสยาม คำ �กราบบังคมทูลของเจ้านายและข้าราชการเกิดขึ้นในระหว่างการคุกคามของจักรวรรดิ นิยมตะวันตกต่อเพื่อนบ้านของไทยอย่างรุนแรง ในด้านตะวันตก คืออังกฤษขัดแย้งกับพม่า จนเห็นได้ว่าสงครามต้องเกิดขึ้นแน่ไม่ช้าก็เร็ว [สงครามอังกฤษ–พม่า ครั้งที่ ๓ เกิดขึ้นในเดือน พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๘๘๕ (พ.ศ. ๒๔๒๘) เพราะความขัดแย้งเรื่องบริษัทบอมเบย์-เบอร์มาที่ทำ �ป่าไม้ ของอังกฤษ กับเรื่องความไม่สงบภายในจากการแย่งชิงอำ �นาจกันในพม่า ซึ่งพม่าแพ้และในวันที่ ๑ มกราคม ค.ศ. ๑๘๘๖ (พ.ศ. ๒๔๒๘) อังกฤษประกาศผนวกพม่าทั้งหมด] ส่วนด้านตะวันออก ฝรั่งเศสกำ �ลังทำ �สงครามกับเวียดนามและจีน ที่ให้ความช่วยเหลือเวียดนามซึ่งเป็นประเทศที่เคย อยู่ภายใต้อารักขาของจีนมาเป็นเวลานาน เพราะทางการเวียดนามปราบปรามพวกเข้ารีตอย่าง รุนแรง [สงครามเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๘๘๔ (พ.ศ. ๒๔๒๗) ถึงเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๘๘๕ (พ.ศ. ๒๔๒๘) เวียดนามแพ้ ทั้งตังเกี๋ยและอันนัม ต้องอยู่ภายใต้การอารักขาของฝรั่งเศส] ท่ามกลางอันตรายที่น่ากลัวนี้ ทั้งไทย พม่า เวียดนาม ต่างมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดแล้ว โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงส่งราชทูตไปประจำ �ทั้งในอังกฤษและฝรั่งเศส มี ความรับผิดชอบในหลายประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ในยุโรป การปรับปรุงและ เตรียมป้องกันประเทศ โดยฝึกหัดทหารแบบใหม่ การสร้างป้อมพระจุลจอมเกล้า ส่วนพม่าพยายาม เชื่อมความสัมพันธ์กับฝรั่งเศส เพื่อจะได้ช่วยคานอำ �นาจอังกฤษที่คุกคามพม่า และเวียดนามได้ขอ ความช่วยเหลือจากจีน (ที่อ่อนแอ แต่เริ่มขบวนการทำ �ตนเองให้เข้มแข็งแล้ว) เมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์กราบบังคมทูลเข้ามาถึงสถานการณ์ต่าง ๆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ให้กราบบังคมทูลถึง หนทางที่จะทำ �ให้ไทยคงรักษาเอกราชไว้ได้ โดย “อย่าให้เกรงกลัวที่จะพูดจาแสดงความคิดเห็น ให้ กราบบังคมทูลได้ทุกอย่าง ให้เต็มปัญญาความคิด” ๖ ซึ่งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้ ปรึกษากับพระเจ้าน้องยาเธอ ๓ พระองค์ และข้าราชการประจำ �สถานทูตไทยที่กรุงลอนดอนและกรุง ปารีส รวม ๑๑ นาย ๗ แล้วทำ �คำ �กราบบังคมทูลถวาย “มหาชนนิกรสโมสรสมมุต” : พระราชประเพณีการสืบราชสมบัติสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕–๒๔๒๙
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=