รวมเล่ม

๔ ประวัติของราชทูตทั้งสอง ดูได้ใน วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร. ราชทูตแห่งกรุงสยาม : ประสบการณ์ของอดีตนักการทูตไทย ในยุคบุกเบิก พ.ศ. ๒๔๒๔–๒๔๒๙. ๕ คำ �กราบบังคมทูลมี ๒ ชุด ชุดแรกขอให้เปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน มีผู้ลงนาม ๑๑ นาย ชุดที่สองขอให้เสด็จประพาสยุโรป ก่อนการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน มีผู้ลงนาม ๔ นาย เป็นเจ้านายที่ร่วมลงนามในชุดแรก ทั้งสองชุดลงวันที่ ๘ มกราคม จ.ศ. ๑๒๔๖ เหมือนกัน ชุดแรกดูรายละเอียดได้ใน ชัยอนันต์ สมุทวณิช. แผนพัฒนาการเมืองฉบับแรกของไทย : คำ �กราบบังคมทูลของเจ้านาย และข้าราชการให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง, ๒๕๑๓ ชุดที่ ๒ ดูรายละเอียดได้ใน วุฒิชัย มูลศิลป์. “เจ้านายทูลเกล้าฯ ถวายความเห็น เพื่ออัญเชิญเสด็จประพาสยุโรป” วารสารสมาคมประวัติศาสตร์ ฉบับที่ ๓๑ พ.ศ. ๒๕๕๒, หน้า ๑๔๘ – ๒๑๔. .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 41 ข้อความข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของคำ �กราบบังคมทูลของเจ้านายและข้าราชการ ๑๑ นาย ที่รับราชการในต่างประเทศ อาทิ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ (ต่อมาคือ พระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์, พ.ศ. ๒๓๙๘–๒๔๖๘) ราชทูตสยามประจำ �กรุงลอนดอนและ สหรัฐอเมริกา พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ (พ.ศ. ๒๓๙๔–๒๔๗๗) ราชทูตสยามประจำ � กรุงปารีส และอีกหลายประเทศในยุโรป ๔ ได้ร่วมกันทำ �คำ �กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๘ มกราคม จ.ศ. ๑๒๔๖ (พ.ศ. ๒๔๒๗ – นับตามแบบเก่า แต่เป็น ค.ศ. ๑๘๘๕) ถึงอันตรายจากชาติจักรวรรดินิยมตะวันตกที่คุกคามสยาม จนอาจทำ �ให้เสียเอกราชได้ และทางแก้ไขเพื่อรักษาเอกราช ๕ คำ �กราบบังคมทูลของเจ้านายและข้าราชการ ๑๑ นาย กล่าวถึงอันตรายหลายประการที่จะ ทำ �ให้สยามสูญเสียเอกราชได้ โดยพระราชประเพณีการสืบสันตติวงศ์ที่เป็นอยู่ในเวลานั้นเป็นสาเหตุ สำ �คัญประการหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากว่า พระราชประเพณีดังกล่าวมีความหมาย ความสำ �คัญ เพียงใด เริ่มมีขึ้นเมื่อใด ทำ �ไมจึงกลายเป็นพระราชประเพณีได้ และทำ �ไมจึงกลายเป็นปัญหาที่มีผล ต่อการสูญเสียเอกราชได้ จริง ๆ แล้วเรื่องนี้มีความสำ �คัญมากในช่วงเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย สมัยรัตนโกสินทร์ แม้งานที่ผ่าน ๆ มาได้กล่าวถึงบ้าง แต่ไม่ได้ให้ความสำ �คัญเท่าที่ควร และบางที ทำ �ให้การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงด้วย บทความนี้ศึกษาวิเคราะห์ พระราชประเพณีการสืบสันตติวงศ์ ที่ขอเรียกตามสร้อยพระนาม ว่า “มหาชนนิกรสโมสรสมมุต” หรือการที่เจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ มีพระสงฆ์เป็นสักขีพยานมา ประชุมปรึกษาเพื่อแต่งตั้งพระเจ้าแผ่นดินตั้งแต่เริ่มแรกจนสิ้นสุด ตลอดจนความสำ �คัญและปัญหา ของพระราชประเพณีนี้ วุฒิชัย มูลศิลป์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=